Sort by
Sort by

ต้นเหตุโรคไคโรแพรคติคในเด็ก

ต้นเหตุโรคไคโรแพรคติคในเด็ก
โรคไคโรแพรคติกในเด็กคืออะไร อันตรายแค่ไหน และควรระวังอย่างไร คำถามเหล่านี้พ่อแม่คงกังวลและกำลังค้นหาคำตอบ เพราะโรคไคโรแพรคติกกำลังกลายเป็นโรคซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ที่ควรระวัง ซึ่งนี่คือส่วนหนึ่งของอาการไคโรแพรคติกที่น่าจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับทุกครอบครัว

โรคไคโรแพรคติกในเด็กจะมีอาการดังนี้
  • มีความผิดปกติหรือความพิการของกะโหลกศีรษะ สังเกตจากกะโหลกศีรษะแบนด้านหลัง หรือด้านข้างในช่วงอายุสองปีแรกของชีวิต
  • มีปัญหาถูกรบกวนขณะนอนหลับ 
  • อาการเสียดท้อง 
  • การพัฒนากล้ามเนื้อมีน้อย ทำให้ระบบทำงานของเส้นประสาทบกพร่อง 
  • มีอาการโรคภูมิแพ้
  • เป็นโรคต่างๆ ที่ติดเชื้อจากไวรัสและมักไม่หายขาด เช่น การติดเชื้อในหู 
  • การ พัฒนาของระบบประสาทล่าช้า รวมถึงทักษะการเข้าสังคม เช่น ไม่สามารถเข้าร่วมสังคม เล่น หรือร่วมกิจกรรมกับคนอื่นได้ ไม่สามารถควบคุมตนเอง ขาดสมาธิ เรียนล้าหลัง ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ 
  • ความผิดปกติในการเรียนรู้ที่โรงเรียน ความผิดปกติในการอ่าน และสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมบางอย่างเพราะความบกพร่องของสมอง
  • ปวดศีรษะ 
  • มีอาการชัก และเป็นลมบ้าหมู 
  • ยังปัสสาวะรดที่นอนแม้จะอายุเกิน 5 ขวบไปแล้วก็ตาม 
  • เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มีอาการทางออทิสติก และสับสนทางพฤติกรรม
ความพิการหรือลักษณะศีรษะที่ผิดปกติของเด็กเป็นปัญหาที่พบบ่อยในช่วงสองขวบแรก โดยมักมาจากท่านอนของเด็ก โดยท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันขณะเด็ก นอนหลับ หรือ SIDS หรือ Cot Death “เปลมรณะ” ได้ เพราะถ้าเด็กนอนคว่ำ ศีรษะจะถูกกดทับและแบนอยู่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้มีผลต่อการบิดของไขสันหลัง แต่ถ้าตรวจพบความปกติแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่คือ การดูแลใส่ใจลูกอย่างใกล้ชิด และหมั่นสังเกตความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก และปรึกษาแพทย์ทางกุมารเวชศาสตร์โดยตรง เพราะการรักษาโรคต่างๆ ในเด็กนั้น จะต้องคิดเสมอว่า “เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่มีรูปร่างเล็ก จึงไม่สามารถใช้วิธีการปฏิบัติและรักษาด้วยวิธีเดียวกันได้”