Sort by
Sort by

โปรตีนทุกชนิดเหมือนกันหรือไม่? นักวิจัยของเนสท์เล่ทำการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบ

โปรตีนแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บางชนิดย่อยและดูดซึมได้รวดเร็ว ในขณะที่บางชนิดอาจมีผลต่อการเผาผลาญอาหารและการควบคุมกลูโคส นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เปรียบเทียบผลของโปรตีนจากแหล่งต่างๆ ที่มีต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ความอิ่ม และการควบคุมกลูโคสในมนุษย์ สามารถอ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ American Journal of Clinical Nutrition

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์กับการควบคุมน้ำหนัก เพราะว่าร่างกายต้องใช้พลังงานในการย่อยและ ดูดซึมโปรตีนมากกว่าสารอาหารชนิดอื่นๆ และโปรตีนก็อาจมีอิทธิพลต่อความอยากอาหารและ ความรู้สึกอิ่มหลังรับประทานอาหารอีกด้วย เพราะเรามีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าวของโปรตีนจากแหล่งต่างๆ น้อยมาก ดังนั้น นักวิจัยของเนสท์เล่จึงทำวิจัยทางคลินิกเพื่อค้นหาคำตอบ

การวิจัยในอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ซึ่งได้รับอาหารสามมื้อที่มีแคลอรีเท่ากัน คือมีคาร์โบไฮเดรต 40% ไขมัน 10%และโปรตีน 50% แต่ว่าโปรตีนจะมาจากแหล่งต่างกัน คือ เวย์ เคซีน และถั่วเหลือง ตามลำดับ สำหรับอาหารในมื้อที่สี่จะเป็นมื้อที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (คาร์โบไฮเดรต 95%) จากนั้น นักวิจัยได้ทำการวัดค่าพลังงานที่ร่างกายนําไปใช้ (energy expenditure), อุณหภูมิร่างกายที่เปลี่ยนไป (thermic effect), ระดับน้ำตาลในเลือด (glycemic response) และความอยากอาหาร (appetite sensation) ทั้งก่อนและหลังอาหารทั้งสี่มื้อ

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงทำให้ร่างกายต้องใช้พลังงาน และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายมากกว่าการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง โดยโปรตีนจากเวย์ จะมีผลมากกว่าโปรตีนถั่วเหลืองและเคซีนอย่างมาก และยังมีแนวโน้มว่าจะทำให้ร่างกายมีการใช้ไขมัน (fat oxidation) ได้มากกว่าด้วย ในภาวะที่มีกลูโคส โปรตีนทั้งสามชนิด ยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด หลังรับประทานอาหารลดลงจากระดับสูงสุดได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ โปรตีนจากเคซีนและถั่วเหลือง ยังลดระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมกับเพิ่มการหลั่งอินซูลิน ในปริมาณที่สูงกว่าปริมาณกลูโคสที่มีในอาหารได้เล็กน้อย

“การศึกษาของเรายืนยัน เมื่อมีแคลอรีเท่ากัน อาหารที่มีโปรตีนสูงช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานมากกว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง” ด็อกเตอร์เควิน อาเคสัน นักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหัวหน้าการทดลองในครั้งนี้กล่าว “การค้นพบเหล่านี้ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับหลักฐานที่ว่าการเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น โดยเราสามารถนำโปรตีนจากแหล่งต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการทางโภชนาการของแต่ละคนได้อีกด้วย”

ทั้งนี้ทีมนักวิจัยเนสท์เล่จะนำผลการวิจัยของโปรตีนจากแหล่งต่างนี้เหล่านี้ไปทำการศึกษาประโยชน์ในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป




อ้างอิงจากบทความ:


Acheson K, Blondel-Lubrano A, Oguey-Araymon S, Beaumont M, Emady-Azar S, et al. Protein choices targeting thermogenesis and metabolism. American Society for Nutrition, 2011; 93(3): 525-34. doi: 10.3945/ajcn.110.005850