Sort by
Sort by

อวสานขยะด้วย 7R กู้โลกง่าย ๆ เริ่มได้ที่บ้าน

อวสานขยะด้วย 7R กู้โลกง่าย ๆ เริ่มได้ที่บ้าน

หลายคนอาจคุ้นเคยกับวิธีการจัดการขยะด้วยหลัก 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle กันมาบ้างแล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมคนสมัยใหม่ที่ต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น จึงหันมาพึ่งพาบริการส่งอาหารและการสั่งสินค้าออนไลน์ ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) ที่ย่อยสลายยาก ดังนั้นหลัก 3R อาจยังไม่ครอบคลุมการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงอยากชวนให้ทุกคนหันมาใช้หลัก 7R ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกนำมาผลิตวัสดุต่าง ๆ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนจะกลายเป็นขยะ และลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโลก
ใครอยากรู้ว่า 7R คืออะไร มีวิธีการใดอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง? แล้วเราทุกคนจะเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยกันสร้างสังคมที่ปราศจากขยะด้วยตัวเองอย่างไร มาดูกันเลย

อวสานขยะด้วย 7R กู้โลกง่าย ๆ เริ่มได้ที่บ้าน

Reduce

1.    Reduce คือ การลดการใช้ เลือกบริโภคและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีนี้จึงช่วยทั้งลดปริมาณขยะ ซึ่งวิธีการ Reduce เป็นวิธีในหลัก 7R ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดและช่วยชะลอทรัพยากรธรรมชาติที่จะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ต้นทาง

  • ปฏิเสธพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ก่อนออกไปจับจ่ายซื้อสินค้า ควรเตรียมถุงผ้า ขวดน้ำ ตะกร้า หรือปิ่นโต ติดตัวไปด้วยให้เป็นนิสัยเพื่อลดการรับบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ เช่นเดียวกับ เนสท์เล่เพียวไลฟ์  ที่นำแนวคิด Reduce มาใช้ในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดน้ำพลาสติก โดยลดปริมาณการใช้เนื้อพลาสติกแบบ PET ลง ช่วยรักษาทรัพยากรและพลังงานที่จะถูกนำมาใช้ในการผลิตพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง
  • วางแผนก่อนซื้ออาหาร ลองหันมาจัดรายการอาหารล่วงหน้าแต่ละวันหรือรายสัปดาห์ คะเนปริมาณพอดีเหมาะสมกับความต้องการเพื่อไม่ให้มีอาหารเหลือทิ้ง (zero food waste) โดนคำนวณจากจำนวนมื้อที่ต้องทำ ปริมาณอาหารสำรอง และความถี่ในการซื้อว่าบ่อยแค่ไหน? เพื่อให้รู้ว่าต้องซื้อวัตถุดิบชนิดใดบ้าง? ปริมาณเท่าไหร่? และควรเลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาลที่ช่วยให้ได้กินหลากหลายและยังปลอดภัยจากสารเคมี


2. Reuse คือ การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน

  • D.I.Y ขยะภายในบ้าน ก่อนที่จะทิ้งสิ่งของหรือวัสดุสักอย่างตามความเคยชิน ลองทบทวนสักนิดก่อนว่าของสิ่งนั้นถูกใช้งานอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง? และเราสามารถใช้ประโยชน์อะไรต่อได้หรือไม่? เช่น นำกระดาษหน้าเดียวมาเย็บเป็นสมุด ใช้กระดาษเหลือใช้เป็นกันกระแทกแทนพลาสติก นำเสื้อเก่ามาใช้เป็นผ้าขี้ริ้ว เปลี่ยนขวดน้ำเป็นกระถางต้นไม้ ฯลฯ ซึ่งวิธีเหล่านี้นอกจากช่วยให้เราใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าแล้ว ยังช่วยให้เราได้โชว์ไอเดียสร้างสรรค์โดยสามารถชวนสมาชิกในบ้านมาใช้เวลาร่วมกันได้
  • ปลูกผักสวนครัว คุณแม่บ้านสามารถนำผักเหลือใช้จากการทำอาหารมาปลูกซ้ำได้ เช่น หัวผักกาดขาว ต้นหอม ผักชี กะเพรา หัวขิงหรือข่า ฯลฯ โดยจะปลูกในกระถางหรือปักลงดินตามสะดวก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดขยะอินทรีย์ภายในบ้าน ช่วยให้มีผักใช้ในครัวเรือน มั่นใจว่าปลอดภัยจากสารเคมี ส่วนเศษผักที่เหลือทิ้งสามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพได้

3. Recycle คือ การนำวัสดุที่หมดสภาพแล้วมาแปรสภาพหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คืนชีพให้ขยะสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

  • แยกขยะก่อนส่งทิ้ง แม้ว่าการคัดแยกขยะก่อนทิ้งอาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องแยกหลากหลายประเภท และใช้เวลาในการทำความสะอาด แต่ก็เป็นหนึ่งวิธีการในหลัก 7R ที่คุ้มค่าต่อการลงมือทำ เพราะขยะประเภทพลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ ฯลฯ มีมูลค่าในตัวเอง สามารถเก็บรวบรวมไว้ให้มีปริมาณมากแล้วนำไปขายต่อให้ลุงซาเล้ง ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าขยะของเราจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนรีไซเคิลอย่างถูกต้องได้อย่างแน่นอน ช่วยลดปริมาณขยะที่จะไปสู่หลุมฝังกลบน้อยลง
recycle

เริ่มจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ไอศกรีมที่บรรจุในซองกระดาษ  ผลิตภัณฑ์ยูเอชทีที่มาพร้อมกับหลอดกระดาษ   กาแฟกระป๋องที่ผลิตจากอะลูมิเนียม 100%  น้ำดื่มบรรจุขวด PET ใสไม่มีสี  เป็นต้น และแยกประเภททิ้งลงถังรีไซเคิล เพื่อให้วัสดุเหลือใช้เหล่านั้นกลับมามีประโยชน์อีกครั้ง โดยสามารถดูประเภทและวิธีจัดการขยะพลาสติกเพิ่มเติม คลิก   

  • เลือกใช้พลาสติกชนิดที่มีโอกาสรีไซเคิลสูง แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถปฏิเสธพลาสติกทั้งหมดได้ แต่หากจำเป็นต้องเลือกใช้พลาสติก ให้ลองสังเกตสัญลักษณ์ประเภทพลาสติกที่นิยมนำกลับไปรีไซเคิล เช่น HDPE หรือ PET เป็นต้น อย่างขวดน้ำ PET ของเนสท์เล่เพียวไลฟ์ และมิเนเร่ ก็มีการดึงสีออกจากขวดเพื่อเพิ่มโอกาสส่งไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ช่วยลดปริมาณการเกิดไมโครพลาสติกจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกต้องแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ปนเปื้อนไปยังในแหล่งน้ำและท้องทะเล 

4. Replace คือ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่การใช้พลาสติกหรือโฟมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แม้วิธีนี้ยังก่อให้เกิดขยะอยู่บ้าง แต่ดีกว่าการใช้พลาสติกหรือวัสดุที่ย่อยสลายยาก โดยหันมาเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ที่มั่นใจว่าย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรตั้งแต่ต้นทาง เช่น บรรจุภัณฑ์จากใบตอง ภาชนะใส่อาหารจากชานอ้อย หลอดดูดน้ำจากกระดาษ ฯลฯ

5. Refill คือ การเลือกใช้สินค้าแบบเติม ไม่เพิ่มขยะเกินความจำเป็น โดยทุกคนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อของอุปโภค – บริโภคที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น เครื่องดื่ม อาหารแห้ง เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม ผงซักฟอก ฯลฯ มาเป็นซื้อแบบเติมขวดเก่าแทนการซื้อใหม่ รวมถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ขึ้น แทนการซื้อสินค้าที่มีปริมาณน้อยซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์หลายชิ้น ซึ่งนอกจากจะลดพลังงานในกระบวนบรรจุผลิตภัณฑ์และลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะนำเข้าบ้านแล้ว ยังช่วยลดรายจ่ายของเราได้อีกด้วย
 

repair
6. Repair คือ การซ่อมแซมให้ใช้งานได้ใหม่และใช้อย่างคุ้มค่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อของใหม่ เพราะหลายครั้งเมื่อของในบ้านเสียหรือใช้งานไม่ได้ ด้วยความเคยชินเราก็มักจะนำไปทิ้งและหาซื้อของใหม่มาทดแทนทันที แต่มาลองเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการลงมือซ่อมแซมสิ่งของเท่าที่ทำได้ก่อนทิ้งเป็นขยะ เช่น การเย็บเสื้อผ้าที่ขาดเล็กน้อย ทาสีเฟอร์นิเจอร์เก่า ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ชำรุด ฯลฯ รวมถึงควรใช้สิ่งของอย่างทะนุถนอมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยิ่งนานขึ้น

7. Return คือ การเลือกอุดหนุนสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน โดยเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สามารถส่งบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น การใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติกสามารถคืนขวดได้ หรือการนำขวดน้ำพลาสติกส่งคืนที่ตู้บริการตามจุดต่าง ๆ เป็นต้น และอีกวิธีที่ง่ายต่อผู้บริโภคก็คือการเลือกสินค้าที่ได้รับการรับรองว่ามีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว ฉลากลดโลกร้อน ฉลากลดคาร์บอน ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์

อวสานขยะด้วย 7R กู้โลกง่าย ๆ เริ่มได้ที่บ้าน


เชื่อว่าถ้าทุกคนค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 7R เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ โดยอาจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของแต่ละคน ก็ถือว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะพลาสติกและขยะในครัวเรือนที่จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ตัวเองและครอบครัว สร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากขยะ พร้อมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้เพื่อส่งต่อทรัพยากรที่ยั่งยืนให้รุ่นถัดไป

เนสท์เล่ มุ่งมั่นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้รีไซเคิลได้หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกของบริษัทเนสท์เล่ทั่วโลก มาเปลี่ยนด้วยกันกับเนสท์เล่ เพื่อโลกที่ยั่งยืนและอนาคตที่ดีของคนรุ่นถัดไป

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :

You may also like