วิธีเช็คสุขภาพสำหรับสุนัขของคุณที่จะช่วยให้คุณดูแลและเฝ้าระวังอาการป่วย
ทำไมถึงต้องคอยเช็คคำว่ากันไว้ดีกว่าแก้นั้นก็ยังใช้ได้กับทุกเรื่องเสมอ รวมถึงสุขภาพของน้องหมาก็เช่นกัน คุณควรตรวจเช็คหาสัญญาณการเจ็บป่วยในระยะแรกของสุนัขทุกๆ เดือน จำไว้ว่าสุนัขบางตัวสามารถซ่อนอาการเจ็บป่วย ดังนั้นคุณควรจะคอยจับตาและสังเกตอยู่เสมอ
จะต้องเช็คอะไรบ้าง
- ลำตัว – เวลาลูบไปข้างลำตัวของสุนัขควรจะจับโดนเฉพาะซี่โครง ไม่มีอะไรแปลกปลอม ควรจะมีแนวเว้าของเอวระหว่างส่วนที่เป็นซี่โครงและสะโพก และส่วนท้องไม่ควรห้อยย้อยมาก ควรระวังหากสุนัขน้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปรกติ
- หู – สุนัขไม่ควรมีขี้หูก้อนหนาสีน้ำตาลหรือสีเขียว และไม่ควรมีกลิ่น สุนัขพันธุ์หูยาวบางพันธุ์ควรทำความสะอาดหูเป็นประจำด้วยที่ทำความสะอาดหูแบบพิเศษ เพราะผิวหนังบริเวณหูนั้นบอบบาง ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม และอย่าทำความสะอาดลึกหรือรุนแรงเกินไป เพราะแก้วหูอาจฉีกขาดและเสียหายได้
- ดวงตา – ตาของสุนัขควรจะดูสดใสและสะอาด ไม่มีคราบน้ำตา รอยแดง หรือการอักเสบ สุนัขไม่ควรกลัวหรือหลบแสงราวกับแสงนั้นระคายเคืองต่อดวงตา ความผิดปรกติของดวงตาอาจเกิดพร้อมๆ กับอาการไข้หวัด
- จมูก – ผิวบริเวณจมูกควรเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกแห้ง ไม่มีน้ำมูก และไม่มีเลือดออก จมูกของสุนัขสามารถเปลี่ยนสีได้ตลอด จากสีดำเป็นสีชมพู และกลับไปเป็นสีดำอีกได้ จมูกไม่ควรเย็นหรือเปียก
- ลมหายใจ – คนที่มีกลิ่นปากนั้นไม่ใช่แค่ปัญหาสังคมหรือปัญหาสุขอนามัยเท่านั้น สุนัขที่มีกลิ่นปากก็คงไม่น่าพิศมันเช่นกัน กลิ่นปากสามารถบ่งบอกถึงปัญหาการย่อยหรือปัญหาเกี่ยวกับฟัน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา
- ช่องปาก – ฟันของสุนัขควรเป็นสีขาวและไม่มีหินปูน ถ้าหากมีหินปูนเกาะจะทำให้ฟันดูหนาและมีสีน้ำตาล เหงือกควรเป็นสีชมพูหรือสีดำ ไม่ได้มีสีแดงหรือบวม
- ผิวหนังและขน – ผิวหนังของสุนัขควรเป็นสีชมพูหรือสีดำ ขึ้นอยู่กับเม็ดสีผิวของแต่ละสายพันธุ์ ส่วนขนก็ควรจะดกหนา (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) และเงางามไม่เปราะบาง ทั้งผิวหนังและขนไม่ควรมีเศษรังแคหรือการติดเชื้อ สุนัขมีการผลัดขนตลอดทั้งปี แต่จะผลัดขนมากที่สุดในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ส่วนบางพันธุ์อย่างพุดเดิ้ลจะไม่ผลัดขน แต่จะต้องตัดแต่งขนให้อย่างสม่ำเสมอ
- เล็บ – ผิวเล็บควรเนียนเรียบและมีสีขาวหรือสีดำ เล็บที่มีผิวขรุขระและฉีกขาดง่ายอาจบ่งบอกถึงปัญหาบางอย่าง นิ้วเท้าเล็กๆ ด้านใน ของสุนัขนั้นบางตัวก็มีอยู่ที่ขาหน้าเท่านั้น บางตัวก็มีทั้งขาด้านหน้าและด้านหลัง และบางตัวก็ไม่มีนิ้วเล็กๆ นี้
- ระบบการย่อยอาหาร – คอยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของสุนัขว่าเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อาจสังเกตยากสักหน่อยหากเป็นสุนัขใหม่หรือเป็นสุนัขที่กินยาก เวลาสุนัขกินอาหารไม่ควรมีอาการสำลักหรืออาการผิดปรกติ และอุจจาระของสุนัขควรเป็นสีปรกติ ไม่มีอาการท้องร่วง ท้องผูก หรือไม่ได้ถ่ายเป็นมูกเหลว
- อาการกระหายน้ำ – ถ้าจู่ๆ สุนัขของคุณกระหายน้ำหรือดื่มน้ำมากกว่าปรกติ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณ
- ท่าทาง – ลักษณะท่าทางทั่วไปของสุนัขก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของมันได้