Sort by
Sort by

ภูมิคุ้มกันที่ดีของลูก สร้างได้ด้วยสองมือแม่

ภูมิคุ้มกันที่ดีของลูก สร้างได้ด้วยสองมือแม่

เด็ก ๆ เป็นวัยกำลังเรียนรู้โลกกว้าง คงไม่ดีแน่หากพัฒนาการของลูกต้องมาสะดุด เพราะป่วยบ่อย

ระบบภูมิคุ้มกัน คือเกราะป้องกันโรคร้าย แต่กว่าระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ จะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุ 6 – 7 ปีขึ้นไป ทำให้เด็กวัยก่อนเข้าเรียนและวัยอนุบาลป่วยบ่อย เป็นหวัดง่าย การที่ลูกป่วย หมายถึงการเสียโอกาสเรียนรู้โลกกว้างไปด้วย ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกหรือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติให้ลูกรัก จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้อย่างไม่มีสะดุด  

 

พัฒนาการทางร่างกาย
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า เด็กที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยป่วย และมีพัฒนาการรุดหน้ากว่าเด็กที่เจ็บออด ๆ แอด ๆ อย่างชัดเจน รวมถึงระบบการทำงานต่าง ๆ ก็ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นกัน

พัฒนาการทางสติปัญญา
ภายในร่างกายของเด็ก ๆ มีการสร้างและเชื่อมต่อของเซลล์สมองอยู่ตลอดเวลา ถ้าภูมิคุ้มกันในเด็กอ่อนแอ ร่างกายของลูกรักไม่แข็งแรง ป่วยบ่อย อาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางกั้นไม่ให้เซลล์สมองพัฒนาได้อย่างเต็มระบบ 

พัฒนาการทางอารมณ์
ความเจ็บป่วยมักมาพร้อมกับอารมณ์หงุดหงิด งอแง และความรู้สึกไม่สบายตัว แสดงให้เห็นว่า ร่างกายที่ไม่สมบูรณ์มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของลูกรักได้โดยตรง

พัฒนาการทางสังคม
เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอุปสรรคในการออกไปเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ การมีเพื่อนใหม่ยังช่วยให้ลูกรักเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมอีกด้วย

จากการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในเด็กให้แข็งแรง พบว่า จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มีส่วนช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ลงในอาหารมากมาย เช่น อาหารเสริมสำหรับเด็กและนมผง นี่จึงเป็นอีกวิธีการที่ช่วยให้คุณแม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ด้วยตัวเอง โดยจุลินทรีย์ดีเหล่านี้จะช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคตามกลไกดังต่อไปนี้ค่ะ 

  1. เกาะปกคลุมผิวเยื่อบุลำไส้ไม่ให้เชื้อก่อโรคเกาะจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้และทำอันตรายผนังลำไส้ 
  2. หมักใยอาหาร พรีไบโอติกและแลคโตสในนม กลายเป็นกรดอะซิติกและแลกติก ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเติบโตของเชื้อก่อโรคได้ 
  3. สารแบคเทอริโอซิน (Bacteriocin) จะถูกปล่อยออกมาเพื่อทำการดักจับและทำลายเชื้อโรค 
  4. แย่งอาหารเชื้อก่อโรค ทำให้เชื้อก่อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ 
  5. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็ก โดยการสื่อสารกับเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในชั้นใต้เยื่อบุลำไส้ (Gut-associated lymphocyte tissue, GALT) ทำให้มีการกระตุ้นตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย 


เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่าหากระบบภูมิคุ้มกันในเด็กแข็งแรง จะช่วยเสริมโอกาสการเรียนรู้และมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ โดยคุณแม่สามารถดูวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ลูกแข็งแรง ง่าย ๆ ใน 5 วิธี คลิก คุณแม่มีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ด้วยสองมือของเราเอง ก็ไม่ควรปล่อยให้โอกาสดี ๆ ผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกรักอยู่เสมอนะคะ