Sort by
Sort by

ลูกไม่กินข้าว ทำไงดี ? 6 วิธีแก้ปัญหาลูกกินยาก อย่างใจเย็น

ลูกไม่กินข้าว ทำไงดี ? 6 วิธีแก้ปัญหาลูกกินยาก อย่างใจเย็น
ลูกไม่กินข้าวหรือลูกกินยาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจ และน่ากังวลสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน เพราะกลัวลูกจะตัวเล็กกว่าเพื่อน ไม่แข็งแรงหรือเจริญเติบโตตามวัย เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารบางอย่างและอาจส่งผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและสมอง เรามาดูกันว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกกินยากกัน?
1. เด็ก ๆ กินขนม หรือของว่างจนอิ่ม เมื่อถึงเวลาอาหารจึงไม่รู้สึกหิว
2. เด็ก ๆ คิดว่าการกินคือช่วงเวลาที่ไม่มีความสุข เพราะความอึดอัดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ฝึกลูกกินผิดวิธี เช่น ป้อนแกมบังคับ ไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ ลองกินเอง เพราะกลัวจะเปื้อนเลอะเทอะ อาจเคยโดนดุเสียงดังหรือทำโทษเมื่อกินน้อย บรรยากาศบนโต๊ะอาหารที่แสนน่าเบื่อไม่มีการพูดคุยหรือสมาชิกทะเลาะกันบนบนโต๊ะอาหาร เป็นต้น
3. แสดงความเป็นตัวเอง มีพฤติกรรมปฏิเสธอาหาร คือจะไม่กินของที่ไม่อยากกิน เลือกกินแต่อาหารที่ชอบซ้ำ ๆ อาจเป็นอาการต่อต้านจากการที่โดนคุณพ่อคุณแม่บังคับให้กิน
4. สนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากกว่าการกินอาหาร เห็นการเล่นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
เด็กเบื่อข้าว

6 เทคนิค รับมือกับปัญหาลูกไม่กินข้าว และลูกกินยากอย่างใจเย็น

1. จัดเวลาขนม และของว่าง

จัดเวลาเบรกหรือเวลาของว่างระหว่างวันให้ชัดเจน โดยให้ห่างจากเวลาอาหารมื้อหลัก 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเน้นของว่างที่มีประโยชน์ มีรสชาติหวาน มัน เค็ม อย่างพอดี ให้พลังงานเหมาะสมประมาณ 100 – 200 แคลอรีต่อครั้ง และถ้ายังไม่ถึงเวลากิน หรือเกินจากเวลาของว่างที่ตั้งไว้แล้วก็ต้องตัดใจ ไม่ให้เขากินขนมในช่วงใกล้มื้ออาหาร เพราะจะทำให้อิ่มและไม่กินข้าวมื้อหลักเมื่อถึงเวลา และคุณพ่อคุณแม่ควรเก็บขนมหรืออาหารให้พ้นมื้อเด็ก ป้องกันเขาหยิบขนมกินเองระหว่างมื้ออาหารซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว แต่ยังสามารถเลือกวางผลไม้น้ำตาลต่ำหรือนมกล่อง UHT ที่มีโอเมก้า 3,6,9 และแคลเซียมสูงให้เขาดื่มวันละ 1 – 2 กล่อง

2. ฝึกลูกโฟกัสกับอาหารตรงหน้า

แน่นอนว่าเด็ก ๆ กับการเล่นเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่จึงมักใช้วิธีหลอกล่อเด็ก ๆ ให้กินด้วยการเปิดการ์ตูน เปิดทีวี หรือให้เขาเล่นเกมบนเทบเลตไปด้วยขณะกินข้าว ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดเพราะจะทำให้เขาติดหน้าจอ และสามารถใช้เป็นข้ออ้างหรือเรียกร้องข้อแลกเปลี่ยนแลกกับการกินข้าวในครั้งต่อ ๆ ไป มาเปลี่ยนพฤติกรรมนี้โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็ง งดกิจกรรมหรือการให้ดูหน้าจอบนโต๊ะอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะมันจะดึงดูดความสนใจไปจากอาหารที่อยู่ตรงหน้า วิธีนี้จะช่วยให้เขามีสมาธิ จดจ่อกับช่วงเวลากินอาหารพร้อมหน้ากับครอบครัว รู้จักสังเกตส่วนผสมในจานอาหาร สัมผัสรสชาติอาหารต่างชนิดโดยละเอียด เรียนรู้ว่าช่วงเวลากินข้าวคือช่วงเวลาคุณภาพของวัน แล้วเขาจะสามารถจัดความสำคัญของกิจวัตรประจำวันของเขาได้เอง

