Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.
Sort by
Sort by

เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ปัญหาลูกกินข้าวยาก

เคล็ด(ไม่)ลับ แก้ปัญหาลูกกินข้าวยาก

“ลูกกินยาก” คงเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนต้องพบเจออย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงที่เด็ก ๆ อายุ 3 – 7 ปี ไม่ว่าจะเป็นลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกอมข้าว หรือการคายอาหาร ทำให้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่กังวลกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเรื่องโภชนาการถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญต่อเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เราจึงขอพาคุณพ่อคุณแม่มาดูแนวทางการแก้ปัญหาลูกกินยาก ให้กลายเป็นเรื่องง่ายกันดีกว่า

ความสำคัญของโภชนาการสำหรับลูกน้อย

เด็กในช่วงอายุ 3 – 9 ปี จะมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย ด้านการเรียนรู้ และทางด้านจิตใจ ซึ่งถือว่าพื้นฐานสำคัญในอนาคต จึงทำให้โภชนาการเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าเด็กในช่วงวัยนี้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจส่งผลทำให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่มีความพร้อมในการเรียนรู้ และประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถรู้ได้ว่าลูก ๆ เติบโตสมวัยได้จากน้ำหนักและส่วนสูงที่เหมาะสม ดังนี้

อายุ (ปี) น้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เซนติเมตร)
3 - 6  15 - 20 100 - 110
7 - 9 22 - 26 115 - 125

 

1วันของเด็กน้อย

โภชนาการที่ใช่สำหรับเด็กเล็กและวัยเรียน

เมื่อรู้แล้วว่าโภชนาการสำคัญต่อเด็กวัยเรียนมากขนาดไหนกันแล้ว ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูแนวทางจัดเตรียมอาหารและโภชนาการที่ดีเพื่อให้เด็กสามารถเติบโตสมวัย ด้วยการเลือกกินอาหารให้เหมาะสมครบ 5 กลุ่มอาหาร ได้แก่ กลุ่มข้าว – แป้ง กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์ และกลุ่มนม โดยปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มที่เด็กควรได้รับต่อ 1 วัน เป็นดังนี้

 
กลุ่มอาหาร ปริมาณอาหาร
อายุ 4 - 5 ปี อายุ 6 - 13 ปี
ข้าว - แป้ง (ทัพพี)   5 5
ผัก (ทัพพี) 3 4
ผลไม้ (ส่วน) 3 3
เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว) 4 6
นมและผลิตภัณฑ์ (แก้ว) 2 - 3 3
น้ำตาล (ช้อนชา) ≤ 3 ≤ 4

ตัวอย่างอาหารในแต่ละกลุ่ม

1. กลุ่มข้าว – แป้ง (1 ทัพพี) เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี ข้าวกล้อง 1 ทัพพี ขนมจีน 1 ทัพพี (1 จับ), วุ้นเส้น 2 ทัพพี หรือขนมปังขาว 1 แผ่น เป็นต้น
2. กลุ่มผัก (1 ทัพพี) เช่น ผักสุกทุกชนิด 1 ทัพพี, ผักดิบที่เป็นใบผัก 2 ทัพพี หรือผักดิบที่เป็นหัว 1 ทัพพี เป็นต้น
3. กลุ่มผลไม้ (ส่วน) เช่น ลำไย 8 ผล, องุ่นเขียว 8 ผล, เงาะ 4 ผล, มังคุด 4 ผล, แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก, สับปะรด 6 ชิ้นพอดีคำ, หรือแตงโม 6 ชิ้นพอดีคำ เป็นต้น
4. กลุ่มเนื้อสัตว์ (1 ช้อนกินข้าว) เช่น เนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ 1 ช้อนกินข้าว, ไข่ไก่ ½ ฟอง หรือเต้าหู้ขาวหลอด 6 ช้อนกินข้าว เป็นต้น
5. กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ (แก้ว) เช่น นมสด 200 มิลลิลิตร หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ 150 มิลลิลิตร เป็นต้น หลังจากที่รู้แล้วว่าในแต่ละวันเด็กควรกินอาหารในปริมาณเท่าไร ก็มาดูวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาลูกกินข้าวยากกันต่อเลย

6 กลยุทธ์จัดการลูกกินข้าวยาก

ปัญหาลูกกินยากหรือกินน้อยเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านกังวลว่าลูก ๆ จะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน วันนี้เรามีแนวทางที่จะช่วยให้ลูก ๆ อยากกินข้าวมาให้ดังนี้

1. เตรียมเมนูให้หลากหลาย ถูกใจเด็ก ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่เด็กชอบ ปรุงรสชาติให้ถูกปาก และมีเมนูให้เด็ก ๆ ได้เลือกกินได้หลากหลายเมนู
2. ตกแต่งจานให้น่ารัก ไม่ว่าจะเป็นการทำข้าวเป็นรูปสัตว์หรือตัวการ์ตูน เช่น หมี แมว กระต่าย เป็นต้น หรืออาจใช้ผักหลากหลายสีมาทำเป็นรูปดอกไม้ ตกแต่งเพิ่มสีสันในจานอาหารก็ได้เหมือนกัน
3. ชวนลูก ๆ ออกไปวิ่งเล่น เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่สะสมไว้ และทำให้เกิดความหิว ทีนี้ลูก ๆ ก็จะอยากกินอาหารมากขึ้น รับรองว่าจะหมดปัญหาลูกกินยาก กินน้อย หรือเลือกกินแต่ของที่ชอบแน่นอน
4. งดอาหารหรือขนมจุบจิบก่อนมื้ออาหาร ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม ลูกอม หรือนม เพราะขนมหรือนมจะทำให้ลูกอิ่มก่อนที่จะได้กินอาหารมื้อหลัก
5. สร้างบรรยากาศที่ดีบนโต๊ะอาหาร คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยายกาศบนโต๊ะอาหารให้สนุกสนาน ผ่อนคลาย ทำให้เวลาอาหารเป็นเวลาแห่งความสุขสำหรับเด็ก ๆ และหลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือบนโต๊ะอาหาร
6. พาลูกเข้าครัว ปลุกความเป็นเชฟของลูก อีกหนึ่งเทคนิคที่ทำให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหาร จะช่วยให้เขารู้สึกสนุกและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหารกับครอบครัว และอยากกินอาหารที่ได้ลงมือทำมากขึ้น

กลยุทธิ์เปลี่ยนลูกให้กินดีขึ้น

5 ประโยชน์ของการลองให้ลูกได้เป็นเชฟตัวน้อย

การให้เด็ก ๆ ได้ช่วยทำอาหาร นอกจากจะทำให้เขาอยากกินอาหารที่ทำเองมากขึ้น ยังมีข้อดีอื่น ๆ ดังนี้

1. เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการช่วยหยิบจับเครื่องใช้หรือวัตถุต่าง ๆ แต่ผู้ปกครองควรอยู่ดูแลตลอดเวลา
2. เสริมสร้างสมาธิ เพราะเด็กจะต้องจดจ่อกับการเตรียมอาหาร
3. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ จากการที่ได้ทดลองทำเมนูต่าง ๆ จนอาจเกิดเมนูแปลกใหม่สำหรับเขาขึ้นมาเลย
4. เสริมสร้างวินัย เมื่อหลังจากการทำอาหารและกินอาหารแล้วได้ช่วยทำการเก็บล้างภาชนะที่ใช้
5. เสริมสร้างความรู้ ในขณะที่เด็กได้ลองทำอาหาร ผู้ปกครองสามารถบอกถึงประโยชน์ของอาหาร ผักหรือผลไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบให้เขาได้รู้จักและคุ้นชิน

พิเศษ! คุณพ่อคุณแม่สามารถดูไอเดียเมนูอาหารรสชาติกลมกล่อมพร้อมวิธีทำ ได้ที่ รวมสูตรเมนูจานอร่อย คลิก หรือดาวน์โหลด E-Book สารพัดเคล็ดลับชวนลูกเข้าครัวปรุงเมนูคุณหนู อร่อยเต็มอิ่มได้ทั้งครอบครัว ได้ฟรีที่ เมนูหนูช่วยทำ คลิก

เห็นหรือไม่ว่าปัญหา “ลูกกินข้าวยาก” สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ เพียงคุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ นำแนวทางเหล่านี้ไปใช้ โดยอาจจะเริ่มปรับทีละน้อย ให้ลูกเกิดความคุ้นชินและรู้สึกสนุกในการเตรียมและกินอาหารในแต่ละวัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ ความอดทน และวินัยเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาลูกกินยาก ให้ลูกได้เติบโตอย่างแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย

เคล็ดลับช่วยลูกเจริญอาหาร

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :

You may also like