Sort by
Sort by

ขยะรีไซเคิลคืออะไร สิ่งนี้ดีต่อโลกยังไง

6 ขยะรีไซเคิล เมื่อแยกแล้วดีต่อโลกยังไง
เคยสงสัยกันไหมว่าการรีไซเคิลช่วยโลกได้ยังไง? แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าภาวะโลกร้อนหรือปัญหา Climate Change ก่อนว่ามีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจกที่สะสมในชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จนเป็นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งฤดูกาล สภาพแวดล้อม และกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แล้วการรีไซเคิลมันเกี่ยวยังไงกับก๊าซเรือนกระจก? วันนี้เราชวนลุงซาเล้งมาอธิบายให้ฟัง

ปกติแล้วข้าวของเครื่องใช้ที่เราใช้กันอยู่ ไม่ได้เสกขึ้นมาลอย ๆ จากอากาศ แต่มาจากการเก็บเกี่ยวเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ พลาสติกมาจากปิโตรเลียมใต้ดิน กระดาษมาจากการตัดต้นไม้ แก้วมาจากเม็ดทราย โลหะมาจากการถลุงแร่ การได้มาของสิ่งของเหล่านี้ไม่เคยฟรี มนุษย์จะต้องเสียทั้งพลังงานในการได้มา แปรรูป ขนส่งอีกหลายทอด กว่าจะมาถึงมือเรา เมื่อใช้พลังงานก็เท่ากับการผลิตก๊าซเรือนกระจกที่จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งเรามักจะเทียบกับการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2e) นั่นเอง โชคดีที่การรีไซเคิลวัสดุต่าง ๆ ทุกชนิด ให้กลายเป็นวัตถุดิบใหม่ ก่อคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าการนำทรัพยากรธรรมชาติใหม่มาใช้ เพราะการขนส่งที่สั้นกว่า ขั้นตอนการแปรรูปที่น้อยกว่า รวมถึงไม่ก่อให้เกิดขยะ ซึ่งบางส่วนจะก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคตด้วย

ดังนั้น การรีไซเคิลนั้นเทียบเท่ากับเราได้ลดก๊าซเรือนกระจกไปในตัว ซึ่งเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ปี ที่จะดูดซับคาร์บอนได้ออกไซด์ได้ 9 – 15 กิโลกรัม การแยกขยะรีไซเคิลทุกวัน จึงถือว่าช่วยทดแทนการปลูกต้นไม้

เนสท์เล่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
 

6 ประเภทขยะรีไซเคิล เมื่อแยกแล้วดีต่อโลกแค่ไหน

ขวด PET
1. ขวด PET: การรีไซเคิลขวดน้ำดื่มเนสท์เล่เพียวไลฟ์และมิเนเร่ สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1.04 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 ขวด ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 0.7 ต้น

ขวดน้ำ PET รักษ์โลก ได้รับการออกแบบทรงใหม่ให้ใช้พลาสติกน้อยลง และได้ดึงเม็ดสีที่เจืออยู่ในเนื้อขวดน้ำพลาสติกออกจึงช่วยรีไซเคิลง่ายขึ้น ในปี 2563 ได้ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกได้ถึง 370 ตัน เมื่อเทียบกับการใช้พลาสติกผลิตขวดน้ำแบบเดิมในปี 2562 โดยทุกคนสามารถดูวิธีจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกวิธี คลิก ทำความรู้จักประเภทและคุณสมบัติของพลาสติกชนิดต่าง ๆ พร้อมขั้นตอนการแยกขยะและเตรียมตัวให้ขยะพร้อมส่งเข้าสู่โรงงานรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะครัวเรือนที่จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ
2. กระป๋องอะลูมิเนียม: การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมจากเนสกาแฟกระป๋องพร้อมดื่ม สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 9.13 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 กระป๋อง ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 3.3 ต้น

กระป๋องอะลูมิเนียมที่บรรจุเครื่องดื่มกาแฟกระป๋องสำเร็จรูป ได้เปลี่ยนวัสดุจากเหล็กแบบเดิมมาเป็นอะลูมิเนียมทั้งหมด จึงสามารถส่งไปรีไซเคิลได้ 100% โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 95% เมื่อเทียบกับการใช้อะลูมิเนียมใหม่มาทำบรรจุภัณฑ์
กระป๋องอะลูมิเนียม
ซองกระดาษไอศกรีม
3. ซองกระดาษไอศกรีม: การรีไซเคิลซองไอศกรีมที่เป็นกระดาษ สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 3.55 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 ซอง ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 0.4 ต้น

ซองไอศกรีมกระดาษสามารถทิ้งซองลงถังขยะรีไซเคิลได้ทันที เพราะผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ 100% ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกไปได้กว่า 28 ตัน ภายในปี 2564 และจะสามารถช่วยลดการใช้พลาสติกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
4. กล่อง UHT: การรีไซเคิลกล่องไมโล สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4.08 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 กล่อง ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 2.2 ต้น

หลอดกระดาษแบบโค้งงอได้ในผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม UHT ที่ของเนสท์เล่ใช้เป็นเจ้าแรกของไทย ช่วยลดการใช้หลอดพลาสติกได้มากกว่า 500 ล้านหลอด ภายในปี 2564 ถือเป็นการชะลอการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ผลิตพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงการการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคผ่านโครงการ “กล่องนมรักษ์โลก” ที่แปรรูปมาจากกล่องนมใช้แล้วเป็นโต๊ะอาหารเป็นโต๊ะเรียนสำหรับเด็ก
กล่อง UHT
ขวดแก้ว
5. ขวดแก้ว: การรีไซเคิลขวดแก้ว สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 0.28 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 ขวด ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 1.7 ต้น
6. กล่องลังกระดาษ: การรีไซเคิลกล่องลังกระดาษ สามารถลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 3.14 กิโลกรัม CO2e ต่อหนึ่งกิโลกรัม หากได้นำไปรีไซเคิลเพียงวันละ 1 ลัง ใน 1 ปี จะเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 11.4 ต้น
กล่องลังกระดาษ
อย่างขั้นตอนบรรจุผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องดื่ม UHT ของเนสท์เล่เองก็ได้ออกแบบกล่องกระดาษให้เป็นแบบ Wrap Around แทนกล่องพับฝาชนทั่วไป จึงช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษลูกฟูกในการบรรจุสินค้า ตามแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

ลองดูตัวเลขเหล่านี้อาจจะดูเหมือนน้อย แต่นี่คือตัวเลขของคน ๆ เดียว หากเราทุกคนหลาย ๆ คนร่วมมือกัน เราจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่านี้ จากต้นไม้ต้นเดียวก็จะเป็นป่าที่สวยงาม เพียงเราร่วมกันรีไซเคิล ลดการใช้วัสดุผลิตใหม่ เนสท์เล่มุ่งมั่นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ให้สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ภายในปี 2568 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและดูแลโลกของเราเพื่อคนรุ่นต่อไป ซึ่งยังคงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันจากผู้บริโภคและทุกภาคส่วน เราสามารถช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อโลกไปพร้อมกับเนสท์เล่ โดยเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันอย่างการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่สามารถรีไซเคิลได้ และช่วยกันแยกขยะรีไซเคิลเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธี

เพราะเนสท์เล่เชื่อในพลังเล็ก ๆ ที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เพื่อปกป้องโลกของเราและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่คนรุ่นหลัง

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :

You may also like