Sort by
Sort by

ลูกควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ถึงจะดีต่อสุขภาพเด็ก

ลูกควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ถึงดีต่อสุขภาพเด็ก

อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทราบกันอยู่แล้วว่า ‘น้ำ’ เป็นสารอาหารหลักตัว 1 ใน 6 ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เพราะน้ำมีหน้าที่สำคุญหลายอย่างต่อร่างการ อาทิ เป็นตัวช่วยนำสารอาหารไปสู่เซลล์ ช่วยขับถ่ายของเสีย ช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกาย และยังเป็นส่วนประกอบในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมเราจึงต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และในระหว่างวันเรายังมีการสูญเสียน้ำไม่ว่าจากการขับถ่ายหรือทางเหงื่อจากการปรับอุณหภูมิของร่างกายโดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีการทำกิจกรรม และเสียเหงื่อระหว่างวัน จึงสำคัญอย่างยิ่งที่เด็ก ๆ ควรหมั่นดื่มน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวันให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ ป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ

หมั่นดื่มน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวันให้เพียงพอ


ประโยชน์ของการดื่มน้ำที่จะช่วยเสริมสร้างร่างกายลูกน้อยให้ทำงานได้เต็มที่

ก่อนที่จะไปดูว่าเด็ก ๆ ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร มาดูว่าทำไมเพียงแค่การดื่มน้ำให้เพียงพอ ถึงช่วยเด็ก ๆ มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ นั่นเพราะน้ำช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบไหลเวียนเลือดจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย

  • ช่วยส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร น้ำจะช่วยไปคลุกเคล้ากับอาหารช่วยลำเลียงขนส่งอาหารไปที่กระเพาะ และเป็นส่วนประกอบในการย่อยอาหาร
  • ช่วยส่งเสริมระบบการขับถ่าย น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด โดยเลือดจะเข้าไปฟอกของเสียที่ไต และจะขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ และเหงื่อ และยังช่วยเสริมการทำงานในลำไส้ใหญ่ให้ของเสียเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น การดื่มน้ำน้อยจึงอาจทำให้เด็ก ๆ ท้องผูกได้
  • ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เมื่อร่างกายเจอสภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน เช่น อยู่ในสภาพอากาศที่แดดร้นจัด เล่นกีฬา น้ำจะเป็นตัวที่ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดื่มน้ำ

ลูกควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ?

พ่อแม่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องให้เด็กดื่มน้ำวันละกี่ลิตรถึงจะพอดี? ความต้องการปริมาณน้ำดื่มเพื่อทดแทนน้ำส่วนที่เสียไปของเด็กในแต่ละวัน จะมากน้อยต่างกันตามปัจจัยต่าง ๆ ทั้งอายุ เพศ สภาพอากาศ หรือถ้าทำกิจกรรมที่ต้องสูญเสียเหงื่อก็จำเป็นต้องดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในอาการขาดน้ำ ที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว อ่อนเพลีย จนทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเขาลดลงได้ โดยความต้องการน้ำของเด็ก ๆ จากข้อมูลของ World Health Organization (WHO) แบ่งตามช่วงวัยและเพศได้ดังนี้

ช่วงอายุปริมาณน้ำต่อวันแก้ว (250 มิลลิลิตร) ต่อวัน
ช่วงอายุ ปริมาณน้ำต่อวัน แก้ว (250 มิลลิลิตร) ต่อวัน
1 – 3 ปี 1.3 ลิตร 5
3 – 8 ปี 1.7 ลิตร 6 – 7
9 – 13 ปี หญิง 2.1 ลิตร 8
9 – 13 ปี ชาย 2.4 ลิตร 9
14 – 18 ปี หญิง 2.3 ลิตร 9
14 – 18 ปี ชาย 3.3 ลิตร 13

อ้างอิง : Grandjean, A.C. (2004) Water Requirements, Impinging Factors, and Recommended Intakes. World Health Organization

โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่จะทราบดีว่าต้องให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำให้ครบวันละ 8 แก้ว นั่นมาจากเด็กวัยเรียนหรือผู้ใหญ่ต้องการน้ำจากอาหาร เครื่องดื่ม และน้ำเปล่า 2.5 ลิตรต่อวัน ซึ่งเด็ก ๆ จะได้รับน้ำจากอาหารระหว่างวันประมาณ 1 ลิตร และต้องน้ำดื่มสะอาด เพิ่มอีก 1.5 ลิตร นั่นจึงเป็นที่มาของคำแนะนำที่ให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว

เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าเด็ก ๆ มีความต้องการดื่มน้ำวันละกี่ลิตร มากน้อยเพียงใดแล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกน้ำดื่มสะอาด ที่ไม่มีสี บรรจุอยู่ในภาชนะสะอาด และปิดสนิท เมื่อดื่มแล้วไม่มีกลิ่น หรือรสชาติเตรียมให้เขาดื่มตลอดวัน โดยอาจคำนวณง่าย ๆ ว่าเด็ก ๆ ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว หรือดื่มน้ำเปล่าขวดใหญ่ขนาด 1.5 ลิตร (1,500 มิลลิลิตร) ให้ได้วันละ 1 ขวดขึ้นไปนั่นเอง

เช็ก 7 สัญญาณเตือนว่าลูกกำลังมีอาการร่างกายขาดน้ำ

เด็กวัยกำลังซนที่มักเคลื่อนไหวร่างกายมาก ชอบออกไปวิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งกับกลุ่มเพื่อน ยิ่งในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยส่งผลให้อัตราการเสียน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็กอาจยังไม่รู้จักความรู้สึก ‘กระหายน้ำ’ หรือไม่สามารถสื่อสารว่าร่างกายต้องการน้ำได้อย่างชัดเจน จึงเสี่ยงต่อการอาการขาดน้ำแบบไม่รู้ตัวได้ง่าย ดังนั้นจึงขอชวนคุณพ่อคุณแม่หมั่นถามความรู้สึกของเขา และต้องรู้จักวิธีสังเกตร่างกายของเด็ก ๆ เพราะนั่นอาจบ่งบอกว่าเขาดื่มน้ำไม่เพียงพอ เราจึงนำเช็กลิสต์เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่นำไปสังเกตเด็ก ๆ ว่ากำลังแสดงออกว่าร่างกายขาดน้ำอยู่หรือไม่?

  1. ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน และขาดความชุ่มชื้น
  2. ริมฝีปากแห้ง แตก
  3. ปัสสาวะน้อยลง มีสีเหลืองเข้ม
  4. ท้องผูก หรืออุจจาระมีลักษณะแข็ง
  5. เด็ก ๆ มีอาการหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
  6. รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
  7. ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ เนื่องจากความร้อนที่มากเกินไป
กลุ่มเด็ก


ในวันที่อากาศร้อนควรให้เด็ก ๆ อยู่ในบ้าน อาคาร หรือที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ในกรณีที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศแนะนำให้เปิดประตู หน้าต่าง ระบายความร้อน เปิดพัดลมแบบส่ายไปมา ไม่ให้ลมโดนตัวเขาโดยตรงป้องกันความร้อนจากลมปะทะร่างกายมากขึ้น หากต้องออกนอกบ้านควรสวมหมวก สวมเสื้อผ้ามีสีอ่อน หลวม ๆ ช่วยระบายความร้อนได้ดี อาจกางร่มช่วยป้องกันแดด เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำโดยคุณพ่อคุณแม่สามารถดู เคล็ดลับสร้างสุขภาพดีให้ลูกด้วยการดื่มน้ำ คลิก รวมถึงการเตรียมน้ำให้เขาสามารถดื่มได้ทุกเมื่อจะช่วยปรับสมดุลน้ำ คืนความชุ่มชื้นให้ร่างกาย และการดื่มน้ำเปล่าตอนเช้าหลังตื่นนอนจะช่วยกระตุ้นให้สมองของเด็กทำงานได้ดีขึ้น เพราะสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 2 ใน 3 ส่วน จึงช่วยทำให้สมองปลอดโปร่งพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งวัน
คุณพ่อคุณแม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี Nestlé for Healthier Kids คลิก โครงการที่มีมุ่งมั่นให้คนรุ่นใหม่ได้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่อร่อยและอุดมคุณประโยชน์ มีจุดมุ่งหมายเพิ่มพูนวิถีชีวิตให้เด็กกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 และยังมีแผนทำโครงการอื่นเพื่อสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืน และดีต่อสุขภาพต่อไป

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :