Sort by
Sort by

7 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่กินข้าว พร้อมสอนลูกให้กินอย่างสนุก

7 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่กินข้าว พร้อมสอนลูกให้กินอย่างสนุก

แน่นอนว่าช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัวก็คือการได้กินข้าวพร้อมหน้า แต่บางครั้งการกินข้าวร่วมกันระหว่างคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ๆ ก็มักเน้นไปที่การปริมาณอยากให้ลูกกินข้าวเยอะ ๆ อย่างที่ต้องการจนลูกไม่กินข้าว เพราะรู้สึกกดดันและไม่มีความสุขตลอดช่วงเวลาบนโต๊ะอาหาร แต่จะดีแค่ไหนหากคุณพ่อคุณแม่สามารถเนรมิตบรรยากาศให้มื้ออร่อยสนุกขึ้นไปอีก ส่งเสริมให้เด็ก ๆ เจริญอาหาร พร้อมกับซึมซับความรักความอบอุ่น และความหวังดีผ่านอาหารจากสมาชิกในครอบครัว ที่มอบให้กันระหว่างกินอาหารพร้อมหน้า

กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา


1. จัดจานการ์ตูนเรื่องโปรด

ลืมการจัดจานรูปแบบเดิมหรือวางอาหารตำแหน่งเดิมไปเลย เพราะจะทำให้ที่กินข้าวยาก รู้สึกเบื่อกับความจำเจ ไม่เจริญอาหารเท่าที่ควร เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปทรง สีสัน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดใจให้เด็ก ๆ รู้สึกตื่นเต้น และสนุกไปกับมื้ออาหารได้ไม่น้อย วันนี้จึงแนะนำวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว เพียงคุณพ่อคุณแม่ลองสร้างสรรค์อาหารตามการ์ตูนที่เขาชอบ เช่น เบอร์เกอร์รูปสิงโตเจ้าป่า, มหาสมุทรออมเลตกับภูเขาข้าวสวย, สปาเกตตี้แทนเส้นผมเจ้าหญิงแล้วตกแต่งใบหน้า, ข้าวสวยจากแม่พิมพ์ลายการตูนต่าง ๆ เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้กินได้เยอะขึ้นเพราะรู้สึกสนุกกับการได้หม่ำตัวการ์ตูนที่เขาคุ้นเคยแล้ว ยังช่วยเปิดบทสนทนาบนโต๊ะอาหาร เช่น ให้เขาช่วยเล่าเนื้อเรื่องหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกินได้ แถมกิจกรรมจัดจานนี้ยังสามารถถ่ายรูปเก็บไว้เป็นความทรงจำเมนูคุณหนู หรือจะแชร์ลงโซเชียลเพื่อเป็นไอเดียให้คุณพ่อคุณแม่คนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

2. เกมเพิ่มความรู้เรื่องอาหาร

พื้นฐานการมีพฤติกรรมกินดีก็ต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่จะใช้การสั่งหรือดุ ก็ไม่อาจทำให้เด็กทำตามได้ 100% เราจึงนำเกมที่ช่วยเพิ่มระดับความสุขบนโต๊ะอาหารพร้อมกับช่วยแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวมาฝากกัน เพราะขึ้นชื่อว่าเกมแล้วก็จะยิ่งช่วยทำให้เด็ก ๆ รู้สึกท้าทายและซึมซับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหาร ที่นอกจากช่วยให้รู้สึกอิ่มอร่อยแล้วยังมีคุณค่าต่อร่างกาย ซึ่งจะติดตัวเป็นนิสัยการกินที่ดีไปในอนาคต ตัวอย่างเกมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ง่าย ๆ เช่น

  • ก่อนจะถึงเวลาเข้าครัวลงมือทำอาหารคุณพ่อคุณแม่ลองเล่นเปิดร้านขายของ ให้เด็ก ๆ เป็นลูกค้า มาเลือกสรรส่วนประกอบของอาหาร และเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ เช่น ผักผลไม้, เนื้อสัตว์, นม, น้ำสะอาด ฯลฯ แล้วลองถามว่าวัตถุดิบที่ได้ไปจะนำไปทำเมนูอะไรดี? การเล่นบทบาทสมมติจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ให้เขาได้รู้จักวัตถุดิบ และสารอาหารที่หลากหลาย
  • ก่อนจะถึงเวลามื้ออาหาร คุณพ่อคุณแม่สวมบทบาทเป็นลูกค้าในร้านอาหารนั่งรอที่โต๊ะ ให้เขาเป็นพนักงานเสิร์ฟ แล้วคอยถามเรื่องส่วนประกอบอาหารแต่ละจานแล้วให้เขาอธิบายหรือให้เขาเล่าขั้นตอนการทำของเมนูต่าง ๆ ให้ฟัง รวมถึงคุณพ่อคุณแม่คอยชื่นชม และขอบคุณเมื่อเขาทำหน้าที่พนักงานได้ดี เกมนี้จะช่วยฝึกทักษะสื่อสารให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยกันระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถดาวน์โหลดเกมเพื่อเสริมสร้างโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนได้ฟรี!! จากโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กไทยสุขภาพดี ที่สามารถนำไปปรับใช้สอนให้เด็ก ๆ มีนิสัยการกินที่ดีและเหมาะสม ให้เขาเจริญเติบโตสมวัย
เด็กกินข้าวอย่างมีความสุข


3. การเลือกของว่างที่ชอบ ประโยชน์ที่ใช่

แน่นอนว่าเด็ก ๆ กับของว่างหรือของหวานเป็นของคู่กัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปล่อยให้เขากินขนมได้ตามใจมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ในอนาคตได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักควบคุมปริมาณหวาน มัน เค็ม และเพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ในของว่างของเขา เช่น ใส่อัลมอนด์ในชอกโกแลตที่ลูกชอบ เพิ่มผลไม้สดในวุ้นเยลลี เป็นต้น

4. กินฟาสต์ฟู้ด ก็กู้ดได้

มาลดปัญหาเด็กติดอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ส่วนมากประกอบด้วยแป้ง และไขมันสูง แถมมีคุณค่าจากผักผลไม้น้อย แต่การบังคับหรือห้ามให้เด็ก ๆ กินเลิกกินของที่ชื่นชอบ อาจทำให้เขารู้สึกสะเทือนใจจนฝังใจกับการกินที่ไม่มีความสุขจนลูก ไม่กินข้าว เรามีวิธีเปลี่ยนอาหารฟาสต์ฟู้ดให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้นได้เพียงคุณพ่อคุณแม่รู้จักปรับสูตรจากอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เด็ก ๆ ชอบกิน โดยการเปลี่ยนหรือเพิ่มวัตถุดิบที่มีคุณค่าโภชนาการที่ดีขึ้น แล้วชวนเขาทำไปด้วยกันได้ เช่น

  • เปลี่ยนจากเฟรนซ์ฟรายที่ทอดในน้ำมันมาทอดด้วยหม้ออบลมร้อนแทน
  • เปลี่ยนจากพิซซ่าแป้งหน้านุ่มมาเป็นเมนูพิซซ่าไข่กรอบที่ทำจากแผ่นแป้งเวียดนาม
  • เปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลแ ละกะทิไขมันสูง ในเมนูสาคูนมน้ำผึ้งมาใช้น้ำผึ้งให้ความหวานและนมสดให้ความหอมมันกำลังดีแทน


การที่เด็ก ๆ ได้กินของโปรดรสชาติอร่อยช่วยให้เขามีความสุขกับมื้ออาหาร พร้อมกับความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ที่จะมั่นใจว่าร่างกายของเขาจะได้รับคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม ช่วยเสริมสร้างสุขภาพดีให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงได้

เมนูปรุงด้วยซอสแม็กกี้


5. แอบกระซิบเมนูอาหารเช้า

ช่วงเวลาหลังจากกินอาหารเย็นเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองชวนเด็ก ๆ คุยหรือถามไอเดียว่าอยากกินอะไรดีในวันรุ่งขึ้น หรือถ้าเขายังไม่สามารถบอกได้อาจกระซิบบอกเมนูอาหารเช้าจากวัตถุดิบที่เขาชื่นชอบ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เขาเข้าใจลำดับกิจวัตรประจำวันของตัวเองตลอดทั้งวันจนสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ การแอบบอกเมนูของอาหารมื้อถัดไปจะช่วยกระตุ้นให้เขาคิดถึงเมนูอาหาร เพิ่มความกระตือรือร้นให้สามารถกินอาหารได้ตามแพลนที่วางไว้อย่างสนุกสนาน

6. จานชามเล็ก เด็ก ๆ ท้าทาย

เริ่มต้นให้ลูกกินด้วยภาชนะขนาดเล็กก่อน เพราะการเริ่มใช้จานชามเล็ก ๆ จะช่วยให้เขารู้สึกว่าอาหารตรงหน้ามีปริมาณพอดี เข้าสามารถกินให้หมดได้ไม่ยาก แล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดจานชามขึ้นเรื่อย ๆ ให้เหมาะสมตามช่วยวัย เพื่อเพิ่มความท้าทาย ถ้าหากเขากินได้หมดสำเร็จก็จะยิ่งสร้างความภาคภูมิใจ และมั่นใจว่าตัวเองจะพิชิตมื้ออาหารต่อ ๆ ไปได้

7. ชวนเข้าครัว อบอุ่นทั่วทั้งบ้าน

มาใช้กิจกรรมในห้องครัวช่วยสร้างทีมเวิร์กในครอบครัวกัน! การให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในมื้ออาหารตั้งแต่คิดเมนู หาวัตถุดิบ ลงมือทำ กินอาหารร่วมกัน ไปจนถึงการเก็บล้าง เป็นการใช้เวลาร่วมกันช่วยเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ดีทีเดียว ยิ่งถ้าในครอบครัวมีจำนวนพี่น้องหรือสมาชิกหลายคน จะยิ่งช่วยสนุกสนานและเกิดความร่วมแรงร่วมใจกันมากขึ้น แถมยังช่วยฝึกทักษะเจ้าตัวเล็กในด้านทำครัวอีกด้วย

เด็กฝึกทำอาหาร


การมอบหมายหน้าที่เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หยิบอุปกรณ์ ช่วยล้างผัก ช่วยชิมอาหาร หรือเก็บจานชามที่ใช้แล้ว ฯลฯ นอกจากจะช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจให้เขาอยากกินอาหารที่เขามีส่วนร่วม ลดปัญหาลูกไม่กินข้าวและช่วยเพิ่มคุณภาพช่วงเวลากินข้าวพร้อมหน้ากันพิเศษขึ้นมา รวมไปถึงช่วยให้เขารู้จักช่วยเหลือคนในครอบครัว เสริมสร้างความมีจิตอาสาและช่วยเติมเต็มจิตใจให้เขารู้สึกเป็นสมาชิกคนสำคัญของบ้าน

คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองสามารถนำเคล็ดลับทั้งหมดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบ้าน เพื่อสร้างความสุขสนุกสนานระหว่างมื้ออาหาร เพื่อปูพื้นฐานพฤติกรรมการกินที่ดี ช่วยแก้ปัญหาลูกไม่กินข้าวและกระชับความสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นได้แบบไม่ต้องลงทุน และนอกจากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างครบถ้วนและหลากหลายแล้ว ก็อย่าลืมการให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างเพียงพอ วันละ 6 – 8 แก้ว (1.5 ลิตร) ต่อวัน เพื่อให้เข้าพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมออกไปทำกิจกรรมได้ตลอดทั้งวัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี Nestlé for Healthier Kids คลิก โครงการที่มีมุ่งมั่นให้คนรุ่นใหม่ได้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยและอุดมคุณประโยชน์ มีจุดมุ่งหมายเพิ่มพูนวิถีชีวิตให้เด็กกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 และยังมีแผนทำโครงการอื่นเพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพต่อไป

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :