Sort by
Sort by

เพื่อนรักไอที ของเล่นใหม่ที่พ่อแม่พึงระวัง

เพื่อนรักไอที ของเล่นใหม่ที่พ่อแม่พึงระวัง
ของเล่นฮิตติดบ้านตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่ทุกบ้านคงปฏิเสธไม่ได้กับสารพัดอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่เมื่อวางตรงหน้าเจ้าตัวน้อยปั๊บ ก็นิ่งเงียบไม่ดื้อไม่ซนทันที จนกลายเป็นความเคยชินของเด็กที่ต้องเรียกหาเป็นประจำทุกครั้ง จนเหมือนไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ของเล่นอิเลคโทรนิกส์ในบางเกมก็มีประโยชน์ เช่น เรื่องการใช้ภาษา สร้างความสนุกเพลิดเพลินให้กับเด็ก แต่ก็มีโทษแอบแฝงมาด้วยเช่นเดียวกัน

ทางผู้อำนวยการ International Anti-Ageing Medicine Institute โดย ดร. กฤษดา ศรีรัมพุฒ พูดได้พูดถึงผลกระทบของการเล่นตุ๊กตาอิเลคโทรนิกส์ และอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์อื่นๆ ด้วยว่า

1. หากเด็กหมกมุ่นอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้มากเกินไป จะทำให้สูญเสียความสามารถในการโต้ตอบกับผู้คนรอบข้าง

2. หากเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่มากเกินไปจนกลายเป็นเด็กติด และจะทำให้เขาสร้างโลกส่วนตัวของตนเองของเล่นทำให้พวกเขาให้ขาดความสนใจในชั้นเรียน

3. บางครั้ง เด็กๆ มักสนุกกับการเล่นกับของเล่น จนเลยเวลานอนของพวกเขาทำให้ต้องนอนดึก ซึ่งมีผลต่อความสามารถของร่างกายของพวกเขาในการผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต

4. หากเด็กหมกมุ่นอยู่กับสัตว์เลี้ยงเสมือนจริงหรือเกมอิเลคโทรนิกส์มากเกินไป อาจจะคิดว่าการใช้ความรุนแรงในเกม เป็นเสมือนจริงเนื่องจากไม่มีการตาย และคงอยู่ หรือเกิดใหม่ตลอดเวลา

5. หากผู้ปกครองปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวกับของเล่น จะทำให้เด็กๆ คุ้นชินกับการการพูดคุยกับตัวเอง ซึ่งอาจชะลอการพูดและการพัฒนาสมองของเขาเอง เพราะสมองของเด็กไม่สามารถแยกความแตกต่างของเสียงจริงและเสียงที่คนสร้างขึ้นมาได้ เด็กๆอาจจะเริ่มต้นเพื่อคัดลอกเสียงของเล่นและเสียงพูดเหมือนตัวการ์ตูน

6. ในรายที่เล่นทุกวันอาจปฏิเสธที่จะเล่นกีฬาหรือการวิ่งไปรอบ ๆ นอกบ้านกับเด็กคนอื่น ๆ ทั้งนี้อาจทำให้เด็กเหล่านี้ขาดทักษะในการเล่น ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาของกล้ามเนื้อและสมอง นอกจากนี้อาจทำให้เป็น โรคภูมิแพ้และโรคมือเท้าปาก ได้ง่าย

เราลองมาเช็คพัฒนาการของเด็กๆกันค่ะ ว่าอย่างไรจึงเรียกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการพูด ซึ่งโดยทั่วไป เราถือว่าเมื่ออายุ 2 ขวบแล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือ พูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว หรือสื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ถือว่าผิดปกติแน่นอน แต่ก็ไม่ควรรอจน 2 ขวบ แล้วค่อยมาปรึกษาแพทย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นถึงพัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามปกติหรือไม่เหมือนเด็ก ๆ คนอื่น ๆ ก็ควรจะไปขอคำปรึกษากับแพทย์ได้ ในการที่พ่อแม่จะดูว่าเด็กปกติหรือไม่ นอกจากสังเกตการพูดสื่อสารให้เราเข้าใจได้หรือไม่ เราสามารถดูจากการพูดหรือสั่ง ว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ สามารถทำตามคำสั่งได้หรือไม่ ซึ่ง เด็กอายุ 1 ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจหรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติหรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป

พัฒนาการทางภาษาของเด็กไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่จะต้องเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กัน สิ่งแรก คือ ความพร้อมทางด้านสมอง ความพร้อมทางด้านการได้ยิน ความสมบูรณ์ของอวัยวะในปากที่จะเปล่งเสียงได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ โอกาสที่เด็กจะได้ยินคำพูดของผู้ใหญ่แล้วเปล่งเสียงตาม ถ้าไม่มีเด็กก็จะไม่สามารถพูดได้ เช่น ถ้าพ่อแม่มีเวลาพูดคุยกับลูกเป็นประจำ ลูกก็จะพูดได้เร็ว แต่ถ้าผู้ใหญ่พูดคุยกันเอง แต่ไม่ได้พูดกับเด็ก ก็จะไม่ได้ช่วยพัฒนาการทางด้านภาษาแต่อย่างไร

ดังนั้น ทุกคนในบ้านต้องมีส่วนร่วม เช่น ในมื้อเย็นวันอาทิตย์ อาจทำอาหารและรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว หรือให้เจ้าตัวน้อยมีส่วนร่วมในการเข้าครัว เป็นลูกมือในการปรุงอาหาร เพื่อให้ลูกน้อยใช้เวลาอยู่กับบุคคลมากกว่าของเล่น อย่างการเสิร์ฟไอศกรีม ที่เนื้อครีมเนียนนุ่ม ผสมเนื้อบลูเบอร์รีรสเปรี้ยวกำลังดี เป็นของหวานตบท้ายหลังมื้ออาหาร พร้อมให้เด็กช่วยตกแต่งไอศกรีมให้สวยงาม นอกจากจะให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของครอบครัวครัวแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในเด็กๆ ได้ด้วย ไม่เชื่อเย็นนี้ทำดูสิค่ะ