Sort by
Sort by

สงครามการต่อสู้กับขยะ

โรงงานผลิตอาหารสัตว์เหล่านี้ลดการนำขยะไปฝังกลบจนเหลือศูนย์
zero waste landfill purina petcare factories

การสร้างสิ่งต่างๆ มักจะก่อให้เกิดความยุ่งเหยิง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมอาหารค่ำอย่างรวดเร็ว หรือการใช้เวลายาวนานหลายเดือนในการปรับปรุงบ้านที่คุณอยู่อาศัย ก็มักจะเกิดขยะขึ้นในขั้นตอนการทำงาน

แต่ถ้าสิ่งที่คุณกำลังทำมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้ แถมยังมีอาหารสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ลองนึกภาพการผลิตอาหารสำหรับแมวและสุนัข และจำนวนขยะที่ต้องดูแล เพื่อรองรับความต้องการสัตว์เลี้ยงหลายล้านตัวในแต่ละปี

โดยที่จะต้องไม่ส่งขยะไปฝังกลบเลย คุณก็จะเริ่มเข้าใจว่าการลดการนำขยะไปฝังกลบจนเหลือศูนย์ในโรงงานของ Purina นั้นเป็นงานที่ยากเพียงใด

การจัดการกับขยะ

ถึงแม้ว่าบางอย่างจะเป็นงานที่ยากก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่สามารถทำได้เลยซะทีเดียว จริงๆ แล้ว บริษัทผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างเนสท์เล่ ได้ตั้งเป้าว่าจะไม่มีการนำขยะไปฝังกลบเลยภายในปี 2020

Factory worker preparing waste for recycling
James Julian is one of a team of people looking for new ways to recycle materials

โรงงานผลิต Purina 7 แห่งจาก 20 แห่งในอเมริกาเหนือได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว วัตถุดิบที่เหลือทิ้งจากโรงงานเหล่านี้จะถูกขนย้ายอย่างระมัดระวังไปยังสถานที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการปรับปรุงมูลค่าทั้งทางด้านนิเวศน์วิทยาและทางด้านเศรษฐศาสตร์

ซึ่งอาจจะเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล หรือนำไปเผาเพื่อสร้างพลังงาน หรือวิธีอื่นใดก็ตามที่เป็นการใช้วัตถุดิบต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า และหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องนำขยะไปฝังกลบ

ความยั่งยืน

การลดของเสียและขยะเป็นส่วนสำคัญในแผนของ Purina ในการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด

นอกจากนี้ บริษัทยังกำลังดำเนินโครงการเพื่อนำพลังงานทดแทนมาใช้เพิ่มมากขึ้นและประหยัดการใช้งาน น้ำที่ใช้ในโรงงานของ Purina ในทวีปอเมริกาเหนือมีปริมาณลดลงถึง 28% ตั้งแต่ปี 2007

“เรามีพันธสัญญาในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่าของเราและสร้างโลกที่ดีขึ้นให้แก่สัตว์เลี้ยงและและผู้ที่รักสัตว์” John Bear, รองประธานฝ่ายการผลิต Nestlé Purina ภูมิภาคอเมริกาเหนือกล่าว

สามขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

ในการยกเลิกการนำขยะไปฝังกลบ Purina ได้ดำเนินการ 3 ขั้นตอนหลักๆ ด้วยกัน

ขั้นตอนแรก บริษัทได้ร่วมกับพนักงานเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ขั้นตอนที่สอง บริษัทได้ทบทวนกระบวนการผลิตเพื่อหาวิธีที่จะลดการเกิดขยะที่ออกมาจากระบบ ขั้นตอนที่สาม เนสท์เล่ร่วมกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการนำขยะไปหมักเป็นปุ๋ย รีไซเคิล นำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

นับตั้งแต่ปี 2014 บริษัทได้ลดขยะที่นำไปฝังกลบในทวีปอเมริกาเหนือลงได้มากกว่า 34%

ขยะที่นำไปฝังกลบมีปริมาณลดลงกว่า 1/3 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

ด้วยการใช้วิธี 3 ขั้นตอนแบบเดียวกันนี้ Nestlé USA ซึ่งเป็นบริษัทแม่ก็สามารถ ยกเลิกการนำขยะไปทิ้งจากโรงงานอาหาร 23 แห่งของบริษัทได้สำเร็จโรงงานซึ่งใช้ในการผลิตทุกอย่างตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ขนมและผลิตภัณฑ์นม ไปจนถึงอาหารแช่แข็ง ไอศกรีม และเครื่องดื่ม ไม่มีการนำขยะไปฝังกลบอีกเลย

โรงงานทุกแห่งของ Purina กำลังดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันนี้ นับเป็นบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นอันต่อเนื่องของเนสท์เล่ในการพัฒนาธุรกิจที่มีความยั่งยืนในการดำเนินกิจการทุกแห่งของบริษัท