Sort by
Sort by

เช็กลิสต์คนติดหวาน แจก 4 วิธี ลดน้ำตาลง่ายๆ

เช็กลิสต์คนติดหวาน แจก 4 วิธี ลดน้ำตาลง่ายๆ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อการบริโภค คือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวัน (ประมาณ 24 กรัม) หรือไม่เกิน 5% ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน แต่จากข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กลับพบว่าคนไทยกินน้ำตาลเฉลี่ยสูงถึง 20 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งเกินกว่าปริมาณควรบริโภคต่อวันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

การกินอาหารที่มีรสชาติหวานหรือน้ำตาลมากเกินไป ทำให้ได้รับพลังงานมากกว่าความต้องการ จนร่างกายไม่สามารถเผาผลาญพลังงานหรือนำไปใช้ไม่หมด กลายเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ตามหน้าท้อง ต้นขา สะโพก ฯลฯแถมยังเป็นสาเหตุให้ร่างกายหลั่งสารอินซูลินออกมามากเกินจำเป็น ส่งผลต่อการผลิตอินซูลินได้ปริมาณน้อยลงและด้วยคุณภาพลงในอนาคต นำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน โดยสถิติที่น่าตกใจจากกรมโรคไม่ติดต่อระบุว่าคนไทยเป็นโรคเบาหวานมากกว่า 9 แสนรายต่อปีเลยทีเดียว วันนี้เราจึงขอชวนทุกคนลองหันมาเช็กว่ากำลังมีพฤติกรรม ‘ติดหวาน’ มากน้อยแค่ไหนด้วย Checklist นี้กัน

Checklist พฤติกรรม ‘ติดหวาน’

Checklist พฤติกรรม ‘ติดหวาน’

จาก 10 ข้อนี้ ถ้าหากใครมีพฤติกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดไม่เกิน 1 – 4 ข้อ จัดว่ายังไม่น่าเป็นห่วง อาจมีพฤติกรรมติดหวานบ้าง สามารถปรับให้ดีต่อสุขภาพให้ดีขึ้นได้ไม่ยาก แต่ถ้าใครที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป ก็จัดว่าคุณมีพฤติกรรมการกินติดรสชาติหวานแล้ว และต้องรีบเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเองโดยด่วน เพื่อปรับร่างกาย ลดหวาน ลดความเสี่ยงโรคต่างๆ ด้วย 4 วิธีลดหวานง่าย ๆ ดังนี้

4 วิธี ลดน้ำตาล ปรับพฤติกรรม ‘อ่อนหวาน’

1. ปรับลิ้นชินรสธรรมชาติ

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าน้ำตาลจัดเป็นอาหารพลังงานว่างเปล่า คือให้เพียงพลังงานแต่ไม่มีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ เลย ซึ่งวิธีลดหวานที่ดีที่สุดก็คือไม่เติมน้ำตาลในอาหารนั่นเอง เพราะโดยทั่วไปแล้วในอาหารที่กินในแต่ละมื้อมีปริมาณน้ำตาลที่ให้รสชาติหวานอ่อน ๆ จากธรรมชาติที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว หากทำอาหารกินเองสามารถจำกัดการปรุงรสเพียงเล็กน้อยเพื่อชูรสชาติจากธรรมชาติให้ดีขึ้น ฝึกให้ลิ้นสัมผัสและคุ้นเคยกับรสธรรมชาติที่แท้จริงของอาหาร อาจต้องใช้เวลาให้ลิ้นชินกับระดับความหวานที่ลดลง ประมาณ 1 – 2 เดือน จะสามารถลิ้มรสหวานตามธรรมชาติของวัตถุดิบนั้นได้ดีขึ้น รวมไปถึงควรเพิ่มการกินอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่หวานน้อย เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น เพราะใยอาหารช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ท้อง ลดความอยากกินของหวานลงได้

ลดหวาน ปรับนิสัยชิมก่อนปรุง

2. ปรับนิสัยชิมก่อนปรุง

ใครที่ยังติดการปรุงอาหารเป็นนิสัยตักน้ำตาลใส่อาหารทั้งที่ยังไม่ได้ชิมรสชาติ เช่น เติมน้ำตาลในชามก๋วยเตี๋ยว ราดน้ำผึ้งหรือไซรับบนเค้กหรือแพนเค้ก ฯลฯ วิธีลดหวาน คือต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นชิมก่อนปรุง ค่อย ๆ ลดปริมาณการเติมน้ำตาลทราย โดยคิดเสมอว่ากว่าที่อาหารจะมาเสิร์ฟอยู่ตรงหน้าเรา ก็ผ่านกระบวนการหมัก/เติมเครื่องปรุงและน้ำตาลมาจนมีรสอร่อยอยู่แล้ว จึงสามารถกินโดยไม่ต้องปรุงเพิ่มได้ หรือหากกินอาหารที่มักเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มหรือซอส เช่น ลูกชิ้น ของทอด สุกี้ ฯลฯ ให้ลดการราดน้ำจิ้มลงไปในอาหาร โดยเปลี่ยนมาเป็นจิ้มแต่น้อยในถ้วยแยกแทน เพื่อลดปริมาณน้ำตาลที่จะได้รับลง

3. บอกเลิกกับน้ำหวาน น้ำอัดลม

จากเดิมที่คุ้นเคยการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน ชานมไข่มุก ชาเขียวที่มีน้ำตาล นมเปรี้ยว หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทุกมื้ออาหาร ให้เปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าจะดีต่อสุขภาพที่สุด เพราะเครื่องดื่มบางเมนูเพียง 1 แก้ว ให้พลังงานสูงเทียบเท่ากับการกินข้าว 1 จาน ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันส่วนเกินที่สะสมตามร่างกายนั่นเอง โดยอาจจะค่อย ๆ ลดหวาน ลดปริมาณการดื่มน้ำหวานลง และสั่ง ‘หวานน้อย’ ให้ติดเป็นนิสัย หากเริ่มชินกับรสชาติที่อ่อนลงแล้ว สามารถสั่งว่า ‘ไม่ใส่น้ำตาลหรือไซรัป’ เพื่อลดปริมาณพลังงานที่จะได้รับจากน้ำตาลลง รวมถึงควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 1.5 ลิตร หรือประมาณ 8 แก้วต่อวัน เพราะหากปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ จะยิ่งทำให้ร่างกายรู้สึกหิวและเพิ่มความอยากอาหารเพิ่มขึ้น จนอาจเผลอตามใจตัวเอง กินขนมหรือของหวานตามอารมณ์จนเกินพอดี

บอกเลิกกับน้ำหวาน น้ำอัดลม
เลือกบริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ เนสท์เล่

4. เลือกบริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ

พยายามลดการซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานติดตู้เย็น เพื่อบังคับตัวเองไม่ให้ตามใจปากตลอดเวลา แต่ถ้ายังหากรู้สึกอยากกินจุบจิบหรืออยากกินของหวานอยู่ ให้ลองอ่านฉลากโภชนาการเพื่อเทียบปริมาณน้ำตาลก่อนที่จะเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ก่อนจะซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งช่วยบอกข้อมูลสารอาหารที่จะได้รับ ช่วยให้เราสามารถคำนวณปริมาณสารอาหารต่อวันของตัวเองไม่ให้ได้รับเกินความจำเป็นได้ปัจจุบันนี้เรายังสามารถเลือกสูตรอาหารและเครื่องดื่มที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การลดหวานน้อยลงจากสูตรเดิม หรือสูตรน้ำตาลทราย 0% ฯลฯ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthy Choice Logo) ที่ปรากฏบนซองหรือบรรจุภัณฑ์สินค้า

บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีน้ำตาล โซเดียม และไขมัน (หวาน มัน เค็ม) ในปริมาณที่เหมาะสม ถือเป็นอีกวิธีลดน้ำตาล ที่ทำได้ง่าย ๆ โดยผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ผ่านการรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพมากที่สุดในประเทศไทยถึง 64 รายการ ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีโภชนาการที่ดี ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

แม้ของหวานจะทำให้ทุกคนรู้สึกดีและมีความสุขระหว่างการกิน แต่หากกินมากเกินไปก็เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพและโรคภัยที่จะถามหาได้ ฉะนั้นการเริ่มกินรสชาติหวานแต่พอดี ลดหวาน เลี่ยงน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัว รักษาหุ่นให้กระชับไร้พุง และผิวพรรณสดใสไม่เหี่ยวย่นแล้ว ยังช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในอนาคตได้อีกด้วย

#เนสท์เล่คนไทยแข็งแรง

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :

You may also like