Sort by
Sort by

เปิดพลังอาหารด้วยนวัตกรรมและความยั่งยืน

Good food, Good life อาหารที่ดีเพื่อสุขภาพที่ดี
om0047-goodfood-herobanner-1440x472-v2.jpg

เนสท์เล่ ประเทศไทย กับรางวัลอันน่าภาคภูมิใจ “สุดยอดองค์กร 2020 Thailand’s Most Admired Company” ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จากนิตยสาร BrandAge ซึ่งได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค เรื่องความเชื่อถือในองค์กรหรือบริษัทที่มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันที่โดดเด่น  และขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคชาวไทย

บทสัมภาษณ์จากคุณวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เนสท์เล่ คว้ารางวัลนี้มาครองได้สำเร็จ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร BrandAge ฉบับเดือนตุลาคม 2563

อุตสาหกรรมอาหารเป็นเซ็กเม้นต์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แน่นอนว่า Player ที่ยืนอยู่แถวหน้าของตลาดย่อมเป็นบทพิสูจน์ ถึงการเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพจนได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค เช่นเดียวกันกับ “เนสท์เล่” บริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านโภชนาการและสุขภาพ ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นบริษัทที่มีผู้บริโภคชื่นชอบมากเป็นอันดับ 1 จากผลวิจัย Thailand’s Most Admired Company 2020

“Good food, Good life อาหารที่ดีเพื่อสุขภาพที่ดี”

คุณวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า รางวัลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาการทำงานภายใต้ “Good food, Good life อาหารที่ดีเพื่อสุขภาพที่ดี” ของเนสท์เล่ที่นำมาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เพราะนี่คือจุดยืนภายใต้เจตนารมณ์ของเนสท์เล่ในการเปิดพลังแห่งอาหาร เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อทุกคนในวันนี้ และในอนาคตที่เนสท์เล่ยึดมั่นมาโดยตลอด

“สุขภาพและโภชนาการเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเนสท์เล่ โดยเรามุ่งมั่นที่จะทำให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น แต่ภายใต้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีนั้นก็จะต้องมีความอร่อยด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำผลิตภัณฑ์อะไร เราจะคำนึงในเรื่องโภชนาการที่ดีควบคู่กับความอร่อยเป็นหลัก”

โดยในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เนสท์เล่ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมสินค้าในหลายกลุ่มด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีมโมจิ ที่เนสท์เล่นำเทรนด์ประเภทนี้เป็นแบรนด์แรกในประเทศไทยเมื่อปีก่อน และได้รับการตอบรับที่ดีมากจากตลาด ล่าสุดเนสท์เล่จึงต่อยอดความสำเร็จด้วยการเปิดตัวไอศกรีมโมจิไส้ไข่เค็ม ที่สำคัญยังออกแบบบรรจุภัณฑ์ไอศกรีมที่ทำจากกระดาษเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อใช้กับไอศกรีมเนสท์เล่ เอ็กซ์ตรีม นามะ กลไกสำคัญที่ทำให้เนสท์เล่บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น มาจากหลักการทำงานโดยใช้ผู้บริโภคเป็นจุดศูนย์กลาง แม้เนสท์เล่จะเป็นบริษัทข้ามชาติก็จริง แต่ได้นำกลยุทธ์ Localization มาปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เนสท์เล่มีโรงงานผลิตทั้งหมด 7 แห่งทั่วประเทศ และมีการทำวิจัยเพื่อเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะ เพื่อผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และกลายมาเป็นจุดเด่นของเนสท์เล่ที่มีศักยภาพในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดเป็นรายแรกอยู่เสมอ

ด้านการให้ความสำคัญทางโภชนาการ เนสท์เล่ยังได้เปิดตัวไมโลสูตรน้ำตาลน้อยกว่า 30% และสูตรไม่มีน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสูตรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่ลดปริมาณน้ำตาลทรายลง แต่ใส่คุณค่าโภชนาการดีๆ จากนม และส่วนประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้าไป ทำให้มีโปรตีนในผลิตภัณฑ์ถึง 5,000 มิลลิกรัม โดยทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์นี้ยังออกแบบให้มีหลอดกระดาษแบบงอได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยูเอชทีอีกด้วย

ต่อมาเป็นสินค้าในหมวดกาแฟที่เนสท์เล่เรียกเสียงฮือฮาให้กับตลาดได้ค่อนข้างมาก หลังจากออกเนสกาแฟ “โคลด์บริว” (NESCAFÉ COLD BREW) กาแฟพร้อมดื่มบรรจุขวดที่ทำจากกาแฟสกัดเย็น เพราะนับเป็นครั้งแรกของตลาดกาแฟพรีเมียม ที่สามารถนำเทคโนโลยีสกัดเย็นมาผลิตในระดับอุตสาหกรรม สินค้าที่เป็นไฮไลท์คงหนีไม่พ้น เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อผสมผสานกาแฟ 2 สายพันธุ์คือ อาราบริก้า และโรบัสต้า และยังเก็บกักความหอมของกาแฟแต่ว่ายังคงรสชาติความเข้มนุ่มลงตัวของกาแฟไว้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีนวัตกรรมสินค้าเท่านั้น เนสท์เล่ยังคิดค้นนวัตกรรมทางการตลาด ผ่านการเล่า Story เมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ในรูปแบบมินิฮาร์ท และเดินกลยุทธ์การสื่อสาร Interactive Marketing โดยพลิกโฉมสถานีรถไฟฟ้า MRT วัดมังกรด้วยการนำเทคโนโลยี AR ให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่นำ AR มาใช้ในบรรจุภัณฑ์ และแก้วกาแฟ ลิมิเต็ดอิดิชั่น สร้างสีสันตอนเปิดตัวในช่วงเทศกาลตรุษจีน

“หัวใจหลักที่ทำให้เนสท์เล่มีนวัตกรรมตอบโจทย์คนไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเรามีความได้เปรียบจากการที่มี R&D Center ที่แข็งแรงอยู่ทั่วโลก ทำหน้าที่คิดค้นคอนเซ็ปต์สินค้าใหม่ๆ ในแต่ละปี ทำให้เราสามารถนำคอนเซ็ปต์นั้นๆ มาทดสอบกับผู้บริโภคคนไทยว่าคิดอย่างไรกับคอนเซ็ปต์เหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันเรามีการนำเทรนด์คอนเซ็ปต์สินค้าใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาทดสอบในตลาดเมืองไทยประมาณ 30% และอีก 70% เป็นการทำวิจัยขึ้นในตลาดเมืองไทยเพื่อหาความต้องการของผู้บริโภค จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยจะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน พร้อมทดสอบกับผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคจริงๆ ก่อนจำหน่ายออกสู่ตลาด”

คุณวิคเตอร์ กล่าวว่า จากความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้านี่เอง ทำให้เนสท์เล่มองเห็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือ เทรนด์ความต้องการสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้น อาทิ สินค้าที่มีน้ำตาล และโซเดียมน้อยลง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเนสท์เล่มีสินค้าที่ตอบโจทย์มากที่สุดในตลาด ดังจะเห็นได้จากการมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของบริษัท จำนวน 64 รายการ ที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์ โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” มากที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ส่งมอบนวัตกรรมสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เนสท์เล่ให้ความ

64 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองสัญลักษณ์
โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”
ซึ่งมากที่สุดในประเทศไทย

“เราต้องยอมรับว่าเทรนด์บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมยังไม่เด่นชัดมากนักในเมืองไทย แต่เนื่องจากเนสท์เล่เป็นบริษัทอาหาร เราถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องยึดหลักการผลิตสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แม้จะทำให้เรามีต้นทุนที่มากขึ้นก็ตาม เพื่อที่เราจะสามารถผลิตสินค้าที่มีราคาเหมาะสมกับผู้บริโภค และดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน”

อย่างไรก็ดี สำหรับแผนการทำงานต่อไป โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 คุณวิคเตอร์ เรียงลำดับความสำคัญไว้ 3 เรื่อง โดยเรื่องแรกมุ่งเน้นความปลอดภัยในด้านสุขภาพของพนักงานในบริษัทและพนักงานในโรงงานผลิตทั้ง 7 แห่ง ด้วยกฎที่เข้มงวดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

“ที่ผ่านมาเนสท์เล่เป็นบริษัทแรกๆ ที่ออกนโยบายให้สิทธิ์พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ WFH ได้ ซึ่งวิธีการทำงานนี้จะมีประสิทธิภาพได้ต้องเกิดจากความเชื่อใจและการสร้างวัฒนธรรมมีส่วนร่วมขององค์กร โดยทีมงานเนสท์เล่ก็พิสูจน์ได้ว่า มีศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง และมี Performance การทำงานที่ดีมาก จากการที่เราให้อำนาจการตัดสินใจกับพนักงานเต็มที่ จนทำให้พนักงานสามารถทำงาน WFH ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน”

แผนการทำงานต่อมา เนสท์เล่ให้ความสำคัญด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยเฉพาะซัพพลายเชนที่สามารถส่งมอบวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาผลิตสินค้า และขนส่งสินค้าไปให้พนักงานขายถึงผู้บริโภคได้ สุดท้ายเป็นเรื่องของการปรับ กลยุทธ์การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การหันมาโฟกัสตลาดอีคอมเมิร์ซ และคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมการอยู่บ้านของผู้บริโภค ด้วยการออกสินค้าสูตรใหม่สำหรับรับประทานที่บ้านเพื่อให้ผู้บริโภคใช้เวลาอย่างมีความสุขที่บ้านได้มากขึ้น เช่น สูตรชงกาแฟ และเมนูกาแฟเย็น หรือการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างเนสท์เล่บูสท์ สูตรใหม่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ประกอบกับการออกแบบแพ็กสุดคุ้ม สอดรับกับสภาพตลาดที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

“เนสท์เล่เป็นองค์กรที่มีความเชื่อว่า องค์กรเราจะประสบความสำเร็จได้ เราต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมยึดมั่นทำมาตลอด และเชื่อว่าสิ่งที่เราทำในวันนี้มาถูกทางแล้ว และเราก็จะทำแบบนี้ต่อไป เพียงแต่ความท้าทายในการทำงานวันนี้ เราต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุกคนในองค์กรต้องพร้อมรับ ปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยยึดมั่นปรัชญา Good food, Good life เป็นเข็มทิศในการทำงาน”

ซื้อผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ :