Sort by
Sort by

ถาม-ตอบ การรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่น

ถาม-ตอบ การรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่น
ถาม: ลูกสาววัยรุ่นของฉันมักบ่นเสมอว่าตัวเองอ้วน ฉันควรทำอย่างไรเธอจะเข้าใจถึงการมีรูปร่างที่สุขภาพดี

ตอบ: ความเข้าใจเกี่ยวกับความอ้วนแบบนี้เป็นเรื่องปกติในหมู่เด็กผู้หญิง แม้จะเป็นคนที่ไม่อ้วนเลยก็ตาม จากรายงานชิ้นหนึ่งที่ทำกับเด็กผู้หญิง 494 คนที่มีอายุ 9 – 18 ปี พบกว่า เด็กผู้หญิงมากกว่าครึ่งที่คิดว่าตัวเองอ้วน ในขณะที่มีเพียง 15% เท่านั้นที่เป็นโรคอ้วนเมื่อดูจากอัตราของส่วนสูงและน้ำหนักที่เปรียบเทียบกัน อาการกลัวอ้วน การหมกมุ่นกับอาหาร และการสวาปามอาหารมากไปนั้นพบว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กผู้หญิงอายุ 10 ปีขึ้นไป เป็นเรื่องน่าเศร้าที่แม้ว่าเด็กๆ จะมีลักษณะรูปร่างที่หลากหลายและรูปแบบการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน แต่เด็กๆ ก็มักจะเห็นรูปร่างและขนาดเพียงไม่กี่แบบจากสื่อต่างๆ แถมเด็กๆ ยังอาจได้ประสบการณ์จากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแม่ คุณครู และเพื่อน ที่มักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องรูปร่างของตัวเองเช่นกัน

ลองพูดคุยกับลูกสาวของคุณถึงสาเหตุที่ทำไมการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้หลากหลายนั้นถึงสำคัญต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาของร่างกาย และความแข็งแรง ให้ความสำคัญกับสุขภาพที่ดีมากกว่าเรื่องของน้ำหนักตัว และให้พวกเขาได้เห็นถึงตัวอย่างดีๆ อย่างเช่นนักกีฬาที่มีน้ำหนักตัวปรกติ ทำให้เธอมั่นใจว่าเธอกำลังเจริญเติบโตตามเกณฑ์ และความผอมไม่ได้มีเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราดูดีได้

ถ้าลูกสาวของคุณมีทีท่าสนใจในการลดอาหารและวิธีอื่นๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก ลองขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์ หรือนักโภชนาการ และถ้าจำเป็น ก็ลองหาที่ปรึกษามืออาชีพที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการกินอาหารผิดปกติไว้ด้วย

ถาม: ลูกอยากเป็นมังสวิรัติ ดิฉันจะมีวิธีอย่างไรที่ช่วยให้เขารับสารอาหารที่ต้องการอย่างเพียงพอ

ตอบ: อย่างแรกเลยก็คือ ค้นหาว่าเขาอยากเป็นมังสวิรัติประเภทไหน แบบเคร่งครัด ซึ่งจะรับประทานอาหารที่มาจากพืช อย่างผลไม้, ผัก, ธัญพืช, ถั่ว, เมล็ดพืช และถั่วประเภทมีฝัก (ถั่วชนิดกินได้ทั้งฝัก, ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง, ถั่วเลนทิล และถั่วลิสง) หรือมังสวิรัติประเภทที่ดื่มนมและบริโภคผลิตภัณฑ์จากนม หรือมังสวิรัติประเภทที่ดื่มนม บริโภคผลิตภัณฑ์จากนม และกินไข่ได้

ขั้นต่อไป เด็กๆ ที่ปฏิบัติตัวเป็นมังสวิรัติเคร่งครัดควรจะให้ความสำคัญกับโภชนาการเหล่านี้เป็นพิเศษ ลองดูตัวเลือกต่อไปนี้
  • โปรตีน: ให้รับประทานไข่ ถั่วผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช และผัก
  • แคลเซียม: ถ้าลูกของคุณหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม ให้ลองเครื่องดื่มนมถั่วเหลืองหรือเครื่องดื่มที่ทำจากข้าวที่เสริมแคลเซียม, เต้าหู้เสริมแคลเซียม, น้ำผลไม้เสริมแคลเซียม, บร็อคโคลี, ผักกวางตุ้ง, ปลาซาร์ดีน, อัลมอนด์ และซีเรียลอาหารเช้าเสริมแคลเซียม
  • ธาตุเหล็ก: แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก, ถั่ว, ผักใบเขียว และผลไม้ตากแห้ง
  • ธาตุสังกะสี: พบมากในถั่ว, ชีสเนื้อแข็ง, ผลิตภัณฑ์ธัญพืชแบบไม่ขัดสี, จมูกข้าว, ถั่วเปลือกแข็ง และเต้าหู้
  • วิตามินบี 12: เด็กที่รับประทานมังสวิรัติแบบเคร่งครัดต้องการอาหารเสริมหรืออาหารที่มีวิตามินบี 12 อย่างนมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน, ยีสต์เสริมวิตามิน และซีเรียลอาหารเช้าบางชนิด