Sort by
Sort by

เคล็ดลับกำจัดอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงตั้งครรภ์

เคล็ดลับกำจัดอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงตั้งครรภ์
แสบหน้าอก แพ้ท้อง สำไส้แปรปรวน เคล็ดลับแก้ไขสำหรับคนท้อง

คุณแม่มือใหม่บางคนประสบปัญหาด้านร่างกายบางอย่างในช่วงที่ตั้งครรภ์ เราจะมาดูกันว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่คุณอาจต้องเจอ และนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สบายตัวขึ้นและช่วยให้คุณดูดีอยู่เสมอ

บางครั้งฉันรู้สึกมีอาการแสบหน้าอก อาการแสบหน้าอกในช่วงตั้งครรภ์อาจมีสาเหตุมาจาก
  • ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อรอบๆ ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการที่กล้ามเนื้อรอบระบบทางเดินอาหารคลายตัวก็จะทำให้โอกาสที่อาหารและกรดน้ำย่อยในกระเพาะย้อนขึ้นไปที่กระเพาะอาหารและขึ้นไปถึงคอของคุณ จนทำให้คุณแสบร้อนและรู้สึกไม่สบายตัว
  • แรงกดที่ทารกในครรภ์ไปดันกระเพาะของคุณ แรงกดนี้สามารถทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในกระเพาะและขึ้นไปถึงคอได้ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนในหน้าอก
  • อาการแสบร้อนหน้าอกอาจถูกกระตุ้นจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
เคล็ดลับเพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนหน้าอก
  • แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ ก็ให้รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ราว 5 – 6 มื้อต่อวันแทน
  • รับประทานอาหารคำเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียดและรับประทานช้าๆ
  • จำกัดการบริโภคไขมัน อาหารทอด และอาหารเผ็ดร้อน
  • ดื่มน้ำหลังมื้ออาหาร ไม่ควรดื่มน้ำพร้อมมื้ออาหาร
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่อัดก๊าซและแอลกอฮอล (ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว)
  • สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ที่ไม่รัดช่วงเอวจนแน่นเกินไป
  • ให้นั่งหลังตรงอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ เพราะการเอนตัวนอนทันทีอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้
  • เวลานอนหลับให้ใช้หมอนหลายๆ ไปหนุนศีรษะและช่วงไหล่


ลำไส้ทำงานไม่ปรกติ ทรมานมาก

ลำไส้ของคุณทำงานไม่เป็นปรกติในช่วงที่ตั้งครรภ์หรือเปล่า นี่เป็นปัญหาปรกติที่ผู้หญิงตั้งครรภ์มักประสบ ระดับฮอร์โมนที่พุ่งพรวดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ ลำไส้คลายตัว และทำให้ลำไส้ทำงานช้าลง โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ แรงกดจากทารกในครรภ์ที่ไปดันลำไส้จะเพิ่มขึ้นและทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวมากยิ่งขึ้น

วิตามินธาตุเหล็กบางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบลำไส้ ถ้าคุณบริโภคอาหารเสริมประเภทนี้และสังเกตว่าระบบลำไส้เปลี่ยนแปลงไป คุณอาจควรปรึกษาคุณหมอของคุณ คุณอาจถูกกับวิตามินธาตุเหล็กรูปแบบอื่นมากกว่า หรือคุณหมออาจแนะนำให้คุณไปปรึกษากับนักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำในการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้ระบบลำไส้ของคุณทำงานเป็นปรกติ

 

  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ใยอาหารสูง ที่ช่วยในเรื่องของการระบาย อาหารที่มีใยอาหารสูงได้แก่ขนมปังโฮลเกรน, ซีเรียลที่มีไฟเบอร์สูง, ผลไม้สด, ผลไม้แห้ง (เช่นลูกพรุน), ผัก, อาหารประเภทถั่ว รวมถึงถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ ถ้าร่างกายของคุณไม่คุ้นเคยกับอาหารที่ไฟเบอร์สูง ค่อยๆ ปรับรูปแบบการบริโภคเพื่อป้องกันการเกิดแก๊สและท้องอืด
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้เกิดปัญหาอุจจาระแข็ง คุณควรพกน้ำดื่มติดตัวและดื่มให้ได้ราว 10 แก้วต่อวัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ซึ่งช่วยให้ระบบย่อยอาหารเป็นไปอย่างราบรื่น ลองออกกำลังกายเบาๆ อย่างเช่นเดินหรือว่ายน้ำราวๆ 20 – 30 นาทีทุกวัน ก็จะช่วยให้การทำงานของลำไส้เป็นปรกติมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาระบายในช่วงที่ตั้งครรภ์นอกจากคุณหมอจะแนะนำ และไม่ควรดื่มน้ำมันละหุ่งแบบที่โบราณแนะนำเพราะอาจจะไปรบกวนการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุสำคัญๆ ได้


แพ้ท้องตอนเช้าๆ ในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณจะผลิตฮอร์โมนออกมามาก ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้หญิงบางคนเกิดอาการคลื่นไส้ (รู้สึกพะอืดพะอม) หรือที่เรียกกันว่า “แพ้ท้อง” อาการแพ้ท้องสามารถเกิดขึ้นในทุกช่วงของวัน อาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ แต่ที่พบกันบ่อยๆ อาการนี้มักจะเกิดในช่วงเช้าและเป็นต่อเนื่องตลอดทั้งวัน แม้ว่าจะไม่มีวิธีแก้อาการแพ้ท้องได้ชะงัดฉับพลัน แต่ก็พอมีวิธีที่จะช่วยลดอาการพะอืดพะอมนี้ได้

 

  • ตุนอาหารว่างที่รสไม่จัดนักอย่างเช่นแครกเกอร์ติดตัวไว้ข้างเตียง เมื่อตื่นนอน ให้เล็มแครกเกอร์สัก 2 -3 ชิ้นก่อน และพักสัก 20 – 30 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้นจากเตียง
  • เปลี่ยนไปรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ และรับประทานให้บ่อย แทนที่จะเป็นมื้อใหญ่  3 มื้ออย่างที่เคย
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ อาหารรสจัด หรืออาหารที่ทอดในน้ำมันท่วม เช่นเดียวกับอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง
  • อย่าปล่อยให้ท้องว่างเกินไป เพราะอาจทำให้วิงเวียนศีรษะได้
  • ลองรับประทานแครกเกอร์หรือขนมที่รสไม่จัดเวลาที่คุณรู้สึกคลื่นไส้หรือวิงเวียน
  • รับประทานผลไม้ที่หลากหลายและอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างเช่นมันฝรั่ง ขนมปัง แครกเกอร์ ข้าว และพาสต้า ซึ่งกระเพาะจะสามารถรับอาหารเหล่านี้ได้ง่ายกว่า
  • ดื่มน้ำหลังมื้ออาหารแทนที่จะดื่มพร้อมๆ กับมื้ออาหาร
  • รับประทานวิตามินบำรุงไปพร้อมๆ กับอาหาร ไม่ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง