Sort by
Sort by

พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกพรุน

พฤติกรรมเสี่ยงกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือการที่เนื้อกระดูกบางลง โดยธรรมชาติร่างกายจะมีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุดในวัย 30-35 ปี หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ มีการสลายมากกว่าการสร้างใหม่ ทำให้มวลกระดูกลดลง บางลง และเกิดโรคกระดูกพรุนได้

กระดูกพรุนถามหาแน่ ถ้าคุณ...

  • นั่งทำงานทั้งวัน โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายไปไหนบ้างเลย หรือขาดการออกกำลังกาย ทำให้แคลเซียมไม่ถูกดูดซึมกลับเข้ากระดูก
  • กินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ เช่น ไม่ชอบดื่มนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม เพราะนมเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของแคลเซียม และแคลเซียมในนมยังสามารถดูดซึมได้ดีที่สุดอีกด้วย ดังนั้นจึงควรใส่ใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมอยู่เสมอ เช่น เครื่องดื่มธัญญาหารเสริมแคลเซียม  
  • ออกมาทำงานแต่เช้า กลับบ้านมืด ไม่ถูกแสงแดดเลย ทำให้ไม่ได้รับวิตามินดี เพื่อไปเสริมสร้างกระดูก
  • การสูบบุหรี่  แคลเซียมมีบทบาทสำคัญในการรักษาความสมดุลระหว่างค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือด  การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด  ร่างกายต้องใช้แคลเซียมเข้ามาปรับสมดุลกรดจากบุหรี่  ดังนั้น บุหรี่ทุกๆ มวนจึงเป็นตัวที่ทำให้แคลเซียมละลายจากกระดูก 
  • กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป  เพราะการกินโปรตีนมากเกินไปจะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากผิดปกติ
  • กินอาหารเค็มจัดหรือมีโซเดียมมาก เพราะเกลือโซเดียมที่มากเกินจะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมจากลำไส้ลดลง  ร่างกายจึงไม่สามารถนำแคลเซียมมาใช้ได้  และยังทำให้การสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกออกมาทางไตมากขึ้นด้วย
  • ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากเกินไป  เพราะในน้ำอัดลมมีส่วนผสมที่ชื่อ "กรดฟอสฟอริก"   การดื่มน้ำอัดลมมากทำให้ความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดเสียไป (มีฟอสฟอรัสมากขึ้น ) ร่างกายจึงจำเป็นต้องสลายแคลเซียมออกจากคลังกระดูก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสในเลือดสูงเกินไปจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต