Sort by
Sort by

พ่อแม่พึงระวัง ลูกอ้วนจ้ำม่ำน่ารัก  แต่เสี่ยงโภชนาการต่ำ

พ่อแม่พึงระวัง ลูกอ้วนจ้ำม่ำน่ารัก แต่เสี่ยงโภชนาการต่ำ

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก 2009 และสำนักโภชนาการ กรมอนามัย ปี 2010 พบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 จำนวน 8.5% และเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปีจำนวน15.09% มีภาวะอ้วน จากผลการศึกษาวิจัยที่ติดตามเด็กอ้วนไประยะยาวพบว่าหนึ่งในสามของเด็กที่ อ้วนในวัยก่อนเรียน และครึ่งหนึ่งของเด็กอ้วนในวัยเรียนจะยังคงอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อ้วนโอกาสที่จะเป็นผู้ใหญ่อ้วนยิ่งสูงมาก ภายใต้ความจ้ำม่ำน่ารักของเด็กอ้วนนั้น มักมีปัญหาสุขภาพแฝงอยู่ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะนอนกรน นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบด้านจิตใจ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง กังวล และซึมเศร้าได้ ดังนั้น โภชนาการถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการดูแลลูกน้อยในทุกช่วงวัย แต่บางครั้งการดูแลเรื่องโภชนาการที่ครบด้วยคุณค่า แต่ได้รับในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย หรือการรับอาหารที่ปรุงแต่งกลิ่นและรสอาหารเพื่อให้ลูกน้อยรับประทานได้ง่าย ขึ้น ก็เป็นหนึ่งในตัวสนับสนุนให้ลูกน้อยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานได้เช่นกัน วันนี้เราลองมาดูกันสิว่า แบบไหนที่ถือว่าลูกน้อยของเรา อ้วนจ้ำม่ำเกินไปแล้วละ ลองทดสอบง่ายๆ ด้วย การประเมินการเจริญเติบโตโดยดูที่ "น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับอัตราการเพิ่มของความสูง" เป็นการดูลักษณะของการเจริญเติบโตได้ว่าเด็กมีน้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงหรือ ไม่ เพื่อบอกว่าเด็กมีรูปร่างสมส่วน อ้วนหรือผอม ตามเกณฑ์อ้างอิงน้ำหนักส่วนสูง โดยดูจากตารางเปรียบเทียบน้ำหนักต่อความสูง (Weight for height chart)

กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชาย อายุ 0-2 ขวบ

 

กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศหญิง อายุ 0-2 ขวบ





กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชาย อายุ 2-7 ขวบ



กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศหญิง อายุ 2-7 ขวบ



ก่อนคลอด ทารกมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือคุณแม่โรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนของเด็ก

เด็กทารก การ ให้อาหารเสริมแก่ทารกในช่วงอายุที่น้อยเกินไปทารก อาจทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกินไป ส่งผลให้น้ำนหักเกินเกณฑ์ได้ ดังนั้น ในช่วง 6 เดือนแรก ควรได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว และหลังจากจากนั้นจึงสามารถเริ่มอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการมีสาร อาหารครบ 5 หมู่ที่จำเป็นต่อร่างกายลูกน้อยเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย ด้วยอาหารเสริมจากธัญพืช ที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ อย่างฟักทอง มะเขือเทศ แครอท ไม่ใส่ผงชูรสและวัตถุกันเสีย เพื่อลูกน้อยย่อยง่ายและดูดซึมได้ง่ายด้วยเช่นกัน

เด็กวัยหัดเดิน / ก่อนวัยเรียน การเจริญเติบโตของเด็กควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ เพราะพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะประมาทน้ำหนักของบุตรหลาน หลายครอบครัวยังมีความเชื่อความนิยมวัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในจิตใจของเราว่าเด็ก อ้วนเป็นเด็กที่มีสุขภาพดี เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนควรได้รับการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาร่างกาย อย่างกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งเป็นต้น ที่สำคัญผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดี ของการส่งเสริมให้เด็กกินผักผลไม้ และธัญพืช ทั้งนี้ควรให้เด็กพักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน และจำกัดเวลาในการใช้สื่อต่างๆ ทั้งทีวี คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเพื่อ จำกัดพฤติกรรมการเปิดรับโฆษณาอาหารขยะ เท่านี้ลูกน้อยก็เราก็จะมีสุขภาพดีแข็งแรงสมวัยแล้วค่ะ