3. กินแบบเดียวกันกับทุกคนในครอบครัว

ฝึกให้ลูกไม่เลือกกินโดยการทำอาหารแบบเดียวกับเมนูของผู้ใหญ่ โดยไม่ต้องทำเมนูพิเศษ หรือแตกต่างจากสมาชิกคนอื่น ๆ บนโต๊ะอาหารแต่อาจจะปรับรสชาติให้อ่อนลง และใช้สูตร 2:1:1 จัดจานแบบแบ่งสัดส่วนจานอาหาร คือ

• ผักและผลไม้ 2 ส่วน จำง่าย ๆ ว่าครึ่งหนึ่งของจานอาหารควรเป็นผัก เพราะเป็นแหล่งวิตามิน และเกลือแร่ โดยเด็กควรกินผักผลไม้ทุกวัน เลือกชนิดให้หลากหลายตามฤดูกาล โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับวัยอนุบาลประมาณ 175 กรัมต่อวัน และสำหรับวัยประถมประมาณ 350 กรัมต่อวัน
• เนื้อสัตว์ 1 ส่วน เพราะเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการเติบโตของร่างกาย ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน อาจเลือกทานสลับสับเปลี่ยนกับโปรตีนจากแหล่งอื่นเช่นเนื้อปลาที่มีไขมันที่ดีต่อร่างกาย หรืออาหารทะเลต่าง ๆ เป็นต้น
• ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน เลือกข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี, ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีต เพราะมีวิตามิน ใยอาหารและแร่ธาตุมาก
เมนูข้าวกล่อง
รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าเด็ก ๆ เด็กชอบอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ เพื่อเลือกทำเมนูใหม่ ๆ ให้เขาได้กินอาหารอย่างหลากหลาย รู้จักวัตถุดิบหลากประเภท ได้สารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ลดปัญหาลูกกินยากหรือเลือกกินแต่อาหารที่ชอบซ้ำ ๆ
เช่น หากเขาชอบกินของทอด ครั้งต่อไปอาจลองเอาผักหลากสีที่ปกติเค้าไม่กินลองนำมามาชุบแป้งทอด เพื่อให้ทานง่ายขึ้น, เขาชอบกินซุปใสหรือซดน้ำแกงครั้งต่อไปอาจลองเพิ่มเมนูทำซุปข้นให้เขาลองกินบ้าง, หากเขาชอบกินข้าวโพดสีเหลือง ครั้งต่อไปอาจลองเอาพริกหวานสีเหลืองให้เขาลองกิน เป็นต้น และทุกครั้งที่เขาสามารถกินอาหารที่ไม่เคยลองได้ ควรพูดชื่นชมเพื่อเป็นกำลังให้เขาอยากลองสิ่งแปลกใหม่ในครั้งต่อไป

4. จับเวลากิน ไม่เกิน 30 นาที

วิธีต่อมาคือการกำหนดเวลาการกินให้เด็ก ๆ เหมือนเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่เขาต้องพิชิตให้ได้ เพราะโดยทั่วไปเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกกินน้อยหรือยังกินไม่หมด ก็มักปล่อยให้เขานั่งกินต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะยิ่งทำให้เขาเบื่อหน่ายการกินและรู้สึกเคยชินกับการถูกตามใจ เขาจึงลำดับความสำคัญให้เรื่องกินจึงเป็นเรื่องรองจากกิจกรรมอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจับเวลาที่เหมาะสมต่อมื้อคือไม่เกิน 30 นาที โดยให้ทุกคนในครอบครัวกินไปพร้อมกับเขา พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้วก็ต้องเก็บจานอาหารทันทีไม่รอให้เขากินจนหมด ให้เขารอกินอาหารในมื้อถัดไปแทน วิธีการนี้เขาจะเรียนรู้ว่าหากไม่กินให้หมดในเวลาให้ที่กำหนดจะทำให้เขาหิว ไม่สบายตัว ไม่มีพลังงานที่จะเรียนรู้ หรือเล่นกับเพื่อน ๆ แล้วเขาจะกินข้าวได้เองโดยไม่ต้องเคี่ยวเข็ญ

 

5. ชวนลูกมีส่วนร่วมทำอาหาร

เด็กที่อยู่ในวัยเรียนรู้มักอยากรู้อยากลองทำในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ การชวนเด็ก ๆ เข้าครัวให้เห็นขั้นตอนในการทำอาหารหรือได้มีส่วนช่วยในครัวเล็ก ๆ น้อย ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เขาอยากกินอาหารที่เขามีส่วนร่วม และค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องโภชนาการที่ดี เช่น ได้เห็นวิธีการปรุงอาหารด้วยน้ำตาล เกลือ และไขมัน แบบพอดี, ช่วยล้างผักช่วยให้เขาอยากลองกิน, เตรียมของหรือจัดจาน ช่วยให้เขารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำ และยอมกินอาหารที่ได้ลงมือช่วยมากขึ้นโดยไม่ต้องบังคับ
รวมถึงคุณพ่อคุณแม่สามารถดู หรือดาวน์โหลด E-Book ไอเดียชวนลูกเข้าครัวพร้อมเมนูและวิธีการทำอาหารจากครอบครัว N4HK ฟรี! คลิก ซึ่งสามารถนำไปเป็นต้นแบบ หรือเอาเคล็ดลับจากนักจิตวิทยาเด็ก และนักโภชนาการไปปรับใช้ได้ รับรองว่าเด็ก ๆ จะมีช่วงเวลามื้ออาหารอย่างมีความสุข จากรสชาติอาหารแสนอร่อย และการได้ข้าวพร้อมหน้าทั้งครอบครัว
รวมมื้อสนุกเมนูประจำบ้าน
พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีในการกิน

6. เป็นแบบอย่างที่ดีในการกิน

อีกหนึ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ก็คือต้องพยายามสร้างความรู้สึกที่ดีต่ออาหารที่เด็ก ๆ ไม่ชอบหรือปฏิเสธ เพราะครอบครัวควรเป็นต้นแบบการพฤติกรรมกินในแต่ละมื้อ ถ้าอยากให้เขากินอะไรสมาชิกในครอบครัวก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย เช่น คุณพ่อกินบร็อกโคลีที่ลูกไม่ชอบด้วยท่าทางที่ชื่นชอบ รู้สึกว่าอร่อยเป็นตัวอย่างและยังช่วยทำให้คุณพ่อแข็งแรง, คุณแม่ลองกินน้ำซุปจนหมดชามเพื่อเขาทำตามและรู้สึกว่าเป็นกินให้หมดไม่เหลือทิ้งขว้าง เป็นต้น เมื่อสมาชิกในบ้านทุกคนได้กินข้าวพร้อมหน้าจะช่วยแนะนำมารยาทการกินของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย เช่น วิธีการจับช้อนส้อมที่ถูกต้องตามแบบคุณพ่อคุณแม่, ไม่เล่นอาหารหรือคายอาหารออกมา, ฝึกฝนการเคี้ยวและกลืนแบบไม่เสียงดังหรือรู้จักเคี้ยวให้หมดคำก่อนจะพูด เป็นต้น
หัวใจหลักของการฝึกเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูกกินยากหรือลูกไม่ยอมกินข้าวให้ดีขึ้น ก็คือความใจเย็น และความพยายามค่อย ๆ ฝึกเด็กอย่างสม่ำเสมอ และมีฝึกวินัยตั้งแต่ยังเล็ก ที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตามใจหรือใช้อาหารเป็นสิ่งต่อรองให้รางวัลหรือทำโทษ และไม่ควรแสดงออกให้เด็ก ๆ รู้ว่ากำลังกังวล หรือมีอาการหงุดหงิดกับพฤติกรรมการกินของเขา

นอกจากนี้ยังไม่ปล่อยให้ความใจอ่อนหรือความสงสารเมื่อเด็ก ๆ ร้องไห้หรือโวยวาย ความท้อแท้เมื่อฝึกนานแล้วแต่ก็ยังไม่สำเร็จสักที มาทำลายความพยายามและวินัยที่ทำมาตั้งแต่ต้น เพื่อส่งเสริมให้ลูกช่วยเหลือตนเองอย่างจริงจัง รวมถึงเป็นรากฐานพฤติกรรมการกินที่ดีให้เขารู้จักกินของที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารอาหารครบถ้วน และเข้าใจเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

คุณพ่อคุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี Nestlé for Healthier Kids คลิก โครงการที่มีมุ่งมั่นให้คนรุ่นใหม่ได้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่อร่อยและอุดมคุณประโยชน์ มีจุดมุ่งหมายเพิ่มพูนวิถีชีวิตให้เด็กกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 และยังมีแผนทำโครงการอื่นเพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืน และดีต่อสุขภาพต่อไป

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :