Sort by
Sort by

กุมารแพทย์ระดับโลกแนะ “โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ส่งผลสำคัญต่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย”

Back to Press releases



  • โภชนาการที่ดีของแม่ในช่วง 1,500 วันแรกนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนหลังคลอด สามารถลดโอกาสในการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และโรคอ้วนในเด็กได้

กรุงเทพฯ (20 มิ.ย. 55) – วันนี้ สถาบันโภชนาการเนสท์เล่ โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดสัมมนา ให้ความรู้สื่อมวลชนในหัวข้อ “ก้าวแรกของความเป็นแม่ ใส่ใจดูแลด้วยโภชนาการที่ดี เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาวของการเกิดโรคในเด็ก อาทิ โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และโรคอ้วนได้

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ระดับโลกเชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ระดับโลก ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ด็อกเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ฮัคช์เค่ ประธานสถาบันโภชนาการเนสท์เล่ และศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เอริกา ไอโซเลารี คณะวิจัยโภชนาการ ภูมิแพ้วิทยาภูมิคุ้มกันเยื่อบุผิวและจุลินทรีย์ในลำไส้ มหาวิทยาลัยเทอร์คู ประเทศฟินแลนด์ เป็นวิทยากรรับเชิญ ร่วมด้วยแพทย์หญิง ด็อกเตอร์ ศิรินุช ชมโท ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี คุณมาลี กิตติกัมปนาท ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการและการแพทย์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ให้การต้อนรับคุณมาลี กิตติกัมปนาท ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการและการแพทย์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “อุบัติการณ์โรคภูมิแพ้ในเด็กเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก และยังเป็นปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพทางใจของผู้ปกครองทุกคน สถาบันโภชนาการเนสท์เล่จึงจัดการสัมมนาเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเริ่มต้นได้ด้วยการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ด็อกเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ฮัคช์เค่ ประธานสถาบันโภชนาการเนสท์เล่ อธิบายว่า “ภาวะโภชนาการในช่วง 1,500 วันแรก (ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด) มีผลต่อ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก รวมถึงการเกิดโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคภูมิแพ้
โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงโรคอ้วน ในเวลาต่อมาอีกด้วย” ศ. นพ. ดร. ฮัคช์เค่

ยกตัวอย่างว่า “ภาวะทุพโภชนาการในมดลูก โดยเฉพาะการขาดวิตามินบี 12 และโฟเลท ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของยีนหลัก ซึ่งตัวอ่อนในครรภ์ที่ขาดสารอาหารจะถูกร่างกายสั่งให้เก็บสะสมพลังงานที่
ได้รับไว้ในร่างกาย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่”

“ปริมาณของกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ ดีเอชเอ (DHA) และยีน Fatty Acid Desaturase (FADS) มีความสัมพันธ์ทางด้านสุขภาพของทารก ยีน FADS จะเป็นตัวกำหนดสถานะของ DHA ในขณะตั้งครรภ์ โดยดีเอชเอทำหน้าที่ควบคุมความเข้มข้นของน้ำนมแม่ ซึ่งแปรผันตรงกับปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพใน
น้ำนม หากทารกได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง ในขณะเดียวกัน ทารกที่ได้รับ

นมผงที่มีส่วนประกอบของโปรตีนในปริมาณสูงนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกินในเวลาต่อมามากกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่หรือนมผงสูตรไฮโปอัลเลอเจนิก” ศ. นพ. ดร. ฮัคช์เค่
ยกตัวอย่างเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เอริกา ไอโซเลารี คณะวิจัยโภชนาการ ภูมิแพ้วิทยาภูมิคุ้มกันเยื่อบุผิว และจุลินทรีย์ในลำไส้ มหาวิทยาลัยเทอร์คู ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า “จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเป็น ตัวการสำคัญในการกระตุ้นจุลินทรีย์อื่นๆ ให้ทำหน้าที่พัฒนากระบวนการเจริญเติบโต ซึ่งความชุกของจุลินทรีย์
ดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรม รูปแบบการคลอด สิ่งแวดล้อม และการให้อาหารทารก โดยโภชนาการของแม่ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มข้นของน้ำนม เพื่อบำรุงให้น้ำนมอุดมไปด้วยคุณประโยชน์แก่ร่างกาย ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้ประโยชน์ในการปกป้องเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นการพัฒนาระบบ-ภูมิคุ้มกันของทารกอีกด้วย”

“วิธีการคลอดแบบธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเนื้อเยื่อ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรค-ภูมิแพ้ในเด็ก นอกจากนี้ จุลินทรีย์สุขภาพยังช่วยควบคุมและป้องกันอาการอักเสบเฉพาะที่ภายในระบบภูมิคุ้มกัน โดยที่คุณแม่สามารถเลือกบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์สุขภาพ เพราะคุณแม่เป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะให้ลูกน้อยเติบโตอย่างมีสุขภาพดีได้” ศ. พญ. ไอโซเลารี กล่าว

แพทย์หญิง ด็อกเตอร์ ศิรินุช ชมโท ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย เผยว่า “นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารและภูมิต้านทานที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งเด็กควรได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือนแรกของชีวิตและต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น อย่างไรก็ตามคุณแม่จำนวนมากมักประสบปัญหา
ในการให้นมลูก ซึ่งส่งผลให้ลูกดื่มนมแม่อย่างต่อเนื่องน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยมักมีสาเหตุมาจากท่าอุ้มและท่าดูดนม ที่ไม่เหมาะสม และ/หรือปัญหาที่แม่มีน้ำนมไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการ
เริ่มต้นให้นมแม่ให้เร็วที่สุดหลังคลอดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมรวมทั้งอาจหาคำแนะนำปรึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนมแม่”

“คุณแม่ทุกคนต้องการให้ลูกลืมตาดูโลกด้วยสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งโภชนาการของคุณแม่ตั้งแต่

เริ่มตั้งครรภ์นั้นส่งผลกระทบโดยตรงแก่ลูกน้อย ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์สุขภาพ สถาบันโภชนาการเนสท์เล่เล็งเห็นความสำคัญของจุลินทรีย์สุขภาพ เราจึงคิดค้นและพัฒนาคุณภาพของจุลินทรีย์สุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคุณแม่ และเพื่อประโยชน์
สูงสุดแก่ลูกน้อยให้มีสุขภาพแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอด” คุณมาลี กล่าวสรุป