Sort by
Sort by

ทำอย่างไรดี...เจ้าหนูไม่ชอบเล่นกีฬา

ทำอย่างไรดี...เจ้าหนูไม่ชอบเล่นกีฬา
การเล่นกีฬาแบบทีมจะทำให้เด็กๆ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้พวกเขาเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่และเด็กคนอื่นๆ ด้วย แต่เด็กบางคนก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักกีฬา ซึ่งพวกเขาอาจจะแสดงออกให้คุณรู้แบบตรงๆ หรืออ้อมๆ ก็ได้ว่าพวกเขาไม่ได้ชอบเล่นกีฬา แล้วผู้ใหญ่อย่างเราจะทำอย่างไรต่อไปดีล่ะ

ไม่ชอบการเล่นเป็นทีม

ที่จริงเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาเป็นทีมหรอก เพราะยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้พวกเขาแข็งแรงได้โดยไม่ต้องพึ่งพากีฬาแบบทีม แต่คุณต้องพยายามหาเหตุผลว่าทำไมลูกของคุณถึงไม่สนใจที่จะเล่นกีฬาร่วมกับเด็กๆ คนอื่น เมื่อหาได้แล้วคุณอาจจะช่วยแก้ปมในใจหรือคลายความกังกลที่ฝังลึกอยู่ในตัวเด็กๆ ได้ในที่สุด เดินเข้าไปบอกเด็กๆ ของคุณว่าคุณต้องการที่จะแก้ปัญหานี้ร่วมกับพวกเขา

ช่วงพัฒนาทักษะพื้นฐาน

ร่างกายเด็กส่วนใหญ่จะพร้อมเพื่อการเล่นกีฬาเมื่ออายุ 6-7 ปี เพราะว่าวัยนี้จะเริ่มมีทักษะทางร่างกาย มีสมาธิจดจ่อได้นานขึ้น และมีความเข้าใจกติกามากขึ้น ส่วนเด็กที่ไม่ค่อยได้เล่นกีฬา อาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะที่จำเป็น หรืออาจจะต้องการเวลามากขึ้นเพื่อความคุ้ยเคย เช่น ทักษะในการรับส่งลูกฟุตบอล เด็กต้องใช้ความพยายาม และพบล้มเหลว หรือทำไม่ได้ โดยเฉพาะในระหว่างเกมกีฬา อาจจะทำให้เด็กท้อแท้ หรือทำให้เด็กกดดัน หรือเครียดได้

พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างนะ: ฝึกซ้อมทักษะกีฬากับลูกๆที่บ้าน นั่นเป็นการให้โอกาสเด็กได้สร้างทักษะ และความฟิตในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ลูกของคุณมีโอกาสได้ลองจับลูกบอล หรือยิงประตู และเป็นไปได้สูงที่เด็กจะจับบอลไม่ได้ หรือหยุดลูกฟุตบอลไม่อยู่ แต่นั่นช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และจะไม่รู้สึกประหม่าในเกมการแข่งขันท่ามกลางเพื่อนร่วมทีม และนั่นยังช่วยให้คุณใช้เวลาร่วมกันกับลูกของคุณอย่างมีคุณภาพ

โค้ชหรือกลุ่มเน้นการแข่งขันเกินไป

เด็กที่เล่นกีฬาโดยไม่เต็มใจ หรือต้องฝืนใจ เด็กเหล่านี้จะรู้สึกเครียดและกดดันมากขึ้น เมื่อถูกโค้ชตะโกนสั่ง หรือลงแข่งขันในเกมที่ต้องการแต่ชัยชนะเท่านั้น

พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างนะ: ศึกษาโปรแกรมกีฬาก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กๆ ลงเล่น พูดคุยกับโค้ชหรือผู้ปกครองท่านอื่นๆ เพื่อเรียนรู้ทัศนคติของพวกเขา และมีอีกหลายๆ องค์กรกีฬาที่มีโปรแกรมการแข่งขันที่ไม่เน้นผลการแข่งขัน ในบางการแข่งขันไม่มีแม้กระทั่งผลคะแนน และการนับคะแนน เมื่อเด็กๆ โตขึ้น พวกเขาจะรับมือกับลักษณะการแข่งขันแบบต่างๆได้ เด็กบางคนอาจมีแรงจูงใจจากการเล่นแบบแข่งขันจริงจัง แต่เด็กส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมรับความเครียด หรือความกดดันจากการกีฬา จนกว่าพวกเขาจะอายุประมาณ 11-12 ปี

ความประหม่า

เด็กที่ไม่ใช่นักกีฬาโดยธรรมชาติ หรือเด็กขี้อายจะรู้สึกอึดอัดกับความกดดันในทีม เด็กจะกังวลว่าจะทำให้พ่อแม่ โค้ช หรือเพื่อนร่วมทีมผิดหวัง โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดเล่นกีฬาและต้องอยู่ในการแข่งขันที่เน้นผลแพ้ชนะ
พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างนะ: มองความเป็นจริงว่าเด็กส่วนใหญ่จะไม่มีทางเป็นฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิคได้ ให้ลูกคุณรู้ว่า เป้าหมายของการเล่นกีฬาคือสุขภาพ และความสนุกสนาน ถ้าโค้ชหรือกลุ่มไม่เห็นด้วย คุณก็เตรียมหาอย่างอื่นให้ลูกคุณทำได้เลย

ยังหากีฬาที่ใช่ไม่เจอ

เด็กบางคนยังหากีฬาที่ใช่ไม่เจอ อาจจะเป็นเพราะเด็กบางคนไม่ได้มีทักษะในการเล่นกีฬาบางประเภท การเล่นกีฬาประเภทเดี่ยว ก็อาจจะเหมาะสำหรับเด็กๆ ที่ชอบจะเล่นคนเดียวก็ได้

พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างนะ: เปิดใจให้เด็กๆ เล่นกีฬาหรือกิจกรรมชนิดอื่นที่เขาสนใจ อาจจะยากสักหน่อย แต่จะช่วยให้ลูกของคุณได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ชอบหรือรักจริงๆได้

อุปสรรคอื่นๆ

เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในการเจริญเติบโต ทั้งในเรื่องส่วนสูง น้ำหนัก และความสามารถทางกีฬาในกลุ่มเด็กวัยเดียวกัน บางทีเด็กก็จะหวาดกลัวในเรื่องการบาดเจ็บ ส่วนเด็กที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักไม่ว่าจะน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักน้อยมากก็จะรู้สึกประหม่าและอึดอัดเมื่อต้องแข่งขันกับเด็กที่มีรูปร่างและทักษะที่ดี

พ่อแม่ทำอะไรได้บ้างนะ: พ่อแม่ต้องดูเรื่องความแข็งแกร่ง ความสามารถ และอารมณ์ของเด็กๆ เป็นหลัก และหากิจกรรมที่เหมาะกับเขามากที่สุด เด็กบางคนกลัวลูกบอล กลัวการปะทะ ดังนั้นฟุตบอล บาสเกตบอล หรือวอลเล่ย์บอลอาจจะไม่เหมาะกับเขา และถ้าลูกของคุณอ้วนหรือน้ำหนักเยอะเขาอาจจะวิ่งได้ไม่ดี แต่เขาก็อาจจะว่ายน้ำได้ดี พยายามพูดคุยให้รู้ว่าลูกของคุณสนใจสิ่งใด โดยพยายามทำความเข้าใจ และหากิจกรรมกีฬาอื่นๆให้ลูกคุณได้เล่นบ้าง แค่นี้ คุณก็เลี้ยงดูลูกคุณให้ประสบความสำเร็จในกีฬา หรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่ลูกของคุณเป็นคนเลือกเอง

ฟิตได้โดยไม่ต้องเล่นเป็นทีม

แม้แต่เด็กที่เคยบอกว่าเกลียดกีฬา แต่ถ้าได้รับการพัฒนาทักษะหรือเมื่อเขาหากีฬาที่ใช่เจอ เด็กๆ ก็อาจจะกลับมาชื่นชอบกีฬาก็ได้ แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่สนุกกับการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเป็นชั่วโมงๆ คนเดียว

ฟรีเพลย์ (Free Play) เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กๆที่ไม่ค่อยชอบเล่นกีฬาเป็นทีม ฟรีเพลย์ คือ กิจกรรมที่เด็กๆสามารถเล่นคนเดียวได้ เช่น สเก็ตบอร์ด จักรยาน ว่ายน้ำ เต้น โยคะฯลฯ
สนับสนุนสิ่งที่ลูกคุณเลือก

แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ยากในการหากิจกรรมที่ใช่สำหรับลูกของคุณ สิ่งสำคัญคุณต้องเปิดใจให้กว้าง และมีความอดทน เมื่อลูกของคุณเป็นคนเลือกยากและเบื่อเร็ว บางทีก็ต้องลองผิดลองถูกหลายๆ ครั้งจนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่ เชื่อว่าถ้าเจอแล้วและลูกคุณชอบ คุณจะรู้ว่าเวลา เงินทอง และแรงกายแรงใจทั้งหมดที่ได้ลงทุนไปนั้นคุ้มค่ายิ่ง สำหรับเด็กๆ นี่จะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะ บุคลิกภาพและพฤติกรรมซึ่งจะติดตัวลูกคุณตลอดไป

ล้อมกรอบ

เริ่มต้นอย่างชาญฉลาด

ก่อนเริ่มต้นการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ควรพาเจ้าตัวเล็กไปทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกับคุณหมอก่อน ทั้งเรื่องการมองเห็นและการได้ยินว่ามีความผิดปรกติหรือเปล่า และอย่าลืมเตรียมอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อเขาเช่น เครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์ ซึ่งช่วยให้พลังงานอย่างต่อเนื่องสำหรับการทำกิจกรรมที่ยาวนาน เพื่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง สมวัยและพร้อมเรียนรู้กับทุกกิจกรรม