Sort by
Sort by

กินแมคโครไบโอติกส์กันไหม

กินแมคโครไบโอติกส์กันไหม
อย่าเพิ่งร้อง ยี้ เพียงแค่ได้ยินชื่อ เพราะอาหารสุขภาพนั้นไม่ได้รสชาดจืดชืดไปเสียหมด เราสามารถปรุงอาหารเพื่อสุขภาพรสชาติอร่อยกลมกล่อมจากเครื่องปรุงตาม ธรรมชาติ อุดมไปด้วยคุณค่า ช่วยต้านโรคร้าย และยังช่วยลดความอ้วนที่มากวนใจ ซึ่งเทรนด์การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลกรูปแบบ หนึ่งในขณะนี้ คือ “อาหาร Macrobiotics(แมคโครไบโอติกส์)” รับรองว่าถ้าได้ลองสักครั้งจะติดใจ

ทำความรู้จักอาหาร Macrobiotics

Macrobiotics เป็นอาหารธรรมชาติที่บางครั้งได้รับการขนานนามว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งและ อาหารต้านสารพัดโรค โดยการรับประทานแบบ Macrobiotics นั้นเป็นวิถีสุขภาพทางเลือกที่พาเรากลับไปสู่การใช้ชีวิตที่สมดุล สอดคล้องกับธรรมชาติ และหากรับประทานเป็นประจำจะทำให้มีสุขภาพดี มีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาว ต้นกำเนิดของอาหาร Macrobiotics นั้นมาจากปรมาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ George Ohsawa เป็นผู้คิดค้นวิถี Macrobiotics จากรากฐานของอาหารธรรมชาติที่นำมาผสมผสานกับแนวทางการดำเนินชีวิตจากประเทศ จีน ซึ่งก็คือทฤษฎี หยิน-หยาง นั่นเอง

หลักในการกินแบบ Macrobiotics

หัวใจสำคัญของ Macrobiotics คือความพอเหมาะพอดี หมายถึง ให้กินตามที่ร่างกายต้องการอย่างแท้จริง ทั้งชนิดและปริมาณของอาหารและต้องเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด ปราศจากสารพิษต่างๆ อีกทั้งในการประกอบอาหารก็ควรปรุงแต่งรสชาติแบบพอดี ไม่มากจนกลบรสชาติแท้จริงของอาหาร ทั้งนี้ยังทำได้โดยการใช้เครื่องปรุงรสจากธรรมชาติที่ไม่ใช้สารเคมี สังเคราะห์ ในการแต่งรส สี หรือกลิ่นโดยเด็ดขาด ซึ่งเมื่อใดร่างกายได้รับแต่อาหารที่เหมาะสมและมีคุณภาพดีในปริมาณที่เพียง พอ ประกอบกับการออกกำลังที่พอเหมาะและมีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ เมื่อนั้นสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาวก็จะอยู่กับคุณอย่างแน่นอน

หลักในการทำอาหารแบบ Macrobiotics

1. คัดสรรวัตถุดิบ ทั้งแบบที่ไร้สารพิษและแบบที่ให้พลัง นอกจากนี้ในการเลือกสรรวัตถุดิบก่อนที่จะนำมาปรุงในแต่ละมื้อนั้น จะต้องสร้างความสมดุลให้กับร่างกายตามหลัก หยิน - หยาง ที่สัมพันธ์กับร่างกายของแต่ละคนด้วย

2. จัดสัดส่วนอาหารตามโภชนาการแบบปิรามิด (การทานอาหารจำพวกผัก ธัญพืช ข้าวกล้องและถั่วเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่เลือกทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผลไม้และของหวานแต่น้อยหรือนานๆครั้ง)

3. ใช้วิธีการปรุงแบบไม่เอาส่วนเกินของเครื่องปรุงเข้าไปทำร้ายซ้ำเติมเซลล์ของ เรา เช่น การใช้น้ำมันน้อยหรือไม่ใช้น้ำมันเลย เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้วิธีการปรุงที่ทำให้อาหารมีคุณภาพและคุณค่าที่เหมาะสม โดยปรุงให้เป็นกลางค่อนไปทางด่างเล็กน้อย เช่น การใช้มิโซะซีอิ๊วหมักและสาหร่าย ทั้งนี้ก็เพื่อให้อาหารมีคุณสมบัติความเป็นกรด-ด่างใกล้เคียงกับเลือดมากที่ สุด (pH7.4)

4. ควรเคี้ยวให้ได้คำละ 30 - 50 ครั้ง เพื่อช่วยในการย่อย และเพิ่มภูมิต้านทาน ฯลฯ

5. ใช้อุปกรณ์และภาชนะที่ปลอดสารพิษ เช่น พวกแสตนเลส ไม้และเซรามิค แทนการใช้อลูมิเนียม แก๊ส ถ่านไม้ และไมโครเวฟ

อย่า ลืมว่าการไม่มีโรคนั้นเป็นลาภอันประเสริฐที่ทุกคนปรารถนา อย่ารอให้เกิดโรคเสียก่อนจึงแก้ไข แต่ควรป้องกันโรคด้วยการดำเนินและเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อตัว คุณและคนที่รักเสียแต่ตอนนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป