Sort by
Sort by

ภาวะทุพโภชนาการในคนสูงอายุ

ภาวะทุพโภชนาการในคนสูงอายุ
ภาวะทุพโภชนาการคืออะไร

ภาวะทุพโภชนาการคือภาวะที่มีปัญหาด้านโภชนากาเช่น ภาวะโภชนาการเกินหรือต่ำกว่ามาตรฐาน เในบทนี้ เราจะเน้นไปที่ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐาน
ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐานอาจเป็นเรื่องที่ร้ายแรงได้ หากบุคคลนั้น :
  • มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กก./ตารางเมตร2
  • มีน้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่า 10% ภายในระยะเวลา 3-6 เดือน
  • มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กก./ตารางเมตร และมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่า 5% ภายในระยะเวลา 3-6 เดือน
คนทั่วไปที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร คือบุคคลที่รับประทานอาหารน้อย หรือไม่รับประทานอะไรเลยมากกว่า 5 วัน และ/หรือหากยังคงดำเนินสภาพนี้ต่อไป ภาวะขาดสารอาหารเป็นปัญหาสำคัญในสหราชอาณาจักร โดยจำนวน 1 ใน 4 ของผู้ใหญ่ทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สถานบำบัดด้านจิตเวช หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เป็นที่ความจริงที่ต้องยอมรับว่า ทั่วโลกในขณะนี้จำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าภาวะขาดสารอาหารก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ภาวะขาดสารอาหารยังเกี่ยวเนื่องกับอาการป่วย และการตายของผู้สูงอายุที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้ชีวิตอยู่คนเดียว รวมถึงผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ที่สถานดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรงพยาบาล

BAPEN NSW 2007 เผยถึงอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหารในกลุ่มผู้สูงอายุ:
  • 35% ของผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 80 ปี
  • 25-35% ของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี
  • 25% ของผู้สูงอายุที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี
สาเหตุของภาวะขาดสารอาหาร ได้แก่ :
  • การบริโภคอาหารที่ลดลง : ความอยากอาหารที่ลดลงเนื่องจากอาการป่วย การหลีกเลี่ยงการทานอาหาร อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือความเจ็บปวดในขณะบริโภคอาหาร ความหดหู่ ความกระวนกระวาย ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือติดยาบางชนิด
  • การที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้: อาจมีสาเหตุเนื่องจากตรวจรักษาทางปาก การไม่รู้สึกตัว ความสับสน ความยากลำบากในการป้อนอาหารให้ตนเองเนื่องจากอ่อนแอ ไม่มีกำลัง โรคปวดไขข้อ หรืออาการอื่นๆ อาทิ โรคพาร์กินสัน การกลืนอาหารลำบาก อาเจียน อาการเจ็บภายในปาก มีสุขภาพปากที่ไม่ดี หรือการงอกของฟัน ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดจากการผ่าตัด หรือการตรวจรักษาอื่นๆ
  • การขาดหรือไม่มีอาหาร : เนื่องจากความจน คุณภาพอาหารที่บ้าน ในโรงพยาบาล หรือสถานดูแลผู้สูงอายุที่ต่ำ มีปัญหาในการซื้อและทำอาหาร
  • การดูดซึมอาหารบกพร่อง: เนื่องมาจากปัญหาทางการแพทย์หรือการผ่าตัด ซึ่งส่งผลต่อการย่อยอาหาร ท้อง ลำไส้ ตับอ่อน และ/หรือการดูดซึม
  • ระบบเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลง: ระบบเผาผลาญที่เพิ่มมากขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องมาจากอาการป่วย อาทิ มะเร็ง การผ่าตัด การไม่ทำงานของอวัยวะ หรือทรีตเมนต์
  • การสูญเสียพลังงานที่มากเกินไป: อาเจียน ท้องเสีย การสูญเสียที่เกิดจากการให้อาหารทางสายยาง หรือ หรือการระบายน้ำออก ผิวขับน้ำออกมามากเกิดไปจากการโดนแดดเผา
คนที่เสี่ยงต่อภาวะขาดอาหาร ดังที่เราได้เห็นมาแล้ว กลุ่มต่างๆ ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร:
  • คนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาล
  • คนสูงอายุ (16% ในสถานดูแลผู้สูงอายุ)
  • คนที่เป็นโรคมะเร็ง และอาการระยะยาวต่างๆ
  • คนที่เพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัด
ผลกระทบจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะขาดอาหารมักจะไม่ถูกสังเกตเห็น และหากไม่ได้รับการรักษา มันอาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุชภาพ ได้แก่ :
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
  • แผลหายช้ายิ่งขึ้น
  • ระบบทางเดินหายใจบกพร่อง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง และหดหู่
การตรวจพบโรคขาดสารอาหาร หากคุณเจอผู้ป่วยที่คุณสงสัยว่ากำลังขาดสารอาหาร หรือมีแนวโน้มว่าจะขาดสารอาหาร เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องระบุถึงปัญหาในทันที เพื่อที่คุณจะได้ให้ความช่วยเหลือ และหาวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด

การวัดน้ำหนัก และส่วนสูง รวมถึงการประเมินภาวะโภชนาการทางกายภาพเป็นเป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการประเมิน ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับการตอบคำถามคำถามต่อไปนี้:
  • ผู้ป่วยของคุณได้รับประทานอาหารปกติและหลากหลายในช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมาหรือไม่?
  • ผู้ป่วยของคุณมีน้ำหนักตัวที่ลดลงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจในช่วงเร็วๆ นี้หรือไม่? โรคอ้วน หรือความสมดุลของของเหลวเปลี่ยนแปลง และ อาจปิดบังการสูญเสียเนื้อเยื่อเนื้อแดง การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจหากเกิดกับผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอ้วนหรือไม่
  • ผู้ป่วยของคุณสามารถรับประทาน กลืน ย่อย และดูดซึมอาหารอย่างเพียงพอและปลอดภัย เพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายของตนหรือไม่?
  • ผู้ป่วยของคุณจำต้องได้รับสารอาหารทุกชนิดหรือบางชนิดในประมาณมากหรือไม่? ความเครียดจากการต้องผ่าตัด อาการบาดเจ็บ การติดเชื้อ โรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร บาดแผล แผลกดทับ หรือประวัติในการรับประทานอาหารที่ไม่ดีอาจส่งผลต่อความต้องการนี้
  • การรักษา ความจำกัดทางกายภาพ หรือความล้มเหลวของอวัยวะ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับประทานสารอาหารที่ร่างกายของผู้ป่วยของคุณต้องการในปัจจุบัน หรืออนาคตหรือไม่?
  • ผู้ป่วยของคุณได้สูญเสียสารอาหารปริมาณมากผ่านทางการอาเจียน ท้องเสีย หรือการดูดออกทางศัลยศาสตร์ ฯลฯ หรือไม่?
  • การตอบคำถามเหล่านี้อาจช่วยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยของคุณจัดอยู่ในภาวะขาดสารอาหารหรือไม่? น้ำหนักตัวที่น้อย เสื้อผ้าหลวม ผิวแห้ง บาดแผลหายช้า ดูไร้อารมณ์ กล้ามเนื้อที่น้อยลง ไม่อยากอาหาร การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย? ควรหารือและพูดคุยกับญาติของผู้ป่วยร่วมด้วย
  • จากการตอบคำถามด้านบน ผู้ป่วยของคุณสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ด้วยความเต็มใจจากอาหารที่มีอยู่ได้หรือไม่
ความเข้าใจในการตั้งคำถามเหล่านี้มาพร้อมกับเวลาและความเชี่ยวชาญ มีวิธีการประเมินจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยระบุว่าคนใกล้ชิดของคุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหารหรือไม่ คุณได้ทราบแล้วว่ามีอัตราความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคขาดสารอาหารและการขาดการจัดการกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อย่างถูกต้อง ดังนั้น คุณจึงควรทำการตรวจสอบผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณเกี่ยวกับด้านโภชนาการเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถบ่งชี้ถึงภาวะที่เป็นโรคขาดสารอาหารได้ทันท่วงที โดยไม่มองเลยข้ามไป

การประเมินผลเหล่านี้จะสามารถช่วยชี้ทางในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดสารอาหาร การตรวจหาโรคขาดสารอาหาร หรือความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ซึ่งการวินิจฉัยที่แน่นอนควรได้รับการดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพซึ่งมีทักษะและการฝึกอบรมที่เหมาะสม