Skip to content
Skip to the navigation bar
Skip to footer
คุณอยู่ที่ Nestlé ประเทศไทย
ไทย
English
เปลี่ยนประเทศ
ไปที่ Nestlé Global
ติดต่อเรา
ผลการค้นหา
home
เกี่ยวกับเรา
เรื่องราวของเรา
เนสท์เล่และสังคม
ผลิตภัณฑ์
ร่วมงานกับเรา
ข่าวประชาสัมพันธ์
โภชนาการเพื่อสุขภาพ
ติดต่อเรา
เคล็ดลับสุขภาพและโภชนาการ
เมนูเพื่อสุขภาพ
ลดน้ำหนักและเพิ่มส่วนสูง
คนรักสัตว์
แม่และเด็ก
ชีวิตดีๆ เริ่มง่ายๆ เริ่มที่ 3อ.
สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ
Home
>
ไทย
>
โภชนาการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
>
กุญแจสำคัญสู่การรับประทานอาหารที่ได้สมดุล
Number of shares: {0}
0
SHARES
กุญแจสำคัญสู่การรับประทานอาหารที่ได้สมดุล
ส.ค. 15, 2555
ขอภาพที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทานอาหารที่หลากหลายชนิด ได้มั๊ยค่ะ เพราะเวลาพูดถึงอาหารสุขภาพต้องมีแต่ภาพผลไม้อย่างเดียว
ใน ช่วงที่คุณตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารให้ได้สมดุลนั้นเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญมากกว่าช่วง ก่อนตั้งครรภ์ นี่คือเคล็ดลับบางอย่างเพื่อช่วยให้คุณรับประทานอาหารได้เหมาะสม
ฉัน ควรรับประทานอะไร คุณควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา แต่ถ้าคุณรู้สึกหิวบ่อย ลองรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ให้บ่อยขึ้นแทนที่จะเป็นมื้อใหญ่ๆ สามมื้อต่อวัน รับประทานอาหารให้สมดุลและหลากหลายซึ่งควรประกอบไปด้วย
นม, โยเกิร์ต และชีส เพราะมีปริมาณโปรตีนและแคลเซียมที่สูง
เนื้อสัตว์, เนื้อสัตว์ปีก, ปลา, ไข่, อาหารประเภทถั่ว และถั่วเปลือกแข็ง เพื่อให้ได้รับโปรตีนและธาตุเหล็ก โดยเฉพาะเนื้อแดงที่ไขมันต่ำเป็นแหล่งรวมของโปรตีนชั้นดี
ขนมปัง, ซีเรียล, ข้าว, พาสต้า และก๋วยเตี๋ยว อาหารเหล่านี้ให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรตสูง
ผลไม้และผักต่างๆ โดยเฉพาะผักใบเขียว ซึ่งมีกรดโฟลิคและใยอาหาร
ไขมันในรูปแบบของน้ำมันจากพืช, เนยเทียม และ ปลา (แบบสดและแบบกระป๋อง) ซึ่งมีวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค รวมถึงกรดไขมันที่จำเป็นต่างๆ
อาหารตามใจปากในปริมาณไม่มากและไม่บ่อยเพื่อความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของคุณ
คุณควรรับประทานอาหารเสริมชนิดกรดโฟลิค (0.5 มิลลิกรัม) เป็นประจำทุกวันจนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ ลองปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาหารที่ควรระวังในช่วงตั้งครรภ์
ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณมักจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ชื่อว่า Listeria เจ้า Listeria นี้มักปนเปื้อนอยู่ในอาหารซึ่งสามารถทำอันตรายร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากอาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ อย่าลืมทำล้างทำความสะอาดสิ่งเหล่านี้
ผักดิบๆ สลัด ผลไม้ และสมุนไพร
อาหารอะไรก็ตามที่สัมผัสกับพื้นดิน
ล้างมือก่อนปรุงอาหารและก่อนรับประทาน
ข้อควรระวัง
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น
ปรุงเนื้อวัว เนื้อสัตว์ปีก และปลาให้สุกทั่วทั้งชิ้น
สังเกตวันที่หมดอายุให้ดีๆ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำครัว รวมถึงเขียง และตู้เย็นให้สะอาดอยู่เสมอ
นำผักต่างๆ สลัด ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนมใส่ตู้เย็นทันทีหลังจากที่ซื้อ
แล้วอย่าลืมระวังสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย
เก็บอาหารสดแยกกับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว (หรืออาหารที่พร้อมรับประทาน) เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
คอยสังเกตอุณหภูมิในตู้เย็นของคุณ โดยไม่ควรสูงกว่า 5 องศาเซลเซียส ลองติดเทอร์โมมิเตอร์ในตู้เย็น
รักษาอุณหภูมิของอาหารร้อนให้อุ่นอย่างสม่ำเสมอ (สูงกว่า 60 องศาเซลเซียส) และอาหารเย็นให้คงความเย็นอยู่เสมอ (ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส)
รายชื่ออาหารต่อไปนี้มักมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียชนิด listeria และควรหลีกเลี่ยงในระหว่างที่ตั้งครรภ์
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่หั่นเป็นแผ่นบางๆ ที่บรรจุมาเป็นแพ็ค
เนื้อไก่ปรุงสุกหั่นเป็นลูกเต๋า (อย่างที่มักใช้ในร้านขายแซนด์วิช)
สลัดผักพร้อมรับประทานประเภทต่างๆ
ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
อาหารทะเลที่ไม่ได้ปรุงสุก (เช่นหอยนางรม ปลาดิบ และซูชิ) ปลารมควันที่ไม่ได้ปรุงสุก (เช่นปลาแซลมอนรมควัน) และสัตว์น้ำประเภทมีเปลือกรมควัน (เช่นหอยนางรมรมควัน ส่วนหอยนางรมชนิดกระป๋องนั้นจะปลอดภัยกว่า)
Video
Close
1054
nestle-monitoring-loaded