Sort by
Sort by

เกษตรกรรมยั่งยืน ปัจจัยชี้ขาดอนาคต

Back to Press releases

ภายในปี ค.ศ.2050 โลกนี้จะต้องเลี้ยงประชากรมากกว่า
เก้าพันล้านคน เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการผลิตอาหารขึ้นเป็นสองเท่า
จากที่ผลิตได้ในปัจจุบัน

นี่ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เมื่อสิบปีที่แล้ว เนสท์เล่เป็นหนึ่งในสามของผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ซึ่งได้ริเริ่มโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเป็นโครงการของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในระดับโลกเพียงรายเดียวสำหรับการเกษตรอย่างยั่งยืน

เราต่างรู้ดีว่าเมื่อจำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และมีผู้บริโภคหลายล้านคนที่มีฐานะดีขึ้น การขาดแคลนวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีคุณภาพสูง ไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจของเราเท่านั้นที่จะตกอยู่ในความเสี่ยง แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจอาหารทั่วโลกอีกด้วย

การแบ่งปันความรู้

โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2002 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดริเริ่มสำหรับ รองรับการพัฒนาและการนำเกษตรกรรม
แบบยั่งยืนมาปฏิบัติจริง

ในตอนนั้น เนสท์เล่ได้เริ่มโครงการการเกษตรกรรมยั่งยืนมาเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว
แต่เราตระหนักดีว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการเกษตรได้โดยลำพัง

เราเชื่อว่าการร่วมมือกับบริษัทอื่นเพื่อกำหนดหลักการร่วมกัน และนำเอาหลักการดังกล่าวไปใช้
กับเกษตรกรผู้ผลิตจะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เรามีร่วมกันได้

การร่วมมือกับเกษตรกร

สิ่งที่เป็นปัญหาท้าทายมากที่สุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็คือการตรวจสอบว่าเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรานั้น ปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานการเกษตรแบบยั่งยืนมากน้อยเพียงใด

ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เราได้เพิ่มขอบเขตความร่วมมือกับเกษตรกรในการนำหลักการการเกษตรแบบยั่งยืนมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน มีเกษตรกรมากกว่า 680,000 รายอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของเรา โดยส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายเล็กในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

โครงการ ‘'เกษตรกรสัมพันธ์’ ของเราได้ให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เราในการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกษตรกรผู้ผลิตรายอื่นๆ ของเรา

แนวทางเหล่านี้เป็นรากฐานของโครงการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบต่อสังคมที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเราจะทำการประเมินคู่ค้าหลักๆ ของเราโดยใช้หลักปฏิบัติของเกษตรกรผู้ผลิตของเราเป็นหลัก และช่วยให้ข้อแนะนำแก่เกษตรกรของเราในการปรับกิจกรรมต่างๆ ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น

การดำเนินการต่อเกษตรกรดังกล่าวของเรา เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ เราเชื่อว่าการที่บริษัทหนึ่งๆ จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน บริษัทนั้นๆ จะต้องสร้างคุณค่าให้แก่
ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมทั้งชุมชนที่บริษัทนั้นเข้าไปดำเนินธุรกิจด้วย

การมีส่วนร่วมอย่างแน่นแฟ้น

หนึ่งศตวรรษผ่านไป โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 40 ราย ตั้งแต่บริษัท
ข้ามชาติต่างๆ ไปจนถึงสหกรณ์และองค์กรของเกษตรกรต่างๆ

ด้วยโครงการดังกล่าว เราได้เรียนรู้วิธีการสร้างความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการและองค์กรระหว่างประเทศ

การสื่อสารระหว่างกันในปัญหาต่างๆ ได้ช่วยให้สมาชิกทั้งหมดของโครงการมีความเข้าใจในธุรกิจของเรา รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของเราได้ดีขึ้น

ปัญหาเรื้อรังในการขาดแคลนน้ำ

ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมายรออยู่ข้างหน้า จะต้องมีการเปลี่ยนหรืออาจจะต้องถึงกับยกเลิกการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

และปัญหาที่หนักหนามากที่สุดก็คือปัญหาการบริโภคน้ำทั่วโลก ปัญหาดังกล่่าวเป็นปัญหาที่เราจะต้องเผชิญในช่วงชีวิตของเรา และผมคิดว่าเรายังประเมินปัญหาดังกล่าวต่ำเกินไป

ในปัจจุบัน ภาคเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่ใช้น้ำถึง 70% ของปริมาณน้ำที่ใช้ทั่วโลก และนี่เป็นจุด
ที่เราเชื่อว่าเป็นความเสี่ยงหลักในการผลิตอาหาร โดยจะมีการขาดแคลนปริมาณน้ำซึ่งต้องใช้ในการ
เพาะปลูกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เราต้องการเป็นอย่างมาก

และนี่เป็นจุดที่เราเล็งเห็นว่ายังสามารถปรับเปลี่ยนได้อีกมาก น้ำที่เราใช้ไปในการเกษตรมีปริมาณเกือบ 2.5 เท่าของน้ำที่พืชจำเป็นต้องใช้จริงๆ ดังนั้น เรายังสามารถประหยัดน้ำลงได้อีกมาก และเป็นสิ่งที่เรา
จำเป็นต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากเราต้องการลดการใช้น้ำทั่วโลกลงให้เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เราจะต้องดำเนินโครงการนี้
ในระดับท้องถิ่น และขับเคลื่อนโดยองค์กรระดับภาครัฐ

เพิ่มผลผลิต ลดของเสีย

ของเสียจากการผลิตเป็นปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเรา การเกษตรแบบยั่งยืนหมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ได้โดยไม่มีการก่อให้เกิดของเสีย หรือก่อให้เกิดมลพิษ และสามารถกำจัดทิ้งได้

ในแต่ละปี ตลอดวงจรของอาหาร จะมีอาหารประมาณหนึ่งในสามที่มนุษย์บริโภคทั่วโลกแล้วสิ้นเปลืองหรือมีส่วนที่เหลือทิ้งเป็นของเสีย ปริมาณดังกล่าวคิดเป็นน้ำหนักมากกว่าหนึ่งพันล้านตัน

เราจำเป็นต้องแสวงหากรรมวิธีในการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่มีความยั่งยืนมากกว่านี้ ซึ่งจะต้องสามารถเพิ่มผลผลิตและลดการเกิดของเสียไปในขณะเดียวกัน และจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศตามธรรมชาติให้กลายเป็นพื้นที่ทางการเกษตรแห่งใหม่

ตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้ว่าจะยังอีกยาวนานกว่าที่เราจะสามารถแก้ปัญหาที่เรามีร่วมกันได้ทั้งหมดก็ตาม โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า หากอุตสาหกรรมอาหารมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในเรื่องการเกษตรแบบยั่งยืนแล้ว ความร่วมมือดังกล่าวก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เป็น
อย่างดี

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพียงลำพังได้ เราทุกฝ่ายต้องเข้ามามี
ส่วนร่วมในเรื่องนี้ โดยที่ภาครัฐอาจเข้ามากำหนดทิศทาง ภาคธุรกิจต่างๆ อาจลงทุนเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มารองรับโครงการนี้ และภาคประชาชนก็สามารถร่วมผลักดันชุมชนของตนเอง

ขณะที่เรามองไปอีกสิบปีข้างหน้า เราอาจคิดผิดเป็นอย่างมากหากเราจะพูดถึง ‘การเกษตรแบบยั่งยืน
ในอนาคต’ เนื่องจาก เราจะไม่มีแม้แต่อนาคตหากไม่มีการเกษตรแบบยั่งยืน

ปีเตอร์ บราเบค-เล็ทเมธ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัทเนสท์เล่ เขาได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน
ร่วมฉลองครบรอบสิบปีของโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเอวียอง ประเทศฝรั่งเศส