Sort by
Sort by

ชวนเช็กอายุร่างกาย พร้อมเคล็ดลับย้อนวัยอายุร่างกายให้สุขภาพดีด้วย 3อ. ที่เหมาะกับคุณ

ชวนเช็กอายุร่างกาย พร้อมเคล็ดลับย้อนวัยอายุร่างกายให้สุขภาพดีด้วย 3อ. ที่เหมาะกับคุณ

รู้ไหมว่า? จริง ๆ แล้วทุกคนมีตัวเลข ‘อายุร่างกาย’ ที่อาจไม่เท่ากับ ‘อายุจริง’ ลองสังเกตได้ง่าย ๆ เวลาที่เราไปเจอกลุ่มเพื่อนอายุเท่า ๆ กัน แล้วอาจรู้สึกว่าทำไมบางคนดูมีสุขภาพแข็งแรง สดใสกว่าคนอื่น ๆ แต่บางคนกลับดูไม่สดใส แก่กว่าวัย หรือมีสัญญาณทางร่างกายที่บ่งบอกว่าสุขภาพเริ่มทรุดโทรม วันนี้เราเลยขอชวนทุกคนมาเช็กอายุร่างกายเพื่อการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น แข็งแรงกว่าอายุจริง!

ทำความรู้จักอายุร่างกาย (Body Age)

อายุร่างกาย (Body Age) คือ ตัวเลขที่บอกอายุสุขภาพหรือสภาวะการทำงานของร่างกาย ว่ามีความแก่หรือความเสื่อมของเซลล์ในระบบการทำงานของร่างกายมากน้อยแค่ไหน? ซึ่งถ้าตรวจวัดอายุร่างกายแล้ว พบว่า

  • อายุร่างกายน้อยกว่าหรือเท่ากับอายุจริง แสดงว่าร่างกายของคุณสามารถเผาผลาญพลังงานและการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ผลลัพธ์ออกมาบ่งบอกว่าคุณมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงตามอายุหรืออ่อนกว่าวัย
  • อายุร่างกายมากกว่าอายุจริง แสดงว่าร่างกายของคุณเกิดความเสื่อมสภาพก่อนวัย ระบบเผาผลาญของร่างกายและการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ เสื่อมสภาพหรือแก่เกินวัย ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น การกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีพฤติกรรมเร่งแก่ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า มีภาวะเครียด นอนดึก ฯลฯ ซึ่งควรรีบหันมาดูแลสุขภาพตัวเองอย่างจริงจัง แต่ถ้ายังปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรมเป็นเวลานาน จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตได้ เช่น โรคกลุ่ม NCDS โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ มะเร็ง เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีอายุร่างกายเท่าไร?


ดังนั้น เมื่อคุณรู้อายุร่างกายของตัวเองแล้ว จะช่วยให้สามารถประเมินสภาวะการทำงานของร่างกายเบื้องต้นได้ รู้ว่าร่างกายส่งสัญญาณออกมาว่าต้องการการดูแลอย่างไร? และสะท้อนว่าคุณดูแลสุขภาพร่างกายได้ดีแค่ไหน? รวมถึงยังสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีอายุร่างกายเท่าไร?

สำหรับการตรวจวัดอายุร่างกายใช้ปัจจัยหลัก ๆ 2 ปัจจัยในการประเมินผล ได้แก่ องค์ประกอบของร่างกาย เช่น อัตราการเผาผลาญของร่างกาย น้ำหนักตัว ไขมันในร่างกาย และมวลกล้ามเนื้อ ฯลฯ และปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การกินอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ฯลฯ ซึ่งสามารถตรวจวัดอายุร่างกายด้วยวิธีและเทคโนโลยีทางการแพทย์ นอกจากนั้นยังสามารถมีวิธีตรวจวัดอายุร่างกายเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 2 แบบ คือ

1. การตรวจวัดโดยเครื่องมือ โดยเครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย หรือ Body Composition Analyzer ที่สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายได้ทั้งในส่วนของมวลกระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน และปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมไปถึงสามารถประเมินอายุร่างกาย ผ่านการวัดค่าการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่นิ่ง ๆ โดยจะคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและมวลกล้ามเนื้อ

2. การตรวจวัดจากแบบสอบถามด้านสุขภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น เช่น พฤติกรรมด้านอาหารการกิน การออกกำลังกาย และอารมณ์ รวมถึงน้ำหนักตัวที่ใช้คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประเมิน แล้วคำนวณเป็นอายุร่างกาย ซึ่งการวัดรูปแบบนี้ถือเป็นวิธีที่สะดวกและสามารถช่วยประเมินอายุร่างกายเบื้องต้นได้ง่าย ๆ

ถ้าใครอยากรู้แล้วว่าตัวเองมีอายุร่างกายเท่าไร? หรือร่างกายคุณแก่ก่อนวัยหรือเปล่านะ? เนสท์เล่ขอชวนมาเช็กอายุร่างกายแบบออนไลน์ง่าย ๆ ผ่าน แบบทดสอบออนไลน์ เช็กอายุร่างกาย ย้อนวัยสุขภาพกับเนสท์เล่ คลิก พร้อมรับเทคนิคการดูแลสุขภาพและคำปรึกษาด้านโภชนาการ รวมทั้งการแนะนำเซตผลิตภัณฑ์อาหารจากเนสท์เล่ที่ตอบโจทย์เฉพาะบุคคล ซึ่งถือเป็นตัวช่วยเสริมสุขภาพแข็งแรง เหมาะสมกับไลฟ์ไตล์แต่ละแบบ ให้คุณสามารถย้อนวัยอายุร่างกายให้แข็งแรง สุขใจง่าย ๆ

Check body age


ย้อนวัยอายุร่างกาย ให้แข็งแรงสุขใจง่าย ๆ ด้วย 3อ.

ถึงแม้ผลลัพธ์ตัวเลขอายุร่างกายของคุณจะมากน้อยแค่ไหน? ก็สามารถดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อย้อนวัยให้อายุร่างกายลดลงได้ แบบฉบับ 3อ. ได้แก่ อ.อาหารที่มีประโยชน์ อ.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ อ.อารมณ์แจ่มใส เนสท์เล่จึงขอชวนทุกคนมาเริ่มต้นใส่ใจสุขภาพ ด้วยการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ร่างกายทำงานอย่างเต็มที่ มีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างเคล็ดลับดูแลสุขภาพ ลดอายุร่างกายตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน

สำหรับคนชอบกิน

สำหรับคนชอบกิน
 
  • อ.อาหาร – เริ่มต้นหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินเพราะน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยที่ทำให้อายุร่างกายเพิ่ม ควรเลือกซื้ออาหารโดยให้มองหา “สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ” มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียม อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม (กินไขมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน กินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน และกินโซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) และแนะนำให้ เคี้ยวช้าลง ประมาณ 30 ครั้งต่อ 1 คำ เพราะการเคี้ยวอาหารช้าจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและดีต่อระบบย่อยอาหารด้วย
  • อ.ออกกำลังกาย – กินเท่าไหร่ต้องเอาออกเท่านั้น! ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว โยคะ วิ่งจ๊อกกิง ว่ายน้ำ กระโดดเชือก ฯลฯ ช่วยเผาผลาญพลังงานทั่วร่างกาย เลือดสูบฉีดเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อรวมไปถึงหัวใจจึงได้ออกกำลังไปด้วย ควบคู่กับการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิง เช่น การยกเวท ซิตอัป วิดพื้น แพลงก์ ฯลฯ จะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อและสลายไขมันส่วนเกินได้ดี
  • อ.อารมณ์ – เลือกอาหารว่างคลายเครียดที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กล้วยหอมและนมอุ่น ช็อกโกแลต ถั่วหรือธัญพืชที่มีไขมันดี ดื่มกาแฟหรือชาหอม ๆ เป็นต้น แทนการกินขนมกรุบกรอบหรือเบเกอรีที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ซึ่งจะช่วยทำให้สมองสดชื่นและอารมณ์ดีขึ้นด้วย
     

สำหรับคนรักงาน / เรียนหนัก

เรียนหนัก
 
  • อ.อาหาร – ควรกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยปรับสัดส่วนจานอาหารเป็นแบบ 2:1:1 (ผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และ เนื้อสัตว์ 1 ส่วน) เพิ่มใยอาหารด้วยธัญพืชไม่ขัดสีหรือโฮลเกรนและผักผลไม้รวมกันให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม ที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง และควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือประมาณ 1.5 ลิตร เพื่อคืนความสดชื่น ให้สมองตื่นตัว ช่วยรักษาสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย และยังช่วยเพิ่มน้ำในไขข้อและกระดูกจึงช่วยลดอาการปวดหลังจากการนั่งนาน ๆ
  • อ.ออกกำลังกาย – พักคลายกล้ามเนื้อ ยืดเหยียด คอ หลัง ไหล่ มือ หรือลุกขึ้นขยับตัวทุก ๆ 1 ชั่วโมง ที่โต๊ะทำงานหรือโต๊ะเรียน และเพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ โดยตั้งเป้าเพิ่มการเดินให้มากขึ้นกว่าปกติ ประมาณ 2,000 ก้าวต่อวัน เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญแคลอรีที่ได้รับ ช่วยควบคุมน้ำหนักให้คงที่ โดยควรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 23.0 – 24.9 kg/m² และไม่ควรเกิน 25 ขึ้นไป หรือไม่ควรมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง
  • อ.อารมณ์ – ทำอารมณ์ให้สดใส ยิ้มแย้มพร้อมตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในแต่ละวัน และควรจัดสรรเวลาเบรกงาน เพื่อพักสมอง โดยอาจฟังเพลงเบา ๆ หรือทำสิ่งที่ชอบ จะช่วยอารมณ์แจ่มใส ไม่มีภาวะเครียดสะสม ช่วยให้อายุร่างกายไม่แซงหน้าอายุจริง

สำหรับสายแม่บ้าน / คนที่ดูแลทุกคนในครอบครัว

สำหรับสายแม่บ้าน
 
  • อ.อาหาร – เปลี่ยนมากินอาหารให้ครบมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าที่มักทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลทุกคนในครอบครัวจนอาจละเลยการกินข้าวอย่างตรงเวลาไป และควรเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ รวมไปถึงอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน เค็มจัด หวานจัด
  • อ.ออกกำลังกาย – ทำงานบ้านสุขภาพที่ดีด้วย เช่น กวาดบ้านเต้นขยับกระฉับกระเฉง เช็ดถูบันไดพร้อมสควอซ เดินไวไปจ่ายตลาด ฯลฯ นอกจากความแข็งแรงที่ได้แล้ว การออกกำลังกายยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พร้อมช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินจึงช่วยลดอายุร่างกายลงได้
  • อ.อารมณ์ – คุณแม่บ้านอาจมีความเครียดแบบไม่รู้ตัวที่ต้องดูแลและรับมือทุกคนในบ้าน การตื่นมารับแสงแดดหรือรดน้ำต้นไม้ในช่วงเช้าช่วยเรียกความกระปรี้กระเปร่าและช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน ดี ไปในตัว รวมถึงควรนอนหลับอย่างเพียงพอให้ได้วันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพราะจะช่วยให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่าลืมนำวิธีดูแลตัวเองเพื่อลดอายุร่างกายด้วยอาหารและโภชนาการที่ดี บนพื้นฐานของ 3อ. คือ ควบคุมการกินอาหาร ใส่ใจการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ไปลงมือทำตามกันได้ไม่ยาก และทุกคนสามารถดูเคล็ดลับดูแลร่างกายในแบบที่ตัวเองชอบ ที่จะทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย ๆ ด้วย 3อ. วันละนิด พิชิตสุขภาพดี ให้ค่อย ๆ ดูแลตัวเองสะสมไปทีละเล็กละน้อยอย่างกลมกลืนกับการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน เพื่อผลลัพธ์สุขภาพแข็งแรงพร้อมสุขใจใด้ทุกวัน

รวมถึงสามารถเลือกช้อปปิงผลิตภัณฑ์อาหารผ่าน ร้านค้าออนไลน์ที่สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ ทั้ง 7 ช่องทาง ที่มาพร้อมโปรโมชันและส่วนลดสุดพิเศษเพื่อให้คุณแข็งแรงสุขใจไปกับเนสท์เล่ ด่วน! ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2565 เท่านั้น

You may also like