Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.
Sort by
Sort by

ธาตุเหล็ก สารอาหารเล็กๆ ที่เด็กขาดไม่ได้

ธาตุเหล็ก สารอาหารเล็กๆ ที่เด็กขาดไม่ได้

ธาตุเหล็กคืออะไร

“ธาตุเหล็ก (Iron)” เป็นแร่ธาตุตัวหนึ่งที่ทุกคนต้องเคยรู้จักกันอย่างแน่นอน แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ถึงความสำคัญของ “ธาตุเหล็ก” ต่อร่างกายในแต่ละช่วงวัย ร่างกายนำธาตุเหล็กมาใช้ในการสร้าง “ฮีโมโกลบิน” เพื่อเป็นส่วนประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท สมอง และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ทุกคนคงได้รู้หน้าที่หลักของธาตุเหล็กกันไปแล้ว แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าเกิดเราขาดแร่ธาตุ ตัวนี้
อาหารธาตุเหล็กสูง
การขาดธาตุเหล็ก เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเกิดภาวะ “ภาวะโลหิตจาง (Anemia)” โดยสามารถพบได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี และในช่วงวัยรุ่นของเพศหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน การขาดธาตุเหล็กนั้นไม่ได้มีผลต่อภาวะโลหิตจางแต่เพียงเท่านั้น เพราะการที่เด็กขาดธาตุเหล็กส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ หากได้รับการรักษาช้าอาจจะไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้ แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้เด็กขาดธาตุเหล็ก ลองมาหาคำตอบกัน

สาเหตุที่ทำให้เด็กขาดธาตุเหล็ก

1. การได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ เป็นปัญหานี้ที่พบมากใน
-เด็กเล็กช่วงอายุ 6 เดือน – 2 ปีแรก ที่ดื่มแต่นมแม่เพียงอย่างเดียว หรือดื่มนมผสมที่ไม่มีการเสริมธาตุเหล็ก รวมไปถึงเด็กที่ได้รับอาหารเสริมช้า ในกลุ่มเด็กเล็กแม้จะมีความจุกระเพาะที่น้อยแต่เป็นกลุ่มที่ต้องการอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก
-สำหรับเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป อาจจะได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจากการเลือกกินอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การเลือกอาหารซ้ำ ๆ การไม่กินเนื้อสัตว์ หรือการไม่กินไข่ เป็นต้น

2. ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กที่เพิ่มขึ้น เมื่อเด็กมีการเจริญเติบโตทำให้ร่างกายมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ “ธาตุเหล็ก” ที่มากขึ้น ดังนี้
อายุ ปริมาณแนะนำที่ร่างกายควรได้รับ (มิลลิกรัมต่อวัน)
0 – 5 เดือน
6 – 11 เดือน
น้ำนมแม่
9.0
1 – 3 ปี
4 – 5 ปี
6 – 8 ปี
5.0
6.0
6.6
ชาย
9 – 12 ปี
13 – 15 ปี
16 – 18 ปี
11.5
15.0
11.0
หญิง 9 – 12 ปี
(หญิงมีประจำเดือน)
9 – 12 ปี
13 – 15 ปี
16 – 18 ปี
12.5
15.6
16.0
16.0
หญิงตั้งครรภ์
หญิงให้นมบุตร
0 – 5 เดือน
6 – 12 เดือน
จำเป็นต้องได้รับเสริมทุกวัน วันละ 60 มิลลิกรัม
13.0
20.0

อ้างอิงจาก ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 (Dietary Reference Intake for Thais 2020)

จากตารางเห็นได้ว่าวัยเด็กจะมีความต้องการธาตุเหล็กที่สูง และค่อย ๆ ลดต่ำลง และกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีประจำเดือนแล้วนั่นเอง และถ้าหากเด็กช่วงวัยรุ่นได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย

ความต้องการธาตุเหล็ก

วิธีป้องกันภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็ก


-เลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ไก่ เนื้อปลา อาหารทะเล และผักใบเขียวเข้มชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
-ให้อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง สำหรับเด็กเล็ก (เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป) คุณแม่ควรพิถีพิถันกับการเลือกให้อาหารเสริมตามวัยที่มีโภชนาการครบถ้วน เพราะเมื่อคุณแม่ให้นมกับลูกน้อยไปเรื่อย ๆ ปริมาณสารอาหารในน้ำนมของคุณแม่อาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงควรได้รับอาหารเสริมเพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ
-เคล็ดลับในการเลือกซื้ออาหารเสริมสำหรับเด็กสามารถอ่านฉลากโภชนาการ โดยมองหาคำว่า “ธาตุเหล็กสูง” โดยผลิตภัณฑ์ที่มีธาตุเหล็กสูง จะต้องมีธาตุเหล็กอยู่ มากกว่า 20% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

ตัวอย่างเมนูอาหารใน 1 วัน ป้องกันเด็กขาดธาตุเหล็ก
สำหรับเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ควรได้รับอาหารเสริม 1 มื้อต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนมแม่
-ข้าว 4 ช้อนโต๊ะ (0.3 มิลลิกรัม)
-ไข่ไก่ 1 ฟอง (0.8 มิลลิกรัม) เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ (0.6 มิลลิกรัม) หรือเนื้อปลาช่อน 2 ช้อนโต๊ะ (1.8 มิลลิกรัม)
-ผักสุก 1.5 ช้อนโต๊ะ เช่น แคร์รอต (0.25 มิลลิกรัม) กะหล่ำปลี (เล็กน้อย) เป็นต้น
-มะละกอสุก (0.3 มิลลิกรัม)
โดยนับรวมธาตุเหล็กที่ได้จากอาหารเสริมตามวัย 1 มื้อ ประมาณ 2.6 – 3.8 มิลลิกรัม และเมื่อรวมกับธาตุเหล็กที่ได้รับจากการดื่มนมแม่ก็จะได้รับธาตุเหล็กเพียงพอกับปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

เติบโตอย่างฉลาด ต้องห้ามขาดธาตุเหล็ก

จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นว่า “ธาตุเหล็ก” เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตทางระบบประสาทและสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก จากการศึกษาพบว่าเด็กที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะมี IQ ที่ต่ำกว่าเด็กที่ได้รับการรักษาภาวะโลหิตจางแล้ว ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการเช่นกัน เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการเจริญเติบโตในครรภ์อย่างเต็มที่ และมีธาตุเหล็กสะสมไว้เพียงพอสำหรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ หลังคลอดอีกด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ควรใส่ใจและให้ความสำคัญเพื่อให้ลูกหลานได้รับธาตุเหล็กเพียงพอกับความต้องการในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้เด็กเติบโตแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี และป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง

ธาตุเหล็ก
 

เมื่อรู้แบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรที่มีลูกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรเลือกสรรอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามโภชนาการ เพียงพอกับปริมาณแนะนำที่ร่างกายเด็กควรได้รับต่อวัน โดยสามารถเข้าไปดูหลากหลายเมนูสร้างสรรค์และสูตรอาหารเด็กจากวัตถุดิบที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับ เลือด ไข่แดง และผักใบเขียวอย่างตำลึง ผักโขม ได้ที่ เมนูเพื่อเด็กสุขภาพดีเพิ่มเติม คลิก รวมไปถึงการเลือกอาหารเสริมธัญพืชที่มีการเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งปริมาณ 1 ถ้วย ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 88% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :

You may also like