Sort by
Sort by

การประหยัดน้ำ

เกษตรกรในเวียดนามใช้ขยะเพื่อประหยัดน้ำอันมีค่าได้อย่างไร
Vietnam farmers save water use rubbish

“ตามปกติ เดือนมีนาหรือเดือนเมษาฝนก็ควรจะเริ่มตกได้แล้ว” เกษตรกรที่ชื่อ Hoàng Mạnh Thu กล่าวพร้อมกับส่ายหน้าขณะที่เดินไปตามแนวปลูกต้นกาแฟ เหนือขึ้นไปเป็นเส้นทางปีนขึ้นสู่ยอดเขาท่ามกลางแสงอาทิตย์แรงกล้า ด้านล่างเป็นพื้นดินที่แตกระแหง

นอกจากความแห้งแล้งแล้ว สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและการใช้น้ำเพื่อการเกษตรทำให้การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน ปัญหายิ่งซับซ้อนไปกว่านั้น เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้น้ำอย่างไม่ชาญฉลาดโดยใช้น้ำมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้จริง

เวียดนามกำลังประสบกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี และความยากลำบากกำลังรออยู่ข้างหน้า

ศูนย์พยากรณ์อากาศแห่งชาติของเวียดนามรายงานว่า ในปีที่ผ่านมาบางพื้นที่มีฝนตกน้อยกว่าปีก่อนถึง 86% อ่างเก็บน้ำเพื่อการชลประทานในภูมิภาคที่ Hoàng Mạnh Thu เพาะปลูกอยู่นั้น พบว่า จำนวน 1 ใน 5 แห่งได้เหือดแห้งลง

ชาวไร่กาแฟผู้นี้เคยใช้น้ำจากบ่อสองบ่อในการดูแลไร่กาแฟจำนวน 5 เฮกตาร์ ของเขา “แต่ตอนนี้ น้ำจากห้าบ่อก็ยังไม่เพียงพอ” เขากล่าว

ปัญหาใหญ่

เวียดนามเป็นผู้ผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล และมีประชากร 2.6 ล้านคนต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมนี้ในการดำรงชีพ กาแฟส่วนใหญ่จะมีการปลูกกันในที่ราบสูงภาคกลางซึ่งการใช้น้ำในการเกษตรมากกว่า 95% ของการใช้น้ำทั้งหมด

นอกจากความแห้งแล้งแล้ว สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปและการใช้น้ำเพื่อการเกษตรทำให้การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน ปัญหายิ่งซับซ้อนไปกว่านั้น เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้น้ำอย่างไม่ชาญฉลาดโดยใช้น้ำมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้จริง

Vietnam coffee farmers 

การศึกษาซึ่งเนสท์เล่ร่วมสนับสนุนพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟใช้น้ำมากกว่าที่จำเป็นถึง 60% ในช่วงฤดูแล้ง

นอกจากก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การใช้น้ำที่มากเกินไปก็ยังเป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกาแฟและทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียเงิน ถึงแม้ว่าเกษตรกรไม่ต้องจ่ายค่าน้ำจากบ่อน้ำในท้องถิ่น แต่ก็ต้องจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการปั๊มน้ำและเวลาที่ใช้ไปโดยไม่จำเป็นในการให้น้ำ ถือเป็นการสูญเสียทั้งเวลาและน้ำ

ทางออกอย่างง่ายๆ

กาแฟส่วนใหญ่ในเวียดนามมีการปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก 2-3 เอเคอร์ ซึ่งทำให้เทคนิคที่ใช้ในการจัดการไร่กาแฟขนาดใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้วิธีที่ง่ายและประหยัดเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้เข้าใจว่าควรใช้น้ำปริมาณเท่าใด

ระบบที่ง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ในกรณีนี้ ที่ปรึกษาทางด้านการเกษตรในท้องถิ่นจากเนสท์เล่ได้ค้นพบวิธีดังกล่าวแล้ว

ส่วนเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้น่ะหรือ? ก็มีเพียงขวดน้ำและกระป๋องนมข้นหวานเท่านั้น

Vietnam coffee irrigation infographic

การนำขวดพลาสติกมาคว่ำปากฝังลงไปในดินและเฝ้าสังเกตระดับความชื้นที่ควบแน่นภายในขวด เกษตรกรก็สามารถวัดปริมาณน้ำในดินได้ เมื่อหยดน้ำในขวดเริ่มน้อยลง ก็เป็นเวลาที่จะทำการรดน้ำเป็นครั้งแรกของฤดู

นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถใช้กระป๋องนมข้นหวานที่หมดแล้วในการวัดปริมาณน้ำฝน ตัวอย่างเช่น หากกระป๋องนมข้นหวานขนาดมาตรฐานมีปริมาณน้ำฝนอยู่ 1 ใน 6 ส่วน เกษตรกรก็สามารถรู้ได้ว่าต้นไม้ที่ปลูกอยู่บริเวณนั้นได้รับน้ำไปแล้วประมาณ 100 ลิตร และสามารถปรับการให้น้ำให้เหมาะสมได้

“ขวดน้ำและกระป๋องนมใช้งานได้ดีมาก” Pham Phu Ngoc, หัวหน้าทีมบริการการเกษตรของเนสท์เล่ในเวียดนามกล่าว "ขวดน้ำและกระป๋องนมมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนซึ่งดูเป็นวิทยาศาสตร์มากเกินไปสำหรับเกษตรกร”

เขาอธิบายว่าชาวไร่กาแฟในเวียดนามมีการใช้น้ำ 700 ถึง 1,000 ลิตรต่อกาแฟหนึ่งต้นในการให้น้ำแต่ละครั้ง แต่ในตอนนี้ ชาวไร่กาแฟอาจสามารถได้ผลผลิตเท่าเดิมโดยใช้น้ำเพียง 300-400 ลิตร ซึ่งในหลายกรณี สามารถประหยัดน้ำได้มากกว่าครึ่ง

เครือข่ายชาวไร่กาแฟ

ไอเดียที่ Pham Phu Ngocs เสนอ เผยแพร่ไปยังเครือข่ายชาวไร่กาแฟ ที่มีการติดต่อกันอย่างแน่นแฟ้นเกือบสองหมื่นรายในประเทศซึ่งผลิตเมล็ดกาแฟส่งให้แก่บริษัท

): ขวดน้ำและกระป๋องนมใช้งานได้ดีมาก มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนซึ่งดูเป็นวิทยาศาสตร์มากเกินไปสำหรับเกษตรกร Pham Phu Ngoc, หัวหน้าทีมบริการการเกษตรของเนสท์เล่ในเวียดนาม

ขณะที่เกษตรกรในประเทศที่พัฒนามากกว่าใช้เทคนิคที่ซับซ้อนในการลดการใช้น้ำ แต่วิธีการแบบชาวบ้านๆ และการศึกษาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในชนบทห่างไกลของเวียดนาม กระป๋องนมและขวดพลาสติกเป็นตัวอย่างที่ดีของวัสดุในชีวิตประจำวันที่สามารถนำมาใช้งานและก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมหาศาล

Hoàng Mạnh Thu ซึ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อหาน้ำจากบ่อทั้งห้า ก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรเป็นจำนวนมากที่ได้รับประโยชน์จากกระป๋องนมและขวดพลาสติก นับตั้งแต่มีการนำเทคนิคนี้มาใช้งาน ผลผลิตกาแฟของเขาเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% พร้อมทั้งสามารถลดการใช้น้ำลงได้อย่างมหาศาล Hoàng Mạnh Thu แปลว่าวิธีการตรวจสอบโดยใช้ขวดน้ำซึ่งไม่มีต้นทุนอะไรเลยช่วยเขาประหยัดค่าปุ๋ยได้ถึงหนึ่งในสาม รวมทั้งลดต้นทุนทางด้านค่าแรง ค่าไฟ และเชื้อเพลิงลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง

เนสท์เล่ส่งเสริมแนวทางที่ครอบคลุมมากกว่านี้ในการอนุรักษ์น้ำให้แก่เครือข่ายเกษตรกรในเวียดนาม โดยใช้แนวทางในการทำการเกษตรที่ดีของเนสท์เล่ซึ่งพัฒนาขึ้นร่วมกับองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ชื่อว่า Rainforest Alliance เป็นส่วนหนึ่งของNescafé ทั่วโลก

ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานด้านการพัฒนาและความร่วมมือของสวิตเซอร์แลนด์ ช่วยให้บริษัทสามารถเผยแพร่เทคนิคในการประหยัดน้ำไปยังเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟซึ่งอยู่นอกเหนือเครือข่ายของบริษัท

“ขวดน้ำและกระป๋องนมเป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการวัดปริมาณความชื้นของดิน” Carlo Galli ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคด้านทรัพยากรน้ำจากสำนักงานใหญ่ของเนสท์เล่ในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว “กรณีของเวียดนามไม่ได้เป็นเรื่องไฮเทคแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้สามัญสำนึกและทำในเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ"