ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์การทำงานมาหลายปีหรือเพิ่งสำเร็จการศึกษา Nestlé ก็มีโอกาสในการทำงานให้กับคุณ ค้นหางานได้ที่นี่
เคล็ดลับวิธีจัดการ แยกขยะพลาสติกก่อนนำไปรีไซเคิลให้ถูกวิธี
.
พลาสติกเข้ามามีต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ยิ่งผู้คนที่หันมาเลือกใช้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และบริการสั่งอาหาร ทำให้แนวโน้มการใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดขยะพลาสติกโดยเฉพาะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหารและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ซึ่งทั้งกระบวนการผลิตและการกำจัดขยะพลาสติกยังปล่อยมลพิษสู่พื้นดิน อากาศ และแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของของผู้คนและสิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ระยะเวลาในหลุมฝังกลบนานถึง 450 ปี จึงจะย่อยสลายหมด รวมถึงมีขยะพลาสติกถูกส่งเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 19% เท่านั้น
เนสท์เล่เห็นความสำคัญและพยายามเป็นส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะอย่างเร่งด่วนมาโดยตลอด จึงได้ร่วมมือกับเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เพื่อนำเสนอวิธีการคัดแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน ที่ทุกคนสามารถนำไปทำตามได้ง่าย ๆ เพราะการส่งขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจคัดแยกขยะของทุกคน เพื่อสร้างวงจรการใช้และจัดการขยะพลาสติกเกิดขึ้นได้จริงและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมไทยไร้ขยะ
จัดการขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยตัวเองก่อนนำผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิล
อย่างที่รู้กันดีว่าพลาสติกที่เราใช้ทุกวันนี้มีหลากหลายชนิด ทั้งความหนา สีสัน คุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการคัดแยกขยะหลังการใช้ด้วยวิธีที่เหมาะสม จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยจัดการขยะกลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกได้ตั้งแต่ต้นทาง และเพิ่มโอกาสในการนำพลาสติกไปสู่กระบวนการรีไซเคิล มาเริ่มต้นคัดแยกขยะพลาสติกด้วยการทำความรู้จักประเภทของพลาสติกรีไซเคิล พร้อมคุณสมบัติพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาผลิตกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยสังเกตสัญลักษณ์รีไซเคิลลูกศรหมุนวนเป็นสามเหลี่ยม ที่ปรากฏพร้อมตัวเลขต่าง ๆ 7 ชนิด ได้แก่
สัญลักษณ์ | ประเภท | คุณสมบัติ | มักถูกผลิตเป็น |
---|---|---|---|
หมายเลข 1 | โพลีเอทิลีน เทอเรปทาเลต (Polyethylene Terephthalate) | พลาสติกโพลีเมอร์ใส เนื้อเหนียวทนทานต่อแรงกระแทก ป้องกันการซึมผ่าน มีน้ำหนักเบา | ขวดเครื่องดื่ม (ที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์) เช่น ขวดน้ำดื่มเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ ขวดน้ำดื่มมิเนเร่ หรือขวดน้ำมันพืช ถุงขนม |
หมายเลข 2 (HDPE) | โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene) | พลาสติกชนิดนี้มีความหนาแน่นสูง โปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีน แข็งแรงแตกยาก ทนต่อการละลายจากความร้อน | เหยือกน้ำ ขวดเครื่องสำอาง ขวดแชมพู ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ของเล่น ขวดนม โต๊ะ/เก้าอี้พลาสติก |
หมายเลข 3 | โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride) | เป็นพลาสติกใสที่มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการขัดถูและสารเคมี | ท่อน้ำประปา เปลือกสายไฟ ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สายยาง เสื่อน้ำมัน |
หมายเลข 4 (LDPE) | โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density Polyethylene) | เป็นพลาสติกโปร่งแสง ใส นิ่ม เหนียว ยืดหยุ่น ทนความเย็นได้ถึง -70°C แต่ไม่ทนความร้อน | ถุงบรรจุอาหารแช่แข็ง ถุงหูหิ้วใส่ของ ถุงขนมปัง ถุงเย็นสำหรับใส่อาหาร แผ่นฟิล์มพลาสติกใสห่ออาหาร หลอดดูดน้ำ ถุงซิปล็อก |
หมายเลข 5 (PP) | โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) | เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ทนความร้อนสูง ส่วนใหญ่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ | กล่องใส่อาหารร้อน ถ้วยอาหารกึ่งสำเร็จรูป ถุงร้อน ฝาขวดน้ำ ฉลากขวดน้ำ ถ้วยนมเปรี้ยว ตะกร้า ถุงกระสอบ |
หมายเลข 6 (PS) | โพลีสไตรีน (Polystyrene) | เป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส มันวาว น้ำหนักเบา เปราะและแตกหักง่าย นำไปขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย | ภาชนะพลาสติก หรือ บรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหาร เช่น ถ้วย จาน ช้อนส้อม ฝาแก้วกาแฟ ฯลฯ กล่องซีดี |
หมายเลข 7 (Other) | พลาสติกอื่น ๆ | พลาสติกที่ไม่ใช่ 6 ประเภทแรก แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ | ปากกา ขวดนมเด็ก ขวดน้ำแกลลอน 5 ลิตร หมวกนิรภัย แว่นกันแดด |
เมื่อเห็นสัญลักษณ์รีไซเคิลทั้ง 7 ชนิดนี้บนบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติก แสดงว่าสามารถเก็บรวบรวมนำส่งกระบวนการรีไซเคิลได้ อย่างที่เนสท์เล่เราก็นำขวดน้ำดื่ม PET มารีไซเคิลเป็นเสื้อจากเส้นใยโพสีเอสเทอร์ให้พนักงานของเราสวมใส่ เป็นต้น
เมื่อรู้จักประเภทพลาสติกไปแล้วเรามาเริ่มคัดแยกง่าย ๆ ใน 4 ขั้นตอน คือ ดูด้วยตา จับด้วยมือ เตรียมพร้อมขยะ รู้จักสถานที่รับทิ้ง ก่อนส่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ที่สุด
1. กล่องพลาสติก ในกรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์ PET PP หรือ PS บนกล่องพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส่อาหารที่จะทิ้ง ให้ใช้มือดึงทดสอบความยืดหยุ่นและสังเกตสีของกล่อง
ชนิดพลาสติก | วิธีคัดแยก | สถานที่ส่งต่อ |
---|---|---|
กล่องพลาสติก PS | สามารถฉีกขาดได้ด้วยการดึง | YOLO Zero Waste Your Life เป็นศูนย์จัดการขยะเศษอาหารและพลาสติกโดยเฉพาะ |
กล่องพลาสติก PET | พลาสติกสามารถยืดออกได้ ไม่มีสี เป็นสีใส | |
กล่องพลาสติก PP | พลาสติกสามารถยืดออกได้ มีสีขุ่น หรือมีสีอ่อน ๆ | ขายให้ลุงซาเล้ง |
• วิธีจัดการก่อนส่งรีไซเคิล ให้ดึงเทปกาวออกให้หมด ล้างหรือเช็ดด้วยทิชชู่ให้สะอาด
2. ช้อนส้อมพลาสติก ให้ใช้มือหักครึ่งเพื่อทดสอบความยืดหยุ่นของช้อนส้อม
ชนิดพลาสติก | วิธีคัดแยก | สถานที่ส่งต่อ |
---|---|---|
ช้อนส้อมพลาสติก PS | เมื่อใช้มือหักครึ่งแล้ว พลาสติกเปราะแตกออกจากกันแสดงว่าเป็นพลาสติกชนิด | YOLO Zero Waste Your Life เป็นศูนย์จัดการขยะเศษอาหารและพลาสติกโดยเฉพาะ |
ช้อนส้อมพลาสติก PP | เมื่อใช้มือหักครึ่งแล้ว พลาสติกแค่งอ ไม่หักออกจากกัน | ขายให้ลุงซาเล้ง |
• วิธีจัดการก่อนส่งรีไซเคิล ให้ล้างหรือเช็ดด้วยทิชชู่ให้สะอาด แล้วเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน
3. ถุงพลาสติก ลองใช้มือดึงยืดถุงเพื่อทดสอบความยืดหยุ่นของเนื้อพลาสติก หากถุงมีความเหนียวสามารถดึงยืดได้ ให้ลองขยำให้ถุงเสียดสีกันแล้วฟังเสียง
ชนิดพลาสติก | วิธีคัดแยก | สถานที่ส่งต่อ |
---|---|---|
ถุงพลาสติก HDPE | ถุงมีความเหนียวสามารถดึงยืดได้ และเมื่อใช้มือขยำให้ถุงเสียดสีกันแล้ว มีเสียงดังก๊อบแก๊บ | สามารถส่งไปที่โครงการมือวิเศษ x วน ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) |
ถุงพลาสติก LDPE | ถุงมีความเหนียวสามารถดึงยืดได้ และเมื่อใช้มือขยำให้ถุงเสียดสีกันแล้ว รู้สึกนิ่มมือ มีเสียงเพียงเล็กน้อย | |
ถุงพลาสติก PP | ไม่สามารถดึงยืดหรือยืดออกเพียงเล็กน้อย ลองฉีกออกเห็นเป็นพลาสติกเพียงชั้นเดียว | โครงการ Green Road ที่นำขยะพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นบล็อกปูถนน |
ถุงพลาสติก Multilayers | ไม่สามารถดึงยืดหรือยืดออกเพียงเล็กน้อย ลองฉีกแล้วเห็นเนื้อพลาสติกหลายชั้น เช่น ถุงใส่ขนม ถุงอาหารแห้งที่มีชั้นฟิล์มเคลือบ (พลาสติกชนิดนี้สามารถรีไซเคิลได้แต่ต้องผ่านกระบวนการแยกชั้นก่อน) |
• วิธีจัดการก่อนส่งรีไซเคิล ให้ดึงเทปกาวออกให้หมด หากมีคราบหรือเศษอาหารปนเปื้อนให้เช็ดหรือล้างทำความสะอาด และกลับถุงด้านในออกมาเพื่อความแน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกติดค้าง ตากให้แห้งแล้วรวบรวมไว้ตามชนิด
4. ขวดพลาสติก ในกรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์ PET หรือ PP บนขวดน้ำหรือเครื่องดื่ม ให้สังเกตสีที่ก้นขวด
ชนิดพลาสติก | วิธีคัดแยก | สถานที่ส่งต่อ |
---|---|---|
ขวดพลาสติก HDPE | หากขวดมีสีขุ่นเข้ม | ขายให้ลุงซาเล้ง |
ขวดพลาสติก PP | ก้นขวดมีสีขุ่นใสอ่อน ๆ พอมองเห็นได้ | |
ขวดพลาสติก PET | ก้นขวดไม่มีสี ใสวาว สามารถมองทะลุได้ |
• วิธีจัดการก่อนส่งรีไซเคิล ให้เทน้ำหรือเครื่องดื่มออกจากขวดให้หมด ถ้ามีน้ำเน่าเสียหรือไม่สะอาดให้ใช้น้ำเปล่ากลั้วออกให้หมด จากนั้นบีบแบนให้มีขนาดเล็กลงเพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และควรรวบรวมไว้ตามประเภทของพลาสติกรีไซเคิลเพื่อให้ง่ายต่อการขายหรือส่งต่อ
ขวดน้ำดื่มของเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ ก็ผลิตมาจากพลาสติก PET ที่ถูกออกแบบใหม่ให้ใช้เนื้อพลาสติกน้อยลง มีน้ำหนักเบาแต่ยังแข็งแรง จับแล้วไม่ยวบมือเหมือนเดิม ตั้งแต่เราเปลี่ยนมาใช้ขวดน้ำรักษ์โลก สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกได้ถึง 370 ตัน จึงช่วยชะลอการเอาทรัพยากรและพลังงานที่จะถูกนำมาใช้ในการผลิตพลาสติก ต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น
ในขั้นทำความสะอาดขยะพลาสติกสามารถชวนคนในครอบครัวมาร่วมด้วยช่วยกัน จะช่วยจุดประกายให้ทุกคนค่อย ๆ หันมาเห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการคัดแยกขยะตามประเภทของพลาสติกรีไซเคิล โดยหลักการคือต้องทำให้ขยะแห้งและสะอาดก่อน ไม่ให้มีสิ่งสกปรกปนเปื้อน ป้องกันมดและแมลงที่เข้ามาในถังขยะจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทันที แต่ถ้าหากไม่สะดวกส่งขยะให้ลุงซาเล้งหรือส่งไปยังสถานที่ทิ้งต่าง ๆ แนะนำเก็บรวบรวมแล้วทิ้งถังขยะรีไซเคิลสีเหลืองที่มีสัญลักษณ์ลูกศรวนรูปสามเหลี่ยม เพื่อเพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถนำไปขายหรือส่งรีไซเคิลต่อง่ายขึ้น
เมื่อรู้จักวิธีการคัดแยกขยะก่อนนำผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิลอย่างถูกต้องกันแล้ว อย่าลืมนำไปลงมือทำได้ที่บ้านของ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด และช่วยลดปริมาณขยะที่จะต้องนำไปฝังกลบ รวมถึงขอขอบคุณเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป ที่ร่วมแชร์ความรู้เรื่องการแยกขยะทุกประเภทด้วยวิธีง่าย ๆ เพื่อให้ทุกคนร่วมรักษาและสร้างโลกที่น่าอยู่ พร้อมส่งต่อทรัพยากรที่ยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไป
You may also like
.
-
ยั่งยืนด้วยบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอ่านเพิ่มเติม
เนสท์เล่เดินหน้าสร้างอนาคตปลอดขยะ เพื่อโลกที่ยั่งยืนและอนาคตที่ดีของคนรุ่นถัดไป ผ่านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมดภายในปี 2568 -
5 วิธีลดขยะอาหารในบ้าน ช่วยลดโลกร้อนอ่านเพิ่มเติม
ช่วยกันลดโรคร้อน ลดปริมาณขยะอาหารในครัวเรือนด้วย 5 วิธีที่ทำง่าย ๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี -
ขยะรีไซเคิลคืออะไร สิ่งนี้ดีต่อโลกยังไงอ่านเพิ่มเติม
การรีไซเคิลช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน เพื่อโลกที่ยั่งยืน แต่รู้หรือไม่! ว่าการรีไซเคิลวัสดุ 6 ชนิดช่วยลดคาร์บอนได้แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้ -
อวสานขยะด้วย 7R กู้โลกง่าย ๆ เริ่มได้ที่บ้านอ่านเพิ่มเติม
วิธีจัดการขยะในครัวเรือนด้วยหลัก 7R ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและอนาคตที่ดีของคนรุ่นถัดไป