Skip to content
Skip to the navigation bar
Skip to footer
คุณอยู่ที่ Nestlé ประเทศไทย
ไทย
English
เปลี่ยนประเทศ
ไปที่ Nestlé Global
ติดต่อเรา
ผลการค้นหา
home
เกี่ยวกับเรา
เรื่องราวของเรา
เนสท์เล่และสังคม
ผลิตภัณฑ์
ร่วมงานกับเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
โภชนาการเพื่อสุขภาพ
ติดต่อเรา
เคล็ดลับสุขภาพและโภชนาการ
เมนูเพื่อสุขภาพ
ลดน้ำหนักและเพิ่มส่วนสูง
คนรักสัตว์
แม่และเด็ก
ชีวิตดีๆ เริ่มง่ายๆ เริ่มที่ 3อ.
สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ
Home
>
ไทย
>
โภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
>
ปลูกผักทานเอง ช้าแต่ปลอดภัย
Number of shares: {0}
0
SHARES
ปลูกผักทานเอง ช้าแต่ปลอดภัย
พ.ค. 1, 2554
หากถามถึงอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดอย่างหนึ่งคงหนีไม่พ้น “ผัก” นานาชนิดที่ทุกคนล้วนถูกปลูกฝังตั้งแต่เล็กจนโตด้วยประโยคติดหูว่า “กินผักเยอะๆจะได้แข็งแรง” เพราะหากนับแล้วผักแทบทุกชนิดมีประโยชน์มากกว่าโทษ แต่จะรับประทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นั่นคือคำถามที่นักวิชาการหลายต่อหลายคนล้วนหาคำตอบจนกลายเป็นหลายแนวทางในการรับประทานที่แตกต่างเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
บางแนวทางก็นิยมให้รับประทานผักตามสีเพื่อให้ได้รับประโยชน์ครบถ้วน เช่น ผักสีเหลืองส้ม อย่างแครอท ฟักทอง พริกเหลืองจะมีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ผักใบเขียวมีคลอโรฟิลที่ช่วยบำรุงดวงตา ผักสีแดงอย่างมะเขือเทศสุกมีไลโคปีนที่ช่วยชะลอความแก่และป้องกันมะเร็งตับอ่อน ส่วนผักสีม่วงมีแอนโธไซยานินช่วยป้องกันโรคเลือด และโรคความดัน หรือบางแนวทางก็สนับสนุนให้เลือกรับประทานผักตามกรุ๊ปเลือดเพื่อการดูดซึมอย่างสูงสุด
แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทำให้การปลูกผักมิได้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติอีกต่อไป แต่กลายเป็นระบบการปลูกผักแบบอุตสาหกรรม มีการใช้สารเคมีต่างๆ ปุ๋ยสังเคราะห์ สารเร่งโต
และยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก
ผักที่เห็นได้ชัดว่าถูกสารเคมีบ่มเพาะมาจนอวบอ้วนทำให้ดูสวยราคาแพงอยู่ตามตลาดหนีไม่พ้นผักบุ้ง ผักคะน้า และผักกาด ยิ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับผักที่ปลูกเองในบ้าน จะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของขนาดและความอวบอ้วน แม้จะใส่ใจพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยให้มากเป็นพิเศษ ก็ต้องใช้เวลา แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเกษตรกรไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตแบบอุตสาหกรรม เพราะประชากรมีความต้องการบริโภคที่มากมายในแต่ละวัน และพื้นที่แปลงผักก็ลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่ในกรุงเทพฯ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรมากขึ้น ส่วนพื้นที่สีเขียวในต่างจังหวัดก็กลายเป็นที่ของสิ่งปลูกสร้าง และรีสอร์ทสมัยใหม่จนมองหาสนามหญ้าได้ยากยิ่งกว่าเดิม
และหากเราเชื่อในหลักการที่แพทย์กรีกนาม ฮิปโปกราตีสกล่าวไว้ว่า “You are What You Eat” การทานผักที่ผ่านกระบวนการเร่งด้วยเคมีย่อมส่งผลต่อสุขภาพส่งผลให้ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่พิถีพิถันกับการเลือกสุขภาพ ปลอดการใช้สารเคมี และมีจำนวนมากที่ลงมือปลูกเอง ซึ่งมีทั้งเครือข่ายระดับโลก เช่นสโลว์ฟู้ดที่ก่อตั้งในอิตาลี หรือในประเทศไทยเองก็มีหลายกลุ่ม อาทิ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลกหรือเครือข่ายสวนผักคนเมือง ซึ่งหากใครสนใจติดตามผลงานการปลูกผักทานเองของกลุ่มคนเหล่านี้สามารถค้นหาแนวทางดีๆ เพื่อปฏิบัติตามได้ในเฟซบุ๊ก
แม้การปลูกผักทานเองจะไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะผักสวนครัวที่จะปลูกกันเองไม่ได้โตพร้อมเด็ดในทุกวัน แต่ประโยชน์ทางหนึ่งที่จะได้รับอย่างชัดเจนคือผู้บริโภคสามารถชะลอการรับสารเคมีได้ในระดับหนึ่ง แถมยังเป็นการได้ออกกำลังกายทางอ้อมด้วยการปลูกผักและรดน้ำอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี และเพื่อดูแลโลกให้สวยงามกว่าเดิมเรามาลองปลูกผักไว้รับประทานกันเองดีกว่า พร้อมแล้วก็เริ่มกันเลย...
1. เตรียมภาชนะ ใช้ได้นานาชนิด
ไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อ อาจเป็นกะละมังเก่า กระป๋องเก่า เจาะรูตรงกลางเป็นใช้ได้ ถ้าเป็นถ้วยเล็ก กระถางน้อย ก็ใช้หลายใบเรียงได้ ปลูกผักบุ้งกระถางละ 5-6 ก้าน หลายกระถางก็จะได้เท่ากับหนึ่งกำ แต่ถ้าที่บ้านพอมีพื้นที่ ให้กั้นอาณาบริเวณ แล้วปลูกลงดินจะดีที่สุด กรณีปลูกไม้เลื้อย เช่น แตงกวา ถั่ว ตำลึง ดอกขจร มะระ ให้ผูกไม้ขึ้นร้านไว้แบบง่าย ๆ เดี๋ยวผักจะเติบโตเลื้อยตามไม้เอง
2. ศึกษาเรื่องดิน และ ปุ๋ย
ปัจจุบันแม้จะมีดินใส่ถุงจำหน่ายมากมาย แต่ใช่ว่าจะมีคุณภาพดี เสียทั้งหมด บางเจ้ามีวัตถุอื่นปลอมปน บางเจ้ามีแต่เนื้อดินแต่ด้อยคุณภาพ ไม่มีสารอาหาร ดังนั้นต้องซักถามคนขายให้มาก ทางที่ดีที่สุดคือสังเกตว่าดินยี่ห้อไหนปลูกผักอะไรแล้วงอกงามดี ปุ๋ยก็เช่นเดียวกัน ควรศึกษาผักแต่ละชนิดว่าต้องการสารอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ เพื่อจะบำรุงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. เมล็ดพันธุ์
เริ่มต้นอาจต้องซื้อ เช่น ผักบุ้ง ผักชี ผักกาด แตงกวา แต่หากปลูกแบบจริงจังแล้ว เมื่อดอก ผล หรือ ฝักแก่จัด ก็จะมีเมล็ดพันธุ์ให้เก็บไว้ปลูกต่อไปได้ อีกวิธีคือ ผักที่เหลือ ๆ จากตลาดเช่น กะเพราะ หรือ โหระพา เมื่อเด็ดใบแล้ว เหลือกิ่งติดรากปักลงดิน ไม่นานก็จะผลิใบ แตกยอดให้เราได้ภูมิใจ
หากมีวันว่างของครอบครัว ลองหาเวลาปลูกผักในพื้นที่ส่วนเหลือ ๆ ของบ้าน อดทนรอคอยให้ถึงวันที่โตเต็มที่ตามธรรมชาติ แล้วบรรจงเก็บมาสร้างสรรค์เมนูสุขภาพ รับรองว่าอร่อยกว่าผักที่เราหาซื้อทั่วไปในตลาด เพราะเราใส่ใจลงไปด้วย
Video
Close
1054
nestle-monitoring-loaded