Sort by
Sort by

6 แผนเด็ด! กู๊ดไนท์ลูกน้อย นอนปุ๊บหลับปั๊บ ไม่งอแง

6 แผนเด็ด! กู๊ดไนท์ลูกน้อย นอนปุ๊บหลับปั๊บ ไม่งอแง

 

การนอนหลับอย่างเพียงพอทุกวัน ย่อมส่งผลดีต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมอง

 

แม่ ๆ รู้ไหมคะว่า ขณะที่ลูกกำลังนอนหลับสนิทอยู่นั้น สมองจะหลั่ง Growth Hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยสร้างโครงข่ายเส้นใยประสาทในสมอง ส่งผลต่อความจำของลูก ทำให้ลูกเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น และอารมณ์ดีด้วยนะคะ

เด็กแต่ละวัย ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง?

เด็กอายุ 0-3 เดือน : 17-18 ชั่วโมง

ทารกแรกเกิดต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ดังนั้น ช่วงเดือนแรก ลูกมักจะนอนกลางวัน มากกว่ากลางคืน และมีเวลาตื่นไม่แน่นอน และมักตื่นกลางดึก

เด็กอายุ 3-11 เดือน : 14-15 ชั่วโมง (+นอนกลางวัน)

เมื่อลูกอายุ 6-9 เดือน บางคนจะไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืน แต่จะหลับรวดเดียวจนถึงเช้าเลยค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะหิว เพราะหากลูกหลับยาวแสดงว่ากินนมอิ่มเต็มพุงแล้วนะคะ วัยนี้จะนอน 9-12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และงีบหลับช่วงสั้นๆ ประมาณครั้งละ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง วันละ 1-4 ครั้งในเวลากลางวัน

เด็กอายุ 1-3 ขวบ : 12-14 ชั่วโมง (+นอนกลางวัน)

หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน ช่วงเย็น หรือช่วงหัวค่ำนะคะ เพราะจะทำให้ลูกไม่รู้สึกง่วงและยิ่งทำให้นอนดึกไปอีก

อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนก็มีรูปแบบการนอนหลับไม่เหมือนกัน ชั่วโมงและระยะเวลาการนอนหลับก็แตกต่างกันไปด้วยค่ะ บางคนนอนน้อยตื่นบ่อย แต่ยังร่าเริง ดื่มนมได้ตามปกติ น้ำหนักตัวขึ้นตามเกณฑ์ แบบนี้แม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เดี๋ยวลูกจะค่อย ๆ ปรับตัวและนอนได้นานขึ้นเองในไม่ช้าค่ะ

 

เคล็ดลับ ช่วยให้ลูกหลับสบาย ไม่งอแง

  • เมื่อสังเกตว่าลูกเล่นน้อยลง ตาปรือ ตาลอย หาว เป็นสัญญาณบอกว่าลูกกำลังง่วงแล้วล่ะค่ะ ให้พาไปนอนบนเตียงได้เลย อย่าปล่อยให้หลับคาโซฟาหรือในอ้อมแขนแม่นะคะ ควรฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับที่นอนและหลับได้ด้วยตนเองดีกว่า
  • พยายามฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ทำให้การนอนเป็นช่วงเวลาที่ลูกรู้สึก สงบ อบอุ่น มีความสุข ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการเล่นที่ทำให้ตื่นเต้น ตื่นตัว เพราะจะทำให้ลูกหลับยาก หลับไม่สนิท หรือนอนละเมอได้ค่ะ
  • จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน เช่น ไฟสลัว เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน
  • ก่อนนอนทุกคืนควรมีกิจวัตรที่ทำให้ลูกรับรู้ว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว เช่น ดื่มนมอุ่น ๆ เล่านิทาน เปิดเพลงเบา ๆ เข้าห้องน้ำ หรือสวดมนต์ก่อนนอนก็ได้ค่ะ
  • หาตุ๊กตาให้กอด หมอนข้าง หรือผ้านุ่ม ๆ ห่มตัว เพื่อให้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และไม่กลัว

 

สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ต้องใส่ใจก็คือ อาหารเสริม สำหรับเด็กเล็กวัยก่อน 6 เดือนอย่าเพิ่งให้เริ่มอาหารเสริมนะคะ เพราะระบบการย่อยยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ กินแล้วจะย่อยยาก ท้องอืด และไปรบกวนการนอนได้ แต่ถ้าลูกเข้าสู่วัยหม่ำอาหารเสริมได้แล้ว ลองเลือกอาหารเสริมธัญพืชที่ผ่านขบวนการย่อยให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้ย่อยง่ายขึ้น หมดปัญหาเรื่องท้องอืด กินอิ่มนอนหลับฝันดีทุกคืนเลยล่ะค่ะ