Sort by
Sort by

แนวทางการใช้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยทอง

แนวทางการใช้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยทอง
การให้การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Therapy, HT)

การรักษาด้วยฮอร์โมน คือ การให้เอสโตรเจนและ/หรือโปรเจสโตเจนเพื่อบรรเทาอาการอันเนื่องจากภาวะพร่องเอสโตรเจน ได้แก่ อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (vasomotor symptoms) และอาการที่เกิดจากการฝ่อลีบของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ (vaginal atrophy) และยังอาจช่วยรักษาอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดระดู เช่น อารมณ์ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และปัญหาทางเพศ การรักษาด้วยฮอร์โมนยังช่วยป้องกันการสลายของเนื้อกระดูก (bone loss) และลดการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ในสตรีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก

คำแนะนำก่อนการรักษาด้วยฮอร์โมน
  • สตรีควรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ฮอร์โมน และมีส่วนร่วมในการพิจารณาเลือกการรักษาดังกล่าว
  • ควรตรวจติดตามและให้คำปรึกษา
แนวทางการพิจารณาใช้ฮอร์โมนทดแทน

ข้อบ่งชี้ ประโยชน์ หมายเหตุ
เพื่อรักษาอาการของวัยหมดระดู ได้แก่ อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (vasomotor symptoms) และอาการที่เกิดจากการฝ่อลีบของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ (vaginal atrophy)การรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดและเป็นวิธีที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก การรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดและเป็นวิธีที่เลือกใช้เป็นอันดับแรก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ นัดตรวจสม่ำเสมอ เพื่อประเมินผลของการรักษา ภาวะแทรกซ้อน
เพื่อป้องกันการสลายของกระดูก และลดการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน การรักษาด้วยฮอร์โมนเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุนและลดการหักของกระดูก โดยเฉพาะสตรีที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ที่มีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน หรือสตรีที่ระดูหมดก่อนกำหนด 1.ยาที่มิใช่ฮอร์โมนทดแทนที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน มักศึกษาในสตรีอายุเกิน 60 ปี
2. ในรายที่ใช้ฮอร์โมนต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เมื่ออายุเกิน 60 ปี ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ฮอร์โมนระยะยาว และพิจารณาทางเลือกในการรักษาอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียง
เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดโคโรนารี (coronary heart disease) สตรีที่หมดระดูก่อนกำหนด มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดโคโรนารีสูง จึงควรพิจารณาให้ฮอร์โมน โดยให้นานจนถึงอายุเฉลี่ยของการหมดระดูโดยธรรมชาติ การเริ่มใช้ฮอร์โมนในสตรีวัยหมดระดูที่มีอายุมากไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่อาจได้ประโยชน์หากเริ่มใช้ในสตรีอายุน้อยตั้งแต่เริ่มหมดระดู และใช้ในระยะเวลา 5-10 ปี

การใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรใช้ในสตรีที่มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามโดยพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ควรเลือกชนิด การบริหารยา ขนาดและระยะเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสตรีแต่ละราย โดยดูจากอายุ อาการ ข้อบ่งชี้ รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ที่มา : นพ. กระเษียร ปัญญาคำเลิศ