Sort by
Sort by

กุมารแพทย์แนะ 6 วิธี ดูแลลูกรักห่างไกลโรคระบบทางเดินอาหาร

กุมารแพทย์แนะ 6 วิธี ดูแลลูกรักห่างไกลโรคระบบทางเดินอาหาร

 

ปัจจุบันเด็กๆ มีความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารมากขึ้น เรามาเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมสู่กับเชื้อโรคตัวร้ายกันค่ะ

 

ในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมาก ลูกเล็กของเราจึงเสี่ยงกับการได้รับเชื้อโรคและป่วยได้ง่าย หนึ่งในโรคที่พบมากในเด็กคือ โรคระบบทางเดินอาหาร ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงวันดี วราวิทย์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงมาแนะนำให้ให้คุณแม่รู้เท่าทันโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันและดูแล ดังต่อไปนี้ค่ะ

การห่างไกลจากโรคต้องมีภูมิคุ้มกันดี ทางเดินอาหารมีพื้นที่ผิวของลำไส้ประมาณ 250-300 ตารางเมตร ประมาณเท่ากับ 2 เท่าของสนามเทนนิส นับเป็นพื้นที่กว้างมากในการเปิดรับสิ่งที่คนรับเข้าทางปาก สำหรับทารกแรกเกิด อาหารก็เป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย รวมทั้งแบคทีเรีย สารเคมี สารพิษปนเปื้อน และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ด้วย

การปกป้องของเยื่อบุลำไส้อาศัยระบบภูมิคุ้มกัน 2 ระบบ

 

ระบบภูมิคุ้มกันที่มีแต่กำเนิด ได้แก่ สารภูมิคุ้มกันในน้ำลาย กรดในกระเพาะอาหาร น้ำดีที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เยื่อเมือกที่เคลือบผิวลำไส้ หลั่งสารไอจีเอ เพื่อจับเชื้อโรคและสารแปลกปลอม การเกาะจับกันแน่นของช่องว่างระหว่างเซลล์ การลอกหลุดของเยื่อบุลำไส้ ซึ่งพยายามกำจัดเชื้อโรค และการบีบตัวของลำไส้ซึ่งบีบตัวระบายเชื้อออกจากลำไส้ออกไปทางอุจจาระ นอกจากนั้นในโพรงลำไส้ยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ ซึ่งช่วยปกป้อง ทำหน้าที่คล้ายผู้รักษาความปลอดภัย และผู้ทำความสะอาดกวาดเชื้อโรค ไม่ให้เข้าเกาะจับลำไส้ได้ การป้องกันด่านต่างๆ นี้สามารถต่อสู้เชื้อโรคได้
 

ระบบภูมิคุ้มกันแบบตอบสนองต่อสารที่เข้ามากระตุ้น ระบบเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ใต้เยื่อบุลำไส้จะรับรู้แล้วตอบสนอง 3 แบบด้วยกัน
  • แบบที่ 1 เป็นการตอบสนองแบบต่ำหรือไม่ตอบสนอง ทำให้ทนต่ออาหารซึ่งเป็นสารแปลกปลอมต่อร่างกายด้วย จึงรับประทานอาหารได้โดยไม่แพ้
  • แบบที่ 2 เป็นแบบป้องกัน เกิดขึ้นโดยมีจุลินทรีย์สุขภาพสายพันธุ์ บิฟิโดแบคทีเรียและแลคโตบาซิลไล เข้ามาเกาะจับที่ผิวเซลล์เยื่อบุปล่อยสารเคมี สื่อสารหรือคุยกับเซลล์เยื่อบุ ส่งผลให้เยื่อน้ำเหลืองสร้างเซลล์ชนิดป้องกัน (Th1)
  • แบบที่ 3 เป็นการตอบสนองแบบเกิดการอักเสบจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ รวมทั้งการฉีดวัคซีน กระตุ้นให้เซลล์เนื้อเยื่อน้ำเหลือง สร้างสารที่ก่อการอักเสบหรือภูมิแพ้ (Th2) ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการนี้ยับยั้งได้โดยจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ ซึ่งกระตุ้นเซลลน้ำเหลืองที่สร้างเซลล์(Th1/Th2)ให้อยู่ในภาวะสมดุลสามารถลดความโน้มเอียงด้านภูมิแพ้
 

ดังนั้น การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกด้วยโภชนาการเพื่อให้ลูกน้อยห่างไกลโรคระบบทางเดินอาหารนั้น ต้องวางแผนตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ดังนี้

  1. คุณแม่ควรรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารพวกโปรตีนเพิ่มอย่างน้อยวันละ 10 กรัม มีการศึกษาให้แม่รับประทานจุลินทรีย์สุขภาพในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด และให้กินต่อไปอีก 4-6 เดือน เพื่อให้แม่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีๆ อยู่ในช่องคลอด ผิวหนังของแม่ และน้ำนมแม่
  2. ให้กำเนิดลูกโดยวิธีธรรมชาติโดยคลอดบุตรทางช่องคลอด เพื่อให้ลูกกลืนเชื้อดีๆ ในช่วงผ่านช่องคลอด
  3. ให้ลูกกินนมแม่และเมื่อโตขึ้นก็ให้อาหารเด็กตามวัยทั้งปริมาณและชนิดที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับอายุ
  4. เตรียมอาหารลูกให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด สุกด้วยความร้อน อาหารปลอดจากเชื้อปนเปื้อน
  5. คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงควรให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ลูกจะแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โรคแพ้อาหาร รวมทั้งโรคภูมิแพ้