Sort by
Sort by

คำนี้ดูแลหัวใจ

คำนี้ดูแลหัวใจ

1. ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดที่มีไขมัน เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาช่อน ปลาดุก จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับโคเลสเคอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากการอุดตันของหลอดเลือด

2. ผักผลไม้หลากสี จะได้สารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของโคเลสเตอรอลชนิดเลวหรือ แอลดีแอลโคเลสเตอรอลในเลือด ที่จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น จนเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบได้

3. ไฟเบอร์ที่ได้จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี รวมทั้งซีเรียลที่ทำจากโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด ขนมปังโฮลวีท หรือเครื่องดื่มธัญญาหารที่ทำมาจากโฮลเกรน จะช่วยให้หัวใจแข็งแรง

4. ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ วอลนัท เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวค่อนข้างสูงที่ช่วยลดแอลดีแอลโคเลสเตอรอลในเลือด

5. วิตามินอีจากธรรมชาติ จะทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีในรูปอาหารเสริม ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของแอลดีแอลโคเลสเตอรอล จึงช่วยลดความเสี่ยงของการอุดตันในผนังหลอดเลือดแดง อาหารที่มีวิตามินอีมาก ได้แก่ อะโวคาโด ผักสีเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว

6. สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระเทียมสด จะมีสารอัลลิซิน ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด   และสารแคปไซซินในพริก จะช่วยชะลอการเกาะตัวของลิ่มเลือด และเพิ่มการละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน

7. อาหารที่มีไฟโตสเตอรอล ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโพด ถั่วต่างๆ จมูกข้าว เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ บร็อกโคลี รวมทั้งน้ำมันพืชบางชนิดอย่างน้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด ซึ่งไฟโตสเตอรอลนี้จะแย่งการดูดซึมกับโคเลสเตอรอลในอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้โคเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วย