Sort by
Sort by

โรคอ้วน

โรคอ้วน
ในปี 1980 จำนวนของคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและคนที่เป็นโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกานั้นพุ่งสูงแซงหน้าจำนวนของคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้บ่งชี้ภาวะน้ำหนักตัวเกินนี้วัดจากค่าดัชมีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่25 กิโลกรัม/ เมตร2  เป็นต้นไปจนถึงปี 2007 มีคนจำนวนหนึ่งในสามประสบปัญหาโรคอ้วน โดยมีค่า BMI อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่านั้น โรคอ้วนได้กลายเป็นปัญหาทางโภชนการและสุขภาพที่พบมากที่สุดทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหานำไปสู่โรคอื่นๆ ค่าใช้จ่ายในเรื่องของสุขภาพ รวมทั้งกำลังคนในการทำงานและพัฒนาประเทศชาติ

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วงการแพทย์ซึ่งในอดีตมองเรื่องของโรคอ้วนเป็นแค่การขาดความยับยั้งชั่งใจตัวเองในเรื่องของการกินเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ตระหนักถึงผลที่ตามมาทั้งในเรื่องของจิตใจและร่างกาย  วิธีเดิมๆ ที่ใช้กับโรคนี้มักจะเน้นไปที่ความพยายามที่จะรักษาโรคอ้วน แทนที่จะเป็นการป้องกัน ทั้งวิธีการควบคุมอาหารที่เข้มงวด การใช้ยาลดความอ้วน การมัดขากรรไกร และการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร หรือแม้กระทั่งการตัดลำไส้บางส่วนออก!
เพื่ออนาคตที่ดีในภายภาคหน้า เราควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการป้องกันให้มากขึ้น โดยต้องเปลี่ยนความคิดและวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีการบริโภคแคลอรีที่สมดุล รวมถึงต้องเผาผลาญออกกำลังที่สามารถช่วยให้รักษาระดับของน้ำหนักที่ต้องการได้! เรื่องนี้ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ามนุษย์เรายังขาดการออกกำลังที่พอเพียงและการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วละก็ ผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือเราจะอ้วนขึ้น แถมบางคนอ้วนขึ้นกว่าคนอื่นเสียด้วย!

เรื่องของพันธุกรรมและความสมดุลของน้ำหนัก
สำหรับบรรพบุรุษของเรา น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด โดยการกินอาหารให้มากเพื่อการทำงานหนัก ออกล่าสัตว์ หรือการกินอาหารกักตุนไว้ยามเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ซึ่งเราก็ยังมีสัญชาตญาณข้อนั้นซ่อนอยู่ แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เหนื่อยยากจากการตรากตรำใช้แรงงานเมื่อ 100 ปีที่แล้วก็ถูกแทนที่ด้วยชีวิตนั่งๆ นอนๆ กิจกรรมที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย มาเสียเป็นส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างพลังงานจากอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภคเข้าไปในร่างกาย กับปริมาณพลังงานที่ใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆเช่น การหายใจ การย่อยอาหาร การทำงานของระบบหัวใจ การสร้างความร้อนให้แก่อุณหภูมิในร่างกาย และกิจกรรมที่ต้องใช้แรงต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา

พลังงานที่สมดุล

 พลังงานที่บริโภค  พลังงานที่ใช้ไป
 อาหาร (คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน และโปรตีน)    
 พลังงานพื้นฐานของร่างกาย (60 – 75%)
 แอลกอฮอล อาหาร (10%)  พลังงานสำหรับการย่อยและดูดซึม
   พลังงานสำหรับการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ
(15 -30%) น้ำหนัก


ดังนั้น หากต้องการลดน้ำหนัก เราต้องจำกัดอาหารที่บริโภค หรือการเพิ่มอัตราการใช้พลังงาน แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เพราะเห็นได้จากอัตราของโรคอ้วนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การลดน้ำหนักที่เหมาะสม จะต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่มากเกินพอดี ค่อยๆลดและจำกัดอาหารที่ให้พลังงานสูง น้ำตาลสูง ไขมันสูง หมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากนี้ อาจหาจากผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมที่มีคณสมบัติในการช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาซึ่งจะก่อให้เกิดการลดน้ำหนักที่รวดเร็วจนเกินไป และอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้