Sort by
Sort by

การป้องกันโรคภูมิแพ้

การป้องกันโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาด และมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก กระบวนการของโรคภูมิแพ้เริ่มต้นด้วยการแพ้อาหาร ซึ่งมักจะพบในช่วงอายุแรกเกิดถึงอายุประมาณ 3 ปี โดยมีอาการแสดงทางผิวหนังอักเสบ และเมื่อโตขึ้นอาการแพ้อาหารจะหายไปพร้อมทั้งอาการทางผิวหนังก็จะพบน้อยลง แต่กลับพบว่าเด็กเหล่านี้จะพัฒนาไปเป็นการแพ้อากาศแทนโดยมีอาการของหวัดเรื้อรัง หรือหอบหืดเมื่อโตขึ้น

เนื่องจากโรคภูมิแพ้มีสาเหตุจากเรื่องพันธุกรรมเป็นหลัก และมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มากระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ถ้าแม่เป็น โรคภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นจะสูงถึงร้อยละ30-50 แต่ ถ้าพ่อเป็นจะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นร้อยละ30 และถ้าพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเป็นจะเพิ่มสูงถึงร้อยละ70 แต่ถ้าไม่มีใครในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้เลย ลูกก็ยังจะมีโอกาสเป็นได้ร้อยละ 14 การป้องกันโรคภูมิแพ้จึงมีหลักการคิดว่าถ้าเราสามารถป้องกันการแพ้นมวัวในเด็กทารกได้ก็จะสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้อื่นๆเมื่อโตขึ้นได้

เด็กที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่

1. มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวถือเป็นปัจจัยสำคัญโดยใช้คะแนนประเมินความเสี่ยง ที่สามารถทำนายการเกิดโรคภูมิแพ้ คือ คะแนนที่ > 2 เป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงตามตารางที่ 1

2. เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหารของเด็กจะพัฒนาสมบูรณ์มากขึ้นหลังเด็กอายุ 2 ปี แต่เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีพัฒนาการด้านนี้ช้ากว่า จะทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะแพ้นมวัวสูงขึ้นมาก

3. เด็กที่ผ่าคลอดจะมีปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้น้อยกว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ และจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้จมูก ตาอักเสบ แพ้อาหาร และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารมากกว่าเด็กที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ 2-3 เท่า

ข้อสรุปในการป้องกันโรคภูมิแพ้คือยังแนะนำให้ทานนมแม่อย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรก โดยแม่ไม่จำเป็นต้องงดทานนมวัว และพยายามหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่แดงในช่วง 6 เดือนแรก หรืออาหารทะเลควรเสริมหลังอายุ 1 ปีไปแล้ว และไม่แนะนำการงดอาหารใดๆที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่ก็ไม่ควรเน้นให้แม่ทานนมวัวเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีการเสริมแคลเฃียมชนิดเม็ดในแม่แทนการทานนมวัว และในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็อาจจะเลือกนมสูตรพิเศษที่ย่อยสลายโปรตีนนมวัวแล้ว (pHF) รวมทั้งต้องควบคุมสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ปราศจากฝุ่น สัตว์เลี้ยง และควันบุหรี่ เป็นการช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ได้ แต่สำหรับนมถั่วเหลืองและนมแพะนั้นไม่สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ได้

ตารางที่ 1 ตรวจสอบคะแนนความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้ของเด็กในครรภ์
 
ครอบครัว
(พ่อ แม่ พี่)
ลักษณะและความรุนแรงของอาการภูมิแพ้       การประเมินผล 
  อาการหลัก
หอบหืด ผื่นแพ้ผิวหนัง
แพ้อากาศ แพ้นมวัว
อาการรอง
ลมพิษ แพ้ยา แพ้อาหาร
เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้
   
   เป็น  ไม่แน่ใจ  ไม่เป็น  เป็น  ไม่แน่ใจ ไม่เป็น คะแนน
สูงสุด
คะแนน
ที่ได้
 คุณพ่อ  2  1  0  1  0.5  0  3  
 คุณแม่  3  2  0  1 0.5  0  4  
 พี่  2  1  0  1  0.5  0  4  
  ได้คะแนน
รวม
 


 
ทั้งนี้ คุณแม่สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ ได้ที่นี่   

ที่มา: รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